ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต]

๗. ปวารณาสูตร

๗. ปวารณาสูตร
ว่าด้วยการปวารณา
[๒๑๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงประทับอยู่ ณ บุพพาราม ปราสาท ของนางวิสาขามิคารมาตา เขตกรุงสาวัตถี พร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป ล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมีภิกษุสงฆ์ แวดล้อม ประทับนั่งในที่กลางแจ้ง เพื่อทรงปวารณาในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงตรวจดูภิกษุสงฆ์ผู้นั่งสงบเงียบ จึงรับสั่งเรียก ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอปวารณาต่อเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะไม่ติเตียนกรรมอะไรๆ อันเป็นไปทางกายหรือทางวาจาของเราบ้างหรือ” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรลุกขึ้นจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่า ประนมมือไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายติเตียนกรรมอะไรๆ อันเป็นไปทางพระกายหรือทางพระวาจาของพระผู้มีพระภาคไม่ได้เลย เพราะว่า พระผู้มีพระภาคทรงทำทางที่ยังไม่อุบัติให้อุบัติ ทรงทำทางที่ยังไม่เกิดให้เกิด ทรงบอก ทางที่ยังไม่มีผู้บอก เป็นผู้ทรงรู้ทาง ทรงรู้แจ้งทาง ทรงฉลาดในทาง ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ สาวกทั้งหลายในบัดนี้เป็นผู้เดินตามทาง บัดนี้ ข้าพระองค์ขอปวารณาต่อ พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคจะไม่ทรงติเตียนกรรมอะไรๆ อันเป็นไปทางกาย หรือทางวาจาของข้าพระองค์บ้างหรือ” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร เราติเตียนกรรมอะไรๆ อันเป็นไปทางกาย หรือทางวาจาของเธอไม่ได้เลย เธอเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก มีปัญญากว้างขวาง มีปัญญาร่าเริง มีปัญญาแล่นไป มีปัญญาเฉียบแหลม มีปัญญาชำแรกกิเลส๑- สารีบุตร @เชิงอรรถ : @ คำว่า มีปัญญามาก มีปัญญากว้างขวาง มีปัญญาร่าเริง มีปัญญาแล่นไป มีปัญญาเฉียบแหลม มีปัญญา @ชำแรกกิเลส (ดูเทียบ ขุ.ป. ๓๑/๔-๗/๔๐๔-๔๑๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๑๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต]

๗. ปวารณาสูตร

โอรสองค์ใหญ่ของพระเจ้าจักรพรรดิยังจักรอันพระราชบิดาทรงให้เป็นไปแล้วให้เป็น ไปตามได้โดยชอบ ฉันใด เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน ยังธรรมจักรอันยอดเยี่ยม อันเรา ให้เป็นไปแล้วให้เป็นไปตามได้โดยชอบแท้จริง” ท่านพระสารีบุตรจึงกราบทูลอีกว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากว่าพระผู้มี พระภาคไม่ทรงติเตียนกรรมอะไรๆ อันเป็นไปทางกายหรือทางวาจาของข้าพระองค์ พระผู้มีพระภาคจะไม่ทรงติเตียนกรรมอะไรๆ อันเป็นไปทางกายหรือทางวาจาของ ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้บ้างหรือ” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร เราไม่ติเตียนกรรมอะไรๆ อันเป็นไปทาง กายหรือทางวาจาของภิกษุ ๕๐๐ รูปแม้เหล่านี้ เพราะบรรดาภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้ ภิกษุ ๖๐ รูปเป็นผู้ได้วิชชา ๓ อีก ๖๐ รูปได้อภิญญา ๖ อีก ๖๐ รูปได้อุภโตภาค- วิมุตติ๑- ส่วนที่เหลือเป็นผู้ได้ปัญญาวิมุตติ” ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่า ประนมมือไปทาง ที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระผู้มี พระภาค เนื้อความนี้ย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เนื้อความนี้ย่อม ปรากฏแก่ข้าพระองค์” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เนื้อความนั้นจงปรากฏแก่เธอเถิด วังคีสะ” ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้ทูลสรรเสริญพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาทั้งหลาย อันสมควร ณ ที่เฉพาะพระพักตร์ว่า ในวัน ๑๕ ค่ำซึ่งเป็นวันวิสุทธิปวารณา วันนี้ มีภิกษุ ๕๐๐ รูปมาประชุมกัน ล้วนเป็นผู้ตัดกิเลสเครื่องผูกคือสังโยชน์ได้ขาด @เชิงอรรถ : @ อุภโตภาควิมุตติ หมายถึงพ้นจากส่วนทั้ง ๒ คือ (๑) พ้นจากรูปกายด้วยอรูปาวจรสมาบัติ (๒) พ้นจาก @นามกายด้วยมรรคอันเลิศ (สํ.ส.อ. ๑/๒๑๕/๒๖๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๑๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๘. วังคีสสังยุต]

๘. ปโรสหัสสสูตร

ไม่มีทุกข์ สิ้นภพสิ้นชาติแล้ว เป็นผู้แสวงหาคุณธรรมอันประเสริฐ พระเจ้าจักรพรรดิมีหมู่อำมาตย์แวดล้อม เสด็จประพาสแผ่นดินอันไพศาล มีมหาสมุทรสาครเป็นขอบเขตนี้ ฉันใด สาวกทั้งหลายมีวิชชา ๓ ละมัจจุได้แล้ว พากันแวดล้อมพระผู้มีพระภาคผู้ทรงชนะสงคราม ทรงนำหมู่ เป็นผู้ยอดเยี่ยม ก็ฉันนั้น สาวกทั้งปวงล้วนเป็นบุตรของพระผู้มีพระภาค ในสาวกนี้ไม่มีความว่างเปล่า(จากคุณธรรม)เลย ข้าพระองค์พึงถวายอภิวาทพระองค์ ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งดวงอาทิตย์ ซึ่งทรงทำลายลูกศรคือตัณหาได้แล้ว๑-
ปวารณาสูตรที่ ๗ จบ
๘. ปโรสหัสสสูตร
ว่าด้วยภิกษุกว่า ๑,๐๐๐ รูป
[๒๑๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี พร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ๑,๒๕๐ รูป สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไป ปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา อันประกอบด้วยนิพพาน ส่วนภิกษุเหล่านั้นต่างก็ใส่ใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึก มาด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตสดับธรรมอยู่ @เชิงอรรถ : @ ดู ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๑๒๔๓-๑๒๔๕/๕๔๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๑๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๓๑๒-๓๑๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=15&siri=215              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=6170&Z=6223                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=744              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=744&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=6788              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=744&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=6788                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i727-e.php#sutta7 https://suttacentral.net/sn8.7/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :