ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]

๔. สตุลลปกายิกวรรค ๔. นสันติสูตร

๔. นสันติสูตร
ว่าด้วยความไม่มี
[๓๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป พวกเทวดาสตุลลปกายิกา จำนวนมากมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร เทวดาองค์หนึ่งยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า ในหมู่มนุษย์ กามที่น่าใคร่ซึ่งคนเกาะเกี่ยวมัวเมาอยู่ จนไม่บรรลุนิพพานอันเป็นเหตุไม่หวนกลับมาสู่แดนมัจจุอีก กามนั้นจะชื่อว่าเที่ยงแท้หามีไม่ ความลำบากเกิดจากฉันทะ ทุกข์เกิดจากฉันทะ เพราะกำจัดฉันทะได้ จึงกำจัดความลำบากได้ เพราะกำจัดความลำบากได้ จึงกำจัดทุกข์ได้ อารมณ์อันงามทั้งหลายในโลก ยังไม่จัดเป็นกาม ความกำหนัดที่เกิดจากความดำริเป็นกามของบุรุษ อารมณ์อันงามทั้งหลายมีอยู่ในโลกอย่างนั้นเอง ฉะนั้น บุคคลผู้มีปัญญาทั้งหลายจึงกำจัดฉันทะในอารมณ์เหล่านั้น บุคคลควรละความโกรธ สละมานะ ก้าวล่วงสังโยชน์๑- ได้หมดทุกอย่าง @เชิงอรรถ : @ สังโยชน์ หมายถึงกิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์ไว้กับทุกข์มี ๑๐ อย่าง คือ (๑) สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็น @ตัวของตน (๒) วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย (๓) สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต (๔) กามราคะ @ความติดใจในกาม (๕) ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ หรือ พยาบาท ความคิดปองร้าย (๖) รูปราคะ @ความติดใจในรูปธรรม (๗) อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม (๘) มานะ ความถือตัว (๙) อุทธัจจะ @ความฟุ้งซ่าน (๑๐) อวิชชา ความไม่รู้จริง (สํ.ส.อ. ๑/๓๔/๖๒, สํ.สฬา.อ. ๓/๕๓-๖๒/๑๔, @องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๓/๒๑, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๔๐/๕๙๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๔๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]

๔. สตุลลปกายิกวรรค ๔. นสันติสูตร

ความทุกข์ย่อมไม่รุมเร้าคนนั้น ผู้ไม่ติดอยู่ในนามรูป ผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล๑- ภิกษุละบัญญัติแล้ว ไม่เข้าถึงวิมาน ตัดตัณหาในนามรูปนี้ได้แล้ว เทวดาและมนุษย์ในโลกนี้ก็ดี ในโลกอื่นก็ดี ในสวรรค์ก็ดี ในสถานที่อันเป็นที่อาศัยแห่งสัตว์ทั้งปวงก็ดี พากันเที่ยวค้นหาก็ไม่พบภิกษุนั้น ผู้ตัดเครื่องผูกขาดแล้ว ไม่มีความทุกข์ ไม่มีตัณหา (ท่านพระโมฆราชทูลถามว่า) หากเทวดาและมนุษย์เหล่าใดในโลกนี้หรือในโลกอื่น ไม่ได้เห็นภิกษุนั้นผู้อุดมกว่านรชน ผู้บำเพ็ญประโยชน์เพื่อนรชน ผู้หลุดพ้นอย่างนั้น นอบน้อมภิกษุนั้นอยู่ เทวดาและมนุษย์เหล่านั้นบัณฑิตควรสรรเสริญหรือ (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ภิกษุโมฆราช) เทวดาและมนุษย์แม้เหล่านั้นบัณฑิตควรสรรเสริญ เทวดาและมนุษย์เหล่าใดนอบน้อมภิกษุผู้หลุดพ้นอย่างนั้น เทวดาและมนุษย์แม้เหล่านั้นรู้ธรรมแล้ว ละวิจิกิจฉาได้ เป็นผู้ข้ามพ้นธรรมเป็นเครื่องข้องได้
นสันติสูตรที่ ๔ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดู ขุ.ธ. ๒๕/๒๒๑/๕๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๔๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๔๓-๔๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=15&siri=34              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=648&Z=686                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=102              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=102&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=1612              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=102&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=1612                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i078-e.php#sutta4 https://suttacentral.net/sn1.34/en/sujato https://suttacentral.net/sn1.34/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :