ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
๗. สมยสูตร
ว่าด้วยพวกเทวดาประชุมกัน
[๓๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่ามหาวัน เขตกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ล้วนเป็นพระอรหันต์ อนึ่ง พวกเทวดาจากโลกธาตุทั้งสิบประชุมกันเป็นอันมากเพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาค และภิกษุสงฆ์ @เชิงอรรถ : @ ความสุขอย่างยิ่ง ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (ขุ.ธ.อ. ๒/๔/๙๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๔๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]

๔. สตุลลปกายิกวรรค ๗. สมยสูตร

ครั้งนั้น เทวดา ๔ องค์ที่เกิดในหมู่พรหมชั้นสุทธาวาสได้มีความดำริอย่างนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคพระองค์นี้ ประทับอยู่ ณ ป่ามหาวัน เขตกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้น สักกะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ล้วนเป็นพระอรหันต์ อนึ่ง พวกเทวดาจากโลกธาตุทั้งสิบประชุมกันเป็นอันมากเพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาคและ ภิกษุสงฆ์ ทางที่ดีแม้เราทั้งหลายควรเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ” แล้วกล่าว คาถาเฉพาะตนในสำนักของพระผู้มีพระภาค ครั้งนั้น เทวดาเหล่านั้นหายตัวไปจากหมู่พรหมชั้นสุทธาวาสมาปรากฏอยู่ เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น ครั้งนั้น เทวดาเหล่านั้นถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร เทวดาองค์หนึ่งยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มี พระภาคว่า การประชุมใหญ่ได้มีแล้วในป่าใหญ่ พวกเทวดามาประชุมพร้อมกันแล้ว พวกข้าพระองค์พากันมาสู่ที่ประชุมอันเป็นธรรมนี้ เพื่อจะเยี่ยมเยียนหมู่ภิกษุผู้ที่ใครๆ ให้พ่ายแพ้ไม่ได้ ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า ในที่ประชุมนั้น ภิกษุทั้งหลายตั้งจิตไว้มั่น ทำจิตตนเองให้ตรง ภิกษุเหล่านั้นเป็นบัณฑิต ย่อมรักษาอินทรีย์ทั้งหลาย เหมือนนายสารถีถือบังเหียนม้า บังคับให้วิ่งไปตามทาง ฉะนั้น ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า ภิกษุเหล่านั้นตัดกิเลสดุจตะปูตรึงจิต๑- ได้แล้ว ตัดกิเลสดุจลิ่มสลัก๒- ได้แล้ว @เชิงอรรถ : @ กิเลสดุจตะปูตรึงจิต หมายถึงกิเลสคือราคะ โทสะ โมหะ (สํ.ส.อ. ๑/๓๗/๗๔) @ กิเลสดุจลิ่มสลัก หมายถึงกิเลสคือราคะ โทสะ โมหะ (สํ.ส.อ. ๑/๓๗/๗๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๔๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]

๔. สตุลลปกายิกวรรค ๘. สกลิกสูตร

และถอนกิเลสดุจเสาเขื่อน๑- ได้แล้ว จึงไม่หวั่นไหว เป็นผู้หมดจด ปราศจากมลทิน มีจักษุ๒- ฝึกตนดีแล้ว เป็นผู้ประเสริฐ ประพฤติธรรมอยู่ ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า บุคคลทั้งหลายผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ จักไม่ไปสู่อบายภูมิ ละร่างกายอันเป็นของมนุษย์แล้ว จักบังเกิดเป็นเทวดาโดยสมบูรณ์
สมยสูตรที่ ๗ จบ
๘. สกลิกสูตร
ว่าด้วยสะเก็ดหิน
[๓๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ มัททกุจฉิ สถานที่พระราชทานอภัย แก่หมู่เนื้อ เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น สะเก็ดหินกระทบพระบาทของผู้มีพระภาค ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคทรงมีทุกขเวทนาทางพระวรกายที่กล้าแข็งอย่างหนัก @เชิงอรรถ : @ กิเลสดุจเสาเขื่อน หมายถึงกิเลสคือราคะ โทสะ โมหะ (สํ.ส.อ. ๑/๓๗/๗๔) @ มีจักษุ หมายถึงมีจักษุ ๕ คือ (๑) มังสจักขุ ตาเนื้อ คือมีพระเนตรงาม มีอำนาจ เห็นแจ่มใส @ไวและเห็นไกล (๒) ทิพพจักขุ ตาทิพย์ คือทรงมีพระญาณเห็นหมู่สัตว์ผู้เป็นต่างๆ กันด้วยอำนาจกรรม @(๓) ปัญญาจักขุ ตาปัญญา คือทรงประกอบด้วยพระปัญญาคุณอันยิ่งใหญ่ เป็นเหตุให้สามารถตรัสรู้ @อริยสัจธรรมเป็นต้น (๔) พุทธจักขุ ตาพระพุทธเจ้า คือทรงประกอบด้วยอินทริยปโรปริยัตตญาณ และ @อาสยานุสยญาณ เป็นเหตุให้ทรงทราบอัธยาศัยและอุปนิสัยแห่งเวไนยสัตว์แล้วทรงสั่งสอนแนะนำ @ให้บรรลุคุณวิเศษต่างๆ ยังพุทธกิจให้บริบูรณ์ (๕) สมันตจักขุ ตาเห็นรอบ คือทรงประกอบด้วย @พระสัพพัญญุตญาณ อันหยั่งรู้ธรรมทุกประการ (สํ.ส.อ. ๑/๓๗/๗๔-๗๕, @ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๕๖/๔๒๔-๔๓๐, ๑๙๑/๕๔๑-๕๔๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๕๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๔๘-๕๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=15&siri=37              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=752&Z=788                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=115              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=115&items=7              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=1735              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=115&items=7              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=1735                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i078-e.php#sutta7 https://suttacentral.net/sn1.37/en/sujato https://suttacentral.net/sn1.37/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :