ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]

๒. อุปาสกวรรค ๘. กัฏฐหารสูตร

๘. กัฏฐหารสูตร
ว่าด้วยคนหาฟืน
[๒๐๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้น โกศล สมัยนั้น มาณพหลายคนซึ่งเป็นศิษย์ของพราหมณ์ภารทวาชโคตรคนหนึ่ง เป็นคนหาฟืน พากันเข้าไปยังราวป่านั้นแล้วได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า อยู่ในราวป่านั้น จึงเข้าไปหาพราหมณ์- ภารทวาชโคตรถึงที่อยู่ ได้กล่าวกับพราหมณ์ภารทวาชโคตรดังนี้ว่า “ขอท่าน พึงทราบ พระสมณโคดมประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า อยู่ในราวป่า” ลำดับนั้น พราหมณ์ภารทวาชโคตรพร้อมด้วยมาณพเหล่านั้นเข้าไปยังราวป่า นั้นแล้ว ได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรงสติไว้ เฉพาะหน้าเช่นนั้นจริง จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วได้กราบทูลด้วย คาถาว่า ภิกษุ ท่านเข้าไปสู่ป่าที่ว่างเปล่าปราศจากคน ในป่าหนาทึบน่าหวาดเสียวนัก มีกายไม่ไหวหวั่น มีประโยชน์อันงาม เพ่งพินิจอย่างดีหนอ ท่านเป็นมุนีอาศัยป่า อยู่ในป่าแต่ผู้เดียว ซึ่งไม่มีเสียงขับร้อง และเสียงบรรเลง การที่ท่านมีใจยินดี อยู่ในป่าแต่ผู้เดียวนี้ ปรากฏเป็นข้อน่าอัศจรรย์แก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าปรารถนาไตรทิพย์อันยอดเยี่ยม๑- จึงอยากเป็นสหายกับท้าวมหาพรหมผู้เป็นอธิบดีของโลก เหตุไรท่านจึงชอบใจป่าที่ปราศจากคน ท่านทำความเพียรอยู่ที่นี้เพื่อจะบังเกิดเป็นพรหมหรือ @เชิงอรรถ : @ ไตรทิพย์อันยอดเยี่ยม หมายถึงพรหมโลก (สํ.ส.อ. ๑/๒๐๔/๒๕๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๙๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]

๒. อุปาสกวรรค ๘. กัฏฐหารสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ความมุ่งหวัง๑- หรือความเพลิดเพลินอย่างใดอย่างหนึ่ง ในอารมณ์หลายชนิดซึ่งมีอยู่ประจำทุกเมื่อนานาประการ หรือตัณหาอันเป็นเหตุให้กระชับแน่นทั้งปวงนั้น ซึ่งมีความไม่รู้เป็นมูลรากก่อให้เกิดต่อๆ ไป เราทำให้สิ้นสุดพร้อมทั้งรากแล้ว เรานั้นจึงไม่มีความมุ่งหวัง ไม่มีตัณหาอาศัย ไม่มีตัณหาเข้ามาใกล้ มีปกติเห็นหมดจดในธรรมทั้งปวง บรรลุสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม๒- ประเสริฐสุดแล้ว เราจึงควรแก่ความเป็นพรหม แกล้วกล้า เพ่งพินิจอยู่๓- เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ภารทวาชโคตรได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจน ไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่ วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
กัฏฐหารสูตรที่ ๘ จบ
@เชิงอรรถ : @ ความมุ่งหวัง ในที่นี้หมายถึงตัณหา (สํ.ส.อ. ๑/๒๐๔/๒๕๒) @ สัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม ในที่นี้หมายถึงพระอรหัต (สํ.ส.อ. ๑/๒๐๔/๒๕๓) @ เพ่งพินิจอยู่ ในที่นี้หมายถึงเพ่งพินิจอยู่ด้วยฌาน ๒ อย่าง คือ (๑) รูปฌาน (๒) อรูปฌาน @(สํ.ส.อ. ๑/๒๐๔/๒๕๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๙๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๒๙๕-๒๙๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=15&siri=204              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=5833&Z=5870                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=709              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=709&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=6542              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=709&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=6542                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i671-e.php#sutta8 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn07/sn07.018.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn07/sn07.018.olen.html https://suttacentral.net/sn7.18/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :