ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๕. ภิกขุนีสังยุต]

๕. อุปปลวัณณาสูตร

๕. อุปปลวัณณาสูตร
ว่าด้วยอุบลวรรณาภิกษุณี
[๑๖๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ครั้นเวลาเช้า อุบลวรรณาภิกษุณีครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร ฯลฯ ได้ยืนอยู่ที่โคนต้นสาละซึ่งมีดอกบานสะพรั่งต้นหนึ่ง ลำดับนั้น มารผู้มีบาปประสงค์ จะให้อุบลวรรณาภิกษุณีเกิดความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้า และประสงค์จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงเข้าไปหาอุบลวรรณาภิกษุณีถึงที่ยืนอยู่ ได้กล่าวกับอุบลวรรณาภิกษุณีด้วยคาถาว่า ภิกษุณี ท่านเข้าไปใกล้ต้นสาละ ซึ่งมีดอกบานสะพรั่งถึงยอดแล้ว ยืนอยู่แต่ผู้เดียวที่โคนต้นสาละนั้น อนึ่ง ผิวพรรณของท่านไม่เป็นสองรองใคร ท่านไม่กลัวความสามหาวของพวกนักเลงเจ้าชู้หรือ๑- ลำดับนั้น อุบลวรรณาภิกษุณีได้มีความคิดดังนี้ว่า “นี่ใครหนอมากล่าวคาถา จะเป็นมนุษย์หรืออมนุษย์กันแน่” ทันใดนั้น อุบลวรรณาภิกษุณีได้มีความคิดดังนี้ อีกว่า “นี่คือมารผู้มีบาป ประสงค์จะให้เราเกิดความกลัว ฯลฯ จึงกล่าวคาถา” ครั้งนั้นแล อุบลวรรณาภิกษุณีทราบว่า “นี่คือมารผู้มีบาป” จึงได้กล่าวกับมาร ผู้มีบาปด้วยคาถาว่า แม้นักเลงตั้งแสนมาในที่นี้ เราก็ไม่สะดุ้ง แม้เพียงขนของเราก็ไม่หวั่นไหว ไม่สั่นสะเทือน มาร เราแม้ผู้เดียวก็ไม่กลัวท่าน เรานี้จะหายตัวไปหรือเข้าท้องท่าน แม้จะยืนอยู่ ณ ระหว่างดวงตา ท่านก็ไม่เห็นเรา @เชิงอรรถ : @ ดู ขุ.เถรี. (แปล) ๒๖/๒๓๐/๕๙๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๒๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๕. ภิกขุนีสังยุต]

๖. จาลาสูตร

เราเป็นผู้ชำนาญในจิต เจริญอิทธิบาทดีแล้ว พ้นจากเครื่องผูกทุกชนิด เราไม่กลัวท่านหรอก ท่านผู้มีอายุ ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “อุบลวรรณาภิกษุณีรู้จักเรา” จึงหาย ตัวไป ณ ที่นั้นเอง
อุปปลวัณณาสูตรที่ ๕ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๒๒๒-๒๒๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=15&siri=166              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=4241&Z=4267                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=534              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=534&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=4755              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=534&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=4755                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i522-e.php#sutta5 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn05/sn05.005.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn05/sn05.005.bodh.html https://suttacentral.net/sn5.5/en/sujato https://suttacentral.net/sn5.5/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :