ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต]

๒. ทุติยวรรค ๑๐. รัชชสูตร

๑๐. รัชชสูตร
ว่าด้วยมารอัญเชิญพระผู้มีพระภาคให้เสวยราชสมบัติ
[๑๕๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กระท่อมกลางป่า ในหิมวันตประเทศ แคว้นโกศล ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความรำพึงอย่างนี้ว่า “เราจะสามารถเสวยราชสมบัติโดยธรรม โดยที่ไม่ เบียดเบียนเอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ไม่ทำให้เขาเสื่อมเอง ไม่ใช้ผู้อื่นทำเขา ให้เสื่อม ไม่ทำเขาให้เศร้าโศกเอง ไม่ใช้ผู้อื่นทำเขาให้เศร้าโศก หรือไม่หนอ” ครั้งนั้น มารผู้มีบาปทราบความรำพึงของพระผู้มีพระภาคด้วยใจแล้ว เข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ขอพระผู้มี พระภาคจงเสวยราชสมบัติเถิด พระพุทธเจ้าข้า ขอพระสุคตจงเสวยราชสมบัติ โดยธรรม โดยที่ไม่เบียดเบียนเอง ไม่ใช้ผู้อื่นให้เบียดเบียน ไม่ทำเขาให้เสื่อมเอง ไม่ใช้ผู้อื่นทำเขาให้เสื่อม ไม่ทำเขาให้เศร้าโศกเอง ไม่ใช้ผู้อื่นทำเขาให้เศร้าโศก” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มารผู้มีบาป ท่านเห็นอะไรของเรา ทำไมจึงพูดกับเรา อย่างนี้ว่า ‘ขอพระผู้มีพระภาคจงเสวยราชสมบัติเถิด พระพุทธเจ้าข้า ขอพระสุคต จงเสวยราชสมบัติโดยธรรม โดยไม่เบียดเบียนเอง ไม่ใช้ผู้อื่นให้เบียดเบียน ไม่ทำ เขาให้เสื่อมเอง ไม่ใช้ผู้อื่นทำเขาให้เสื่อม ไม่ทำเขาให้เศร้าโศกเอง ไม่ใช้ผู้อื่น ทำเขาให้เศร้าโศก” มารกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อิทธิบาท ๔ ประการ พระองค์ ทรงเจริญ ทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว ปรารภเสมอดีแล้ว ก็เมื่อพระองค์ทรงพระประสงค์พึงอธิษฐานภูเขาหลวงชื่อว่าหิมพานต์ ให้เป็นทองคำล้วน ภูเขานั้นก็เป็นทองคำล้วนได้จริง” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๙๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต]

๒. ทุติยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

พระผู้มีพระภาคตรัสกับมารด้วยพระคาถาว่า ภูเขาทองคำล้วนทั้งลูก ถึงสองเท่า ก็ยังไม่จุใจสำหรับบุคคลคนหนึ่ง บุคคลทราบดังนี้แล้ว พึงประพฤติสงบ ผู้ใดเห็นทุกข์มีกามเป็นต้นเหตุแล้ว ผู้นั้นจะพึงน้อมไปในกามได้อย่างไร บุคคลทราบอุปธิ๑- ว่าเป็นเครื่องข้องในโลกแล้ว พึงศึกษาเพื่อกำจัดอุปธินั้น ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคต ทรงรู้จักเรา” จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
รัชชสูตรที่ ๑๐ จบ
วรรคที่ ๒ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปาสาณสูตร ๒. สีหสูตร ๓. สกลิกสูตร ๔. ปฏิรูปสูตร ๕. มานสสูตร ๖. ปัตตสูตร ๗. อายตนสูตร ๘. ปิณฑสูตร ๙. กัสสกสูตร ๑๐. รัชชสูตร @เชิงอรรถ : @ อุปธิ ในที่นี้หมายถึงกามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ (สํ.ส.อ. ๑/๑๕๖/๑๗๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๐๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๑๙๙-๒๐๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=15&siri=156              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=3762&Z=3798                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=475              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=475&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=4493              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=475&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=4493                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i446-e.php#sutta10 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn04/sn04.020.than.html https://suttacentral.net/sn4.20/en/sujato https://suttacentral.net/sn4.20/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :