ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
๓. อสุรินทกสูตร
ว่าด้วยอสุรินทกพราหมณ์
[๑๘๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้ เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ อสุรินทกภารทวาชพราหมณ์ได้สดับมาว่า “ได้ยินว่า พราหมณ์ภารทวาชโคตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในสำนักของพระสมณโคดมแล้ว” จึงโกรธ ไม่พอใจ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว ด่า บริภาษพระผู้มี พระภาคด้วยวาจาหยาบคาย อันมิใช่วาจาของสัตบุรุษ เมื่ออสุรินทกภารทวาชพราหมณ์ กล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรงนิ่งเสีย ลำดับนั้น อสุรินทกภารทวาช- พราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระสมณะ เราชนะท่านแล้ว พระสมณะ เราชนะท่านแล้ว” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ชนพาลกล่าววาจาหยาบคาย ย่อมเข้าใจว่าตนเองชนะ แต่ความอดกลั้นได้เป็นความชนะของบัณฑิตผู้รู้แจ้ง ผู้ใดโกรธตอบต่อบุคคลผู้โกรธ ผู้นั้นย่อมเลวกว่าผู้โกรธ เพราะการโกรธตอบนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๖๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]

๑. อรหันตวรรค ๔. พิลังคิกสูตร

บุคคลผู้ไม่โกรธตอบต่อบุคคลผู้โกรธ ชื่อว่าชนะสงครามที่ชนะได้ยาก ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธ เป็นผู้มีสติ สงบใจไว้ได้ ผู้นั้นชื่อว่าประพฤติประโยชน์ของคนทั้ง ๒ ฝ่าย คือฝ่ายตนและฝ่ายผู้อื่น เมื่อผู้นั้นรักษาประโยชน์ของคนทั้ง ๒ ฝ่าย คือฝ่ายตนและฝ่ายผู้อื่น ชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดในธรรมย่อมเข้าใจว่าเป็นคนโง่ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อสุรินทกภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจน ไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ” อนึ่ง ท่านพระอสุรินทกภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระ- อรหันต์ทั้งหลาย
อสุรินทกสูตรที่ ๓ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๒๖๘-๒๖๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=15&siri=189              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=5247&Z=5284                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=635              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=635&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=5658              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=635&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=5658                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i626-e.php#sutta3 https://suttacentral.net/sn7.3/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :