ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
๘. สุทัตตสูตร
ว่าด้วยคหบดีชื่อสุทัตตะ
[๒๔๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าสีตวัน เขตกรุง ราชคฤห์ สมัยนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีไปยังกรุงราชคฤห์ ด้วยกรณียกิจ บางอย่าง ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีได้สดับว่า “ได้ยินว่า พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น แล้วในโลก” ในขณะนั้นเอง ก็ปรารถนาจะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคขึ้นมาทันที ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีได้มีความคิดดังนี้ว่า “วันนี้ไม่ใช่กาลที่จะเข้าเฝ้า พระผู้มีพระภาค รอไว้พรุ่งนี้ก่อน เราจึงจะเข้าเฝ้า” ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีนอนรำพึงถึง พระพุทธเจ้าเข้าใจว่า “สว่างแล้ว” จึงลุกขึ้นในตอนกลางคืนถึง ๓ ครั้ง ลำดับนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีเดินไปทางประตูป่าช้า พวกอมนุษย์ทั้งหลายก็เปิดประตูให้ ครั้นเมื่อท่านอนาถบิณฑิกคหบดีออกไปจากเมือง แสงสว่างก็หายไป ความมืด ปรากฏขึ้น ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง และความขนพองสยองเกล้าก็เกิดขึ้นตามมา ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีจึงใคร่จะรีบกลับจากที่นั้น ครั้งนั้น สิวกยักษ์หายตัวไปได้ ส่งเสียงให้ได้ยินว่า @เชิงอรรถ : @ ก้าวขึ้นไปดีแล้ว หมายถึงก้าวขึ้นไปในพระศาสนาดีแล้ว (สํ.ส.อ. ๑/๒๔๑/๒๙๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๔๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต]

๘. สุทัตตสูตร

ช้าง ๑๐๐,๐๐๐ เชือก ม้า ๑๐๐,๐๐๐ ตัว รถเทียมด้วยม้าอัสดร ๑๐๐,๐๐๐ คัน หญิงสาวที่ประดับตุ้มหูอัญมณี ๑๐๐,๐๐๐ คน ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ๑- แห่งการก้าวเท้าไปข้างหน้าก้าวหนึ่ง ท่านจงก้าวไปเถิดคหบดี ท่านจงก้าวไปเถิดคหบดี การก้าวไปของท่านประเสริฐ การถอยหลังไม่ประเสริฐเลย ครั้งนั้น ความมืดได้หายไป แสงสว่างก็ปรากฏขึ้นแก่ท่านอนาถบิณฑิกคหบดี ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง และความขนพองสยองเกล้าก็ระงับไป แม้ครั้งที่ ๒ แสงสว่างก็หายไป ความมืดก็ปรากฏขึ้นแก่ท่านอนาถบิณฑิก- คหบดี ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง และความขนพองสยองเกล้าก็บังเกิดขึ้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีจึงใคร่ที่จะกลับจากที่นั้นอีก แม้ครั้งที่ ๒ สิวกยักษ์หายตัว ไปได้ส่งเสียงให้ได้ยินว่า ช้าง ๑๐๐,๐๐๐ เชือก ม้า ๑๐๐,๐๐๐ ตัว ฯลฯ ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการก้าวเท้าไปข้างหน้าก้าวหนึ่ง ท่านจงก้าวไปเถิดคหบดี ท่านจงก้าวไปเถิดคหบดี การก้าวไปของท่านประเสริฐ การถอยหลังไม่ประเสริฐเลย ครั้งนั้น ความมืดก็หายไป แสงสว่างก็ปรากฏขึ้นแก่ท่านอนาถบิณฑิกคหบดี ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง และความขนพองสยองเกล้าก็ระงับไป @เชิงอรรถ : @ เสี้ยวที่ ๑๖ หมายความว่า การก้าวเท้าไปข้างหนึ่งนั้น เมื่อแบ่งเป็น ๑๖ ส่วนแล้วเอาส่วนที่หนึ่งใน ๑๖ ส่วน @นั้นมาแบ่งเป็นอีก ๑๖ ส่วน แล้วเอาส่วนหนึ่งที่แบ่งเป็น ๑๖ ส่วนครั้งที่ ๒ นั้นมาแบ่งเป็น ๑๖ ส่วนอีกครั้งหนึ่ง @ส่วน ๑ ใน ๑๖ ส่วนที่แบ่งครั้งที่ ๓ นี้จัดเป็นเสี้ยวที่ ๑๖ สัตว์สิ่งของอย่างละ ๑ แสนยังมีค่าไม่ถึงเสี้ยว @ที่ ๑๖ แห่งการก้าวเท้าไปก้าวหนึ่งที่แบ่งแล้ว ๑๖ ครั้ง ๑๖ เที่ยว ๑๖ หน เพราะท่านอนาถปิณฑิกะก้าว @เท้าไปถึงพระพุทธเจ้าแล้วจะสำเร็จโสดาปัตติผล จักเอาของหอม พวงมาลา กระทำการบูชา จักไหว้ @พระเจดีย์ จักฟังธรรม จักนิมนตร์พระสงฆ์แล้วถวายทาน จักตั้งมั่นในสรณะและศีล (ตามแนวอธิบายแห่ง @สํ.ส.อ. ๑/๒๔๒/๒๙๘, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๓๐๕/๔๗๔-๔๗๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๔๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต]

๘. สุทัตตสูตร

แม้ครั้งที่ ๓ แสงสว่างก็หายไป ความมืดก็ปรากฏขึ้นแก่ท่านอนาถบิณฑิก- คหบดี ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง และความขนพองสยองเกล้าก็บังเกิดขึ้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีจึงใคร่ที่จะกลับจากที่นั้นอีก แม้ครั้งที่ ๓ สิวกยักษ์หายตัวไป ได้ส่งเสียงให้ได้ยินว่า ช้าง ๑๐๐,๐๐๐ เชือก ม้า ๑๐๐,๐๐๐ ตัว ฯลฯ ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการก้าวเท้าไปข้างหน้าก้าวหนึ่ง ท่านจงก้าวไปเถิดคหบดี ท่านจงก้าวไปเถิดคหบดี การก้าวไปของท่านประเสริฐ การถอยหลังไม่ประเสริฐเลย ครั้งนั้น ความมืดก็หายไป แสงสว่างก็ปรากฏขึ้นแก่ท่านอนาถบิณฑิกคหบดี ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง และความขนพองสยองเกล้าก็ระงับไป ครั้งนั้น ท่าน อนาถบิณฑิกคหบดีเดินเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงป่าสีตวัน สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จลุกขึ้นในเวลาเช้าตรู่แล้ว เสด็จจงกรมอยู่ในที่ กลางแจ้ง พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นท่านอนาถบิณฑิกคหบดีผู้มาแต่ไกล ครั้นแล้ว เสด็จลงจากที่จงกรม ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ได้ตรัสกับท่านอนาถ- บิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า “มาเถิด สุทัตตะ” ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีคิดว่า “พระผู้มีพระภาคทรงทักเราโดยชื่อ” จึงร่าเริงดีใจหมอบลงแทบพระยุคลบาทของ พระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้าในที่นั้นเองแล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้เจริญ พระองค์ประทับอยู่เป็นสุขหรือ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พราหมณ์ผู้ดับกิเลสแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุขทุกเมื่อ ไม่ติดอยู่ในกาม๑- @เชิงอรรถ : @ ไม่ติดอยู่ในกาม หมายถึงไม่ติดอยู่ในวัตถุกามและกิเลสกาม ด้วยอำนาจกิเลสคือตัณหาและมิจฉาทิฏฐิ @(องฺ.ติก.อ. ๒/๓๕/๑๓๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๔๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต]

๙. ปฐมสุกกาสูตร

เป็นคนเยือกเย็น ไม่มีอุปกิเลส ตัดกิเลสเครื่องข้องทุกอย่าง พึงกำจัดความกระวนกระวายในใจ เข้าถึงความสงบ ย่อมอยู่เป็นสุข๑-
สุทัตตสูตรที่ ๘ จบ
๙. ปฐมสุกกาสูตร
ว่าด้วยสุกกาภิกษุณี สูตรที่ ๑
[๒๔๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้ เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ภิกษุณีชื่อสุกกามีบริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อม แสดงธรรมอยู่ ครั้งนั้น ยักษ์ผู้เลื่อมใสอย่างยิ่งในสุกกาภิกษุณี จากถนนนี้ไปยัง ถนนโน้น จากตรอกนี้ไปยังตรอกโน้น ในกรุงราชคฤห์ ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า พวกมนุษย์ในกรุงราชคฤห์เหล่านี้ ทำอะไรกัน มัวดื่มน้ำผึ้ง นอนอยู่ ไม่เข้าไปนั่งใกล้สุกกาภิกษุณีผู้แสดงอมตบทอยู่ ส่วนพวกคนที่มีปัญญา เข้าใจดื่มอมตบทนั้น ซึ่งเป็นธรรมไม่นำกลับหลัง ทำผู้ฟังให้ชุ่มชื่น มีโอชะ ดุจบุคคลเดินทางไกลดื่มน้ำฝน๒-
ปฐมสุกกาสูตรที่ ๙ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๓๕/๑๙๑ @ ดู ขุ.เถรี. (แปล) ๒๖/๕๔-๕๕/๕๖๓-๕๖๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๔๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๓๔๖-๓๔๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=15&siri=242              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=6787&Z=6846                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=826              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=826&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=7626              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=826&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=7626                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i801-e.php#sutta8 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn10/sn10.008.than.html https://suttacentral.net/sn10.8/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :