ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
๙. สุสิมสูตร
ว่าด้วยสุสิมเทพบุตร
[๑๑๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “อานนท์ เธอชอบสารีบุตรหรือไม่” ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล ไม่ใช่คนมุทะลุ ไม่ใช่คนงมงาย ไม่ใช่คนมีจิตวิปลาส จะไม่ชอบท่านพระสารีบุตร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตร เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก มีปัญญา หนาแน่น มีปัญญาร่าเริง มีปัญญาแล่นไป มีปัญญาเฉียบแหลม มีปัญญาชำแรก กิเลส มักน้อย สันโดษ เป็นผู้สงัด ไม่คลุกคลี ปรารภความเพียร เข้าใจพูด อดทนต่อถ้อยคำ เป็นผู้ทักท้วง ตำหนิคนทำชั่ว ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล ไม่ใช่คน มุทะลุ ไม่ใช่คนงมงาย ไม่ใช่คนมีจิตวิปลาส จะไม่ชอบท่านพระสารีบุตร” @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบคาถาข้อ ๒๙ หน้า ๓๒ ในเล่มนี้ @ ดูเทียบคาถาข้อ ๒๙ หน้า ๓๓ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๒๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]

๓. นานติตถิยวรรค ๙. สุสิมสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น อานนท์ ข้อนี้เป็น อย่างนั้น ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล ไม่ใช่คนมุทะลุ ไม่ใช่คนงมงาย ไม่ใช่คนมีจิตวิปลาส จะไม่ชอบสารีบุตร อานนท์ สารีบุตรเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก มีปัญญาหนาแน่น มีปัญญาร่าเริง มีปัญญาแล่นไป มีปัญญาเฉียบแหลม มีปัญญาชำแรกกิเลส มักน้อย สันโดษ เป็นผู้สงัด ไม่คลุกคลี ปรารภความเพียร เข้าใจพูด อดทนต่อถ้อยคำ เป็นผู้ทักท้วง ตำหนิคนทำชั่ว ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล ไม่ใช่คนมุทะลุ ไม่ใช่คนงมงาย ไม่ใช่คนมีจิตวิปลาส จะไม่ชอบสารีบุตร” ครั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคและท่านพระอานนท์ กำลังกล่าวสรรเสริญคุณ ของท่านพระสารีบุตรอยู่ สุสิมเทพบุตรผู้มีเทพบุตรบริษัทจำนวนมากแวดล้อมแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลดังนี้ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคตเจ้า ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล ไม่ใช่คนมุทะลุ ไม่ใช่คนงมงาย ไม่ใช่คน มีจิตวิปลาส จะไม่ชอบท่านพระสารีบุตร ท่านพระสารีบุตรเป็นบัณฑิต ฯลฯ ตำหนิ คนทำชั่ว ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล ไม่ใช่คนมุทะลุ ไม่ใช่คนงมงาย ไม่ใช่คนมีจิตวิปลาส จะไม่ชอบท่านพระสารีบุตร เพราะว่าข้าพระองค์เข้าไปหาเทพบุตรบริษัทใดๆ ก็ได้ยินเสียง(พูด)อย่างหนาหู ว่า “ท่านพระสารีบุตรเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก มีปัญญาหนาแน่น มีปัญญาร่าเริง มีปัญญาแล่นไป มีปัญญาเฉียบแหลม มีปัญญาชำแรกกิเลส มักน้อย สันโดษ เป็นผู้ สงัด ไม่คลุกคลี ปรารภความเพียร เข้าใจพูด อดทนต่อถ้อยคำ เป็นผู้ทักท้วง ตำหนิคนทำชั่ว ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล ไม่ใช่คนมุทะลุ ไม่ใช่คนงมงาย ไม่ใช่คนมี จิตวิปลาส จะไม่ชอบท่านพระสารีบุตร” ครั้งนั้น เทพบุตรบริษัทของสุสิมเทพบุตร เมื่อสุสิมเทพบุตรกำลังกล่าว สรรเสริญคุณของท่านพระสารีบุตรอยู่ ต่างปลื้มปีติเบิกบานใจ เกิดปีติโสมนัส มีรัศมีวรรณะเปล่งปลั่งปรากฏอยู่ ดุจแก้วมณีและแก้วไพฑูรย์อันงดงามตามธรรมชาติ ถูกนายช่างเจียระไนดีแล้ว แปดเหลี่ยม วางไว้บนผ้ากัมพลสีเหลือง ส่องแสง แพรวพราวสุกสกาวอยู่ ฉะนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๒๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]

๓. นานติตถิยวรรค ๙. สุสิมสูตร

เทพบุตรบริษัทของสุสิมเทพบุตร เมื่อสุสิมเทพบุตรกำลังกล่าวสรรเสริญคุณ ของท่านพระสารีบุตรอยู่ ต่างปลื้มปีติเบิกบานใจ เกิดปีติโสมนัส มีรัศมีวรรณะ เปล่งปลั่งปรากฏอยู่ ดุจทองแท่งชมพูนุท๑- เป็นของที่บุตรนายช่างทองผู้ขยันใส่เบ้า หลอมไล่มลทิน จนสิ้นราคีแล้ว วางไว้บนผ้ากัมพลสีเหลือง ส่องแสงแพรวพราว สุกสกาวอยู่ ฉะนั้น เทพบุตรบริษัทของสุสิมเทพบุตร ฯลฯ มีรัศมีวรรณะเปล่งปลั่งปรากฏอยู่ ดุจดาวศุกร์ เมื่ออากาศปลอดโปร่งปราศจากหมู่เมฆในฤดูสารทกาล ส่องแสง แพรวพราวสุกสกาวอยู่ในเวลาใกล้รุ่ง ฉะนั้น เทพบุตรบริษัทของสุสิมเทพบุตร เมื่อสุสิมเทพบุตรกำลังกล่าวสรรเสริญคุณ ของท่านพระสารีบุตรอยู่ ต่างปลื้มปีติเบิกบานใจ เกิดปีติโสมนัส มีรัศมีวรรณะ เปล่งปลั่งปรากฏอยู่ ดุจดวงอาทิตย์ เมื่ออากาศปลอดโปร่งปราศจากหมู่เมฆในฤดู สารทกาล พวยพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า ขจัดความมืดที่มีอยู่ในอากาศทั้งปวง ส่องแสง แพรวพราวสุกสกาวอยู่ ฉะนั้น ครั้งนั้น สุสิมเทพบุตรได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค ปรารภ ท่านพระสารีบุตรว่า ท่านพระสารีบุตร ใครๆ ก็รู้จักดีว่าเป็นบัณฑิต ไม่ใช่คนมักโกรธ มีความมักน้อย สงบเสงี่ยม ฝึกแล้ว มีคุณงามความดี อันพระศาสดาทรงสรรเสริญ เป็นผู้แสวงหาคุณอันยิ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสคาถาตอบสุสิมเทพบุตร ปรารภท่านพระสารีบุตรว่า สารีบุตร ใครๆ ก็รู้จักดีว่าเป็นบัณฑิต ไม่ใช่คนมักโกรธ มีความมักน้อย สงบเสงี่ยม ฝึกฝนอบรมดีแล้ว รอเวลาอยู่๒-
สุสิมสูตรที่ ๙ จบ
@เชิงอรรถ : @ ทองแท่งชมพูนุท หมายถึงทองคำเนื้อบริสุทธิ์ (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๔/๑๙๑) ที่เรียกว่า ชมพูนุท เพราะเป็น @ทองที่เกิดขึ้นในแควของแม่น้ำมหาชมพู (องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๖๔/๑๙๙) @ รอเวลาอยู่ ในที่นี้หมายถึงรอเวลาที่จะปรินิพพาน (สํ.ส.อ. ๑/๑๑๐/๑๑๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๒๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๑๒๑-๑๒๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=15&siri=110              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=2026&Z=2090                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=303              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=303&items=10              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=2947              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=303&items=10              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=2947                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i278-e.php#sutta9 https://suttacentral.net/sn2.29/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :