ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
๘. สกลิกสูตร
ว่าด้วยสะเก็ดหิน
[๓๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ มัททกุจฉิ สถานที่พระราชทานอภัย แก่หมู่เนื้อ เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น สะเก็ดหินกระทบพระบาทของผู้มีพระภาค ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคทรงมีทุกขเวทนาทางพระวรกายที่กล้าแข็งอย่างหนัก @เชิงอรรถ : @ กิเลสดุจเสาเขื่อน หมายถึงกิเลสคือราคะ โทสะ โมหะ (สํ.ส.อ. ๑/๓๗/๗๔) @ มีจักษุ หมายถึงมีจักษุ ๕ คือ (๑) มังสจักขุ ตาเนื้อ คือมีพระเนตรงาม มีอำนาจ เห็นแจ่มใส @ไวและเห็นไกล (๒) ทิพพจักขุ ตาทิพย์ คือทรงมีพระญาณเห็นหมู่สัตว์ผู้เป็นต่างๆ กันด้วยอำนาจกรรม @(๓) ปัญญาจักขุ ตาปัญญา คือทรงประกอบด้วยพระปัญญาคุณอันยิ่งใหญ่ เป็นเหตุให้สามารถตรัสรู้ @อริยสัจธรรมเป็นต้น (๔) พุทธจักขุ ตาพระพุทธเจ้า คือทรงประกอบด้วยอินทริยปโรปริยัตตญาณ และ @อาสยานุสยญาณ เป็นเหตุให้ทรงทราบอัธยาศัยและอุปนิสัยแห่งเวไนยสัตว์แล้วทรงสั่งสอนแนะนำ @ให้บรรลุคุณวิเศษต่างๆ ยังพุทธกิจให้บริบูรณ์ (๕) สมันตจักขุ ตาเห็นรอบ คือทรงประกอบด้วย @พระสัพพัญญุตญาณ อันหยั่งรู้ธรรมทุกประการ (สํ.ส.อ. ๑/๓๗/๗๔-๗๕, @ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๕๖/๔๒๔-๔๓๐, ๑๙๑/๕๔๑-๕๔๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๕๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]

๔. สตุลลปกายิกวรรค ๘. สกลิกสูตร

เผ็ดร้อน อันไม่สบายพระทัย ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคมีพระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นทุกขเวทนานั้นไว้ได้ ไม่ทรงเดือดร้อน ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ปูผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้น ทรงสำเร็จสีหไสยา (การนอนดุจราชสีห์) โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ทรงซ้อนพระบาทเหลื่อมพระบาท มีพระสติสัมปชัญญะ ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป พวกเทวดาสตุลลปกายิกาประมาณ ๗๐๐ องค์ มีวรรณะ งดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วมัททกุจฉิ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร เทวดาองค์หนึ่งยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้วได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักของพระผู้มี- พระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระสมณโคดมเป็นบุรุษดุจนาค๑- จริง ก็แลพระ- สมณโคดมมีพระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นทุกขเวทนาทางพระวรกายที่กล้าแข็ง อย่างหนัก เผ็ดร้อน อันไม่สบายพระทัย ที่เกิดขึ้นแล้วไว้ได้ เพราะความที่พระองค์ เป็นบุรุษดุจนาค ไม่ทรงเดือดร้อน” ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระสมณโคดมเป็นบุรุษดุจราชสีห์จริง ก็แลพระสมณโคดม มีพระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นทุกขเวทนาทางพระวรกายที่กล้าแข็งอย่างหนัก เผ็ดร้อน อันไม่สบายพระทัย ที่เกิดขึ้นแล้วไว้ได้ เพราะความที่พระองค์เป็นบุรุษ ดุจราชสีห์ ไม่ทรงเดือดร้อน” ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระสมณโคดมเป็นบุรุษอาชาไนยจริง ก็แลพระสมณโคดม มีพระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นทุกขเวทนาทางพระวรกายที่กล้าแข็งอย่างหนัก เผ็ดร้อนอันไม่สบายพระทัย ที่เกิดขึ้นแล้วไว้ได้ เพราะความที่พระองค์เป็นบุรุษ อาชาไนยไม่ทรงเดือดร้อน” @เชิงอรรถ : @ นาค ในที่นี้หมายถึงช้างมหานาค (สํ.ฏีกา ๑/๓๘/๑๒๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๕๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]

๔. สตุลลปกายิกวรรค ๘. สกลิกสูตร

ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระสมณโคดมเป็นบุรุษผู้องอาจจริง ก็แลพระสมณโคดมมี พระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นทุกขเวทนาทางพระวรกายที่กล้าแข็งอย่างหนัก เผ็ดร้อน อันไม่สบายพระทัย ที่เกิดขึ้นแล้วไว้ได้ เพราะความที่พระองค์เป็นบุรุษผู้องอาจ ไม่ทรง เดือดร้อน” ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระสมณโคดมเป็นบุรุษผู้ใฝ่ธุระจริง ก็แลพระสมณโคดม มีพระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นทุกขเวทนาทางพระวรกายที่กล้าแข็งอย่างหนัก เผ็ดร้อน อันไม่สบายพระทัย ที่เกิดขึ้นแล้วไว้ได้ เพราะความที่พระองค์เป็นบุรุษผู้ ใฝ่ธุระ ไม่ทรงเดือดร้อน” ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระสมณโคดมเป็นบุรุษผู้ฝึกแล้วจริง ก็แลพระสมณโคดม มีพระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นทุกขเวทนาทางพระวรกายที่กล้าแข็งอย่างหนัก เผ็ดร้อน อันไม่สบายพระทัย ที่เกิดขึ้นแล้วไว้ได้ เพราะความที่พระองค์เป็นบุรุษ ผู้ฝึกแล้ว ไม่ทรงเดือดร้อน” ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า “ท่านจงดูสมาธิ๑- ที่พระสมณโคดมทรงเจริญดีแล้ว จงดูจิตที่พระสมณโคดมทรงให้ หลุดพ้นดีแล้ว๒- จิตที่เป็นไปตามราคะพระสมณโคดมก็ไม่ให้น้อมไปถึงแล้ว จิตที่ เป็นไปตามโทสะพระสมณโคดมก็ไม่ให้หวนกลับมาแล้ว และจิตของพระสมณโคดม ไม่ต้องตั้งใจข่มและคอยห้ามปราม บุคคลใดพึงสำคัญพระสมณโคดมเป็นบุรุษดุจนาค @เชิงอรรถ : @ สมาธิ ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผลสมาธิ (สํ.ส.อ. ๑/๓๘/๗๘) @ ให้หลุดพ้นดีแล้ว หมายถึงให้หลุดพ้นด้วยดีด้วยผลวิมุตติ (สํ.ส.อ. ๑/๓๘/๗๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๕๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]

๔. สตุลลปกายิกวรรค ๘. สกลิกสูตร

เป็นบุรุษดุจราชสีห์ เป็นบุรุษอาชาไนย เป็นบุรุษผู้องอาจ เป็นบุรุษผู้ใฝ่ธุระ และ เป็นบุรุษผู้ฝึกแล้วเห็นปานนี้ว่า เป็นผู้ที่ตนจะล่วงเกินได้ บุคคลนั้นจะเป็นอะไรเล่า นอกเสียจากผู้ไม่มีทัสสนะ๑-” (เทวดานั้นครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ได้กล่าวคาถาทั้งหลายเหล่านี้ว่า) พราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ทรงเวททั้ง ๕ ๒- มีตบะ ประพฤติธรรมอยู่อย่างสม่ำเสมอตั้ง ๑๐๐ ปี แต่จิตของพราหมณ์เหล่านั้นก็ไม่หลุดพ้นโดยชอบ เพราะพราหมณ์เหล่านั้นมีสภาพจิตต่ำ จึงไม่ถึงจุดจบ๓- (แห่งความตาย) พราหมณ์เหล่านั้นถูกตัณหาครอบงำแล้ว เกี่ยวข้องด้วยศีลพรต ประพฤติตบะอันเศร้าหมองอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี แต่จิตของพราหมณ์เหล่านั้นก็ไม่หลุดพ้นแล้วโดยชอบ เพราะพราหมณ์เหล่านั้นมีสภาพจิตต่ำ จึงไม่ถึงจุดจบ บุคคลผู้มีมานะ ย่อมไม่มีการฝึกตนเอง บุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง ย่อมไม่มีความรู้ บุคคลผู้ประมาทอยู่ในป่าคนเดียว ก็ไม่ถึงจุดจบแห่งความตาย @เชิงอรรถ : @ ผู้ไม่มีทัสสนะ หมายถึงผู้ไม่มีความรู้ (สํ.ส.อ. ๑/๓๘/๗๘) @ เวททั้ง ๕ ได้แก่ พระเวท ๕ คือ (๑) อิรุเวทหรือฤคเวท (๒) ยชุรเวท (๓) สามเวท (๔) อาถรรพเวท @(๕) อิติหาสะ (สํ.ส.อ. ๑/๓๘/๗๘, สํ.ฏีกา ๑/๓๘/๑๒๓) @ จุดจบ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (สํ.ส.อ. ๑/๓๘/๗๘, สํ.ฏีกา ๑/๓๘/๑๒๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๕๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]

๔. สตุลลปกายิกวรรค ๙. ปฐมปัชชุนนธีตุสูตร

บุคคลละมานะได้แล้ว มีใจมั่นคงดี มีใจดี หลุดพ้นในธรรมทั้งปวง เขาไม่ประมาทอยู่ในป่าคนเดียว ก็ถึงจุดจบแห่งความตายได้
สกลิกสูตรที่ ๘ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๕๐-๕๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=15&siri=38              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=789&Z=854                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=122              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=122&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=1987              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=122&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=1987                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i078-e.php#sutta8 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn01/sn01.038.than.html https://suttacentral.net/sn1.38/en/sujato https://suttacentral.net/sn1.38/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :