ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
๕. มารธีตุสูตร
ว่าด้วยธิดามาร
[๑๖๑] ครั้งนั้น มารผู้มีบาปครั้นกล่าวคาถาอันเป็นที่ตั้งแห่งความเบื่อหน่าย เหล่านี้ ในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงหลีกจากที่นั้นไปนั่งขัดสมาธิที่พื้นดิน ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค เป็นผู้นิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ ใช้ไม้เขี่ยพื้นดินอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๑๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต]

๓. ตติยวรรค ๕. มารธีตุสูตร

ครั้งนั้น ธิดามาร คือ นางตัณหา นางอรดี และนางราคา เข้าไปหามาร ผู้มีบาปถึงที่อยู่แล้ว กล่าวกับมารผู้มีบาปด้วยคาถาว่า ท่านพ่อ ท่านเสียใจด้วยเหตุไร หรือเศร้าโศกถึงบุรุษคนไหน พวกดิฉันจักใช้บ่วงคือราคะนำมาถวาย เหมือนบุคคลคล้องช้างป่านำมา ฉะนั้น บุรุษนั้นจักตกอยู่ในอำนาจของท่านพ่อ มารกล่าวว่า บุรุษนั้นเป็นพระอรหันต์ เป็นพระสุคตในโลก ก้าวล่วงบ่วงแห่งมารได้แล้ว ใครๆ พึงนำมาด้วยราคะไม่ได้ง่ายๆ เพราะฉะนั้น เราจึงเศร้าโศกมาก ครั้งนั้น ธิดามาร คือ นางตัณหา นางอรดี และนางราคา เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับแล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระสมณะ พวก หม่อมฉันจะขอปรนนิบัติพระยุคลบาทของพระองค์” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคไม่ทรงใส่พระทัยถึงคำของธิดามารนั้น เนื่องจาก พระองค์ทรงหลุดพ้น เพราะธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิอันยอดเยี่ยมแล้ว ต่อมา ธิดามาร คือ นางตัณหา นางอรดี และนางราคา พากันจากไป ณ ที่สมควรแล้วปรึกษากันอย่างนี้ว่า “พวกบุรุษมีความประสงค์ต่างๆ กัน ทางที่ดี พวกเราควรเนรมิตเพศเป็นสาววัยรุ่น คนละหนึ่งร้อย” ลำดับนั้น ธิดามาร คือ นางตัณหา นางอรดี และนางราคา จึงเนรมิตเพศเป็น สาววัยรุ่นคนละหนึ่งร้อย เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วกราบทูลดังนี้ว่า “ข้าแต่พระสมณะ พวกหม่อมฉันจะขอปรนนิบัติพระยุคลบาทของพระองค์” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๑๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต]

๓. ตติยวรรค ๕. มารธีตุสูตร

พระผู้มีพระภาคไม่ทรงใส่พระทัยถึงคำของธิดามารนั้น เนื่องจากพระองค์ทรง หลุดพ้น เพราะธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิอันยอดเยี่ยมแล้ว ต่อมา ธิดามาร คือ นางตัณหา นางอรดี และนางราคา พากันจากไป ณ ที่สมควรแล้วปรึกษากันอย่างนี้ว่า “พวกบุรุษมีความประสงค์ต่างๆ กัน ทางที่ดี พวกเราควรเนรมิตเพศเป็นผู้หญิงที่ยังไม่เคยคลอดบุตรคนละหนึ่งร้อย” ลำดับนั้น ธิดามาร คือ นางตัณหา นางอรดี และนางราคา เนรมิตเพศ เป็นหญิงที่ยังไม่เคยคลอดบุตรคนละหนึ่งร้อย เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า “ข้าแต่พระสมณะ พวกหม่อมฉันจะขอปรนนิบัติพระยุคลบาท ของพระองค์” แม้ถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคก็มิได้ทรงใส่พระทัยถึงเลย เนื่องจากพระองค์ ทรงหลุดพ้น เพราะธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิอันยอดเยี่ยมแล้ว ฝ่ายนางตัณหา นางอรดี และนางราคา พากันจากไป ณ ที่สมควรแล้ว ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “พวกบุรุษมีความประสงค์ต่างๆ กัน ทางที่ดีพวกเราควร เนรมิตเพศเป็นหญิงคลอดบุตรแล้วคราวเดียวคนละหนึ่งร้อย” ลำดับนั้น นางตัณหา ฯลฯ จึงเนรมิตเพศเป็นหญิงคลอดบุตรแล้วคราวเดียว คนละหนึ่งร้อย เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ เนื่องจากพระองค์ทรง หลุดพ้น เพราะธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิอันยอดเยี่ยมแล้ว ต่อมา นางตัณหา ฯลฯ จึงเนรมิตเพศเป็นหญิงที่คลอดบุตรแล้ว ๒ คราว คนละหนึ่งร้อย เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ เนื่องจากพระองค์ทรง หลุดพ้น เพราะธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิอันยอดเยี่ยมแล้ว ลำดับนั้น นางตัณหา ฯลฯ จึงเนรมิตเพศเป็นหญิงกลางคนคนละหนึ่งร้อย เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ เนื่องจากพระองค์ทรงหลุดพ้น เพราะ ธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิอันยอดเยี่ยมแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๑๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต]

๓. ตติยวรรค ๕. มารธีตุสูตร

ลำดับนั้น นางตัณหา ฯลฯ จึงเนรมิตเพศเป็นหญิงแก่คนละหนึ่งร้อย เข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ เนื่องจากพระองค์ทรงหลุดพ้น เพราะธรรม เป็นที่สิ้นอุปธิอันยอดเยี่ยมแล้ว ลำดับนั้น ธิดามาร คือ นางตัณหา นางอรดี และนางราคา พากันจากไป ณ ที่สมควรแล้วพูดกันว่า “เรื่องนี้จริงดังบิดาของเราได้พูดไว้ว่า บุรุษนั้นเป็นพระอรหันต์ เป็นพระสุคตในโลก ก้าวล่วงบ่วงแห่งมารได้แล้ว ใครๆ พึงนำมาด้วยราคะไม่ได้ง่ายๆ เพราะฉะนั้น เราจึงเศร้าโศกมาก อนึ่ง ถ้าพวกเราพึงเล้าโลมสมณะหรือพราหมณ์ใดที่ยังไม่หมดราคะ ด้วยความ พยายามอย่างนี้ หทัยของสมณะหรือพราหมณ์นั้นพึงแตก โลหิตอุ่นๆ พึงพุ่งออก จากปาก หรือเขาพึงบ้า หรือว่ามีจิตฟุ้งซ่าน เหมือนอย่างต้นอ้อสดถูกลมพัดขาด เหี่ยวเฉาแห้งไป แม้ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์นั้นพึงหงอยเหงา ซูบซีดเหี่ยวแห้งไป ฉันนั้นเหมือนกัน” ครั้นแล้ว ธิดามาร คือ นางตัณหา นางอรดี และนางราคา พากันเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร นางตัณหาธิดามารยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า ท่านถูกความเศร้าโศกทับถมหรือ จึงมาซบเซาอยู่ในป่าอย่างนี้ ท่านเสื่อมจากทรัพย์สมบัติหรือ หรือว่ากำลังปรารถนาอะไรอยู่ ท่านได้ทำความเสียหายร้ายแรงอะไรไว้ในหมู่บ้านหรือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๑๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต]

๓. ตติยวรรค ๕. มารธีตุสูตร

เพราะเหตุไรท่านจึงไม่เป็นมิตรกับชนทั้งปวงเล่า หรือว่าท่านเป็นมิตรกับใครๆ ไม่ได้๑- พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เราชนะเสนามารคือรูปที่น่ารัก และรูปที่น่าพอใจแล้ว เพ่งพินิจอยู่ผู้เดียว ได้รู้ความสุข เพราะเหตุนั้นเราจึงไม่เป็นมิตรกับชนทั้งปวง เพราะความเป็นมิตรกับใครๆ ไม่สำเร็จประโยชน์แก่เรา ลำดับนั้น นางอรดีธิดามาร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า ภิกษุในศาสนานี้มากไปด้วยวิหารธรรมอย่างไหน จึงข้ามโอฆะทั้ง ๕ ๒- ได้ บัดนี้ ท่านข้ามโอฆะที่ ๖ ๓- ได้แล้วหรือ บุคคลเพ่งฌานอย่างไหนมาก กามสัญญาทั้งหลายจับยึดเขาไม่ได้ จึงห่างเหินไป พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า บุคคลมีกายอันสงบ มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว เป็นผู้ไม่มีอะไรๆ เป็นเครื่องปรุงแต่ง มีสติ ไม่มีความอาลัย รู้ทั่วธรรม มีปกติเพ่งพินิจอยู่ด้วยฌานที่ ๔ อันหาวิตกมิได้ ย่อมไม่กำเริบ ไม่ซ่านไป ไม่เป็นผู้ย่อท้อ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบคาถาข้อ ๑๖๐ หน้า ๒๐๘ ในเล่มนี้ @ โอฆะทั้ง ๕ ในที่นี้หมายถึงโอฆะคือกิเลสอันเป็นไปทางทวารทั้ง ๕ (คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย) @(สํ.ส.อ. ๑/๑๖๑/๑๗๙) @ โอฆะที่ ๖ หมายถึงโอฆะคือกิเลสอันเป็นไปทางมโนทวาร ได้แก่ กิเลสที่เกิดขึ้นในใจ (สํ.ส.อ. ๑/๑๖๑/๑๗๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๑๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต]

๓. ตติยวรรค ๕. มารธีตุสูตร

ภิกษุในศาสนานี้มากไปด้วยวิหารธรรมอย่างนี้ จึงข้ามโอฆะทั้ง ๕ ได้ บัดนี้ เธอข้ามโอฆะที่ ๖ ได้แล้ว ภิกษุผู้เพ่งฌานอย่างนี้มาก กามสัญญาทั้งหลายจับยึดเธอไม่ได้ จึงห่างเหินไป ลำดับนั้น นางราคาธิดามาร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า พระศาสดาผู้นำหมู่สงฆ์ ได้ตัดตัณหาขาดแล้ว และชนผู้มีศรัทธาเป็นอันมาก จักประพฤติตามได้แน่ พระศาสดาพระองค์นี้เป็นผู้ไม่มีความอาลัย ตัดขาดจากมือมัจจุราชได้แล้ว จักนำหมู่ชนเป็นอันมากไปสู่ฝั่งได้แน่ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พระตถาคตทั้งหลายผู้เป็นมหาวีระ ย่อมนำสัตว์ไปด้วยพระสัทธรรม เมื่อพระตถาคตนำไปอยู่โดยธรรม ความริษยาจะมีแก่ท่านผู้รู้ได้อย่างไร ลำดับนั้น ธิดามาร คือ นางตัณหา นางอรดี และนางราคา พากันเข้าไปหา มารผู้มีบาปถึงที่อยู่ มารผู้มีบาปเห็นธิดามาร คือ นางตัณหา นางอรดี และนางราคา มาแต่ไกล จึงได้กล่าวคาถาทั้งหลายว่า พวกเธอช่างโง่เขลา พากันทำลายภูเขาด้วยก้านบัว ขุดภูเขาด้วยเล็บ เคี้ยวเหล็กด้วยฟัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๑๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๔. มารสังยุต]

๓. ตติยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

พวกเธออาศัยพระโคดมหาที่พึ่ง จะเป็นดุจคนวางหินไว้บนศีรษะแล้วเจาะหาที่พึ่งในบาดาล ฉะนั้น พวกเธอเหมือนเอาหนามมายอกอก(พ่อ) จงหลีกไปเสียเถิด (พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวว่า) พระศาสดาได้ขับไล่นางตัณหา นางอรดี และนางราคา ผู้มีรูปน่าทัศนายิ่ง ซึ่งได้มาในที่นั้นให้หนีไป ดุจลมพัดปุยนุ่น ฉะนั้น
มารธีตุสูตรที่ ๕ จบ
วรรคที่ ๓ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สัมพหุลสูตร ๒. สมิทธิสูตร ๓. โคธิกสูตร ๔. สัตตวัสสานุพันธสูตร ๕. มารธีตุสูตร พระสูตรว่าด้วยมาร ๕ สูตรนี้ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทรงแสดงไว้แล้ว
มารสังยุต จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๑๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๒๑๐-๒๑๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=15&siri=161              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=4010&Z=4136                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=505              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=505&items=17              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=4637              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=505&items=17              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=4637                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i478-e.php#sutta5 https://suttacentral.net/sn4.25/en/sujato https://suttacentral.net/sn4.25/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :