ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
๓. กีสาโคตมีสูตร
ว่าด้วยกีสาโคตมีภิกษุณี
[๑๖๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ครั้นเวลาเช้า กีสาโคตมีภิกษุณีครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เข้าไป บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต ภายหลังจากฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ถึงป่าอันธวันแล้วจึงนั่งพักกลางวันที่โคนต้นไม้ แห่งหนึ่ง ลำดับนั้น มารผู้มีบาปประสงค์จะให้กีสาโคตมีภิกษุณีเกิดความกลัว ความ หวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้า และประสงค์จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงเข้าไป หากีสาโคตมีภิกษุณีถึงที่นั่งพักแล้ว ได้กล่าวกับกีสาโคตมีภิกษุณีด้วยคาถาว่า @เชิงอรรถ : @ ดู ขุ.เถรี. (แปล) ๒๖/๖๑/๕๖๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๑๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๕. ภิกขุนีสังยุต]

๔. วิชยาสูตร

บุตรท่านตายแล้ว มาอยู่กลางป่าคนเดียว เหมือนคนที่ร้องไห้อยู่โดดเดี่ยว กำลังแสวงหาบุรุษหรืออย่างไร ลำดับนั้น กีสาโคตมีภิกษุณีได้มีความคิดดังนี้ว่า “นี่ใครหนอมากล่าวคาถา จะเป็นมนุษย์หรืออมนุษย์กันแน่” ทันใดนั้น กีสาโคตมีภิกษุณีได้มีความคิดดังนี้อีกว่า “นี่คือมารผู้มีบาป ประสงค์จะให้เราเกิดความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพอง สยองเกล้า และประสงค์จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงกล่าวคาถา” ครั้งนั้นแล กีสาโคตมีภิกษุณีทราบว่า “นี่คือมารผู้มีบาป” จึงได้กล่าวกับมาร ผู้มีบาปด้วยคาถาว่า บุตรเราตายมานานแล้ว บุรุษทั้งหลายก็มีความตายนี้เป็นที่สุดเหมือนกัน เราไม่เศร้าโศก ไม่ร้องไห้ ไม่กลัวความตายนั้นหรอก ท่านผู้มีอายุ เรากำจัดความเพลิดเพลินในสิ่งทั้งปวง ทำลายความมืด ชนะกองทัพมัจจุแล้ว อยู่อย่างไม่มีอาสวะ ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “กีสาโคตมีภิกษุณีรู้จักเรา” จึงหายตัว ไป ณ ที่นั้นเอง
กีสาโคตมีสูตรที่ ๓ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๒๑๙-๒๒๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=15&siri=164              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=4189&Z=4216                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=528              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=528&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=4710              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=528&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=4710                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i522-e.php#sutta3 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn05/sn05.003.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn05/sn05.003.bodh.html https://suttacentral.net/sn5.3/en/sujato https://suttacentral.net/sn5.3/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :