ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๖. ลาภสักการสังยุต]

๓. ตติยวรรค ๔. เอกธีตสูตร

๔. เอกธีตุสูตร
ว่าด้วยธิดาคนเดียว
[๑๗๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ... “ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ ต่อการ บรรลุธรรม ... อุบาสิกาผู้มีศรัทธาเมื่อจะวิงวอนธิดาคนเดียว ซึ่งเป็นที่น่ารักน่าพอใจโดยถูกต้อง พึงวิงวอนว่า ‘ลูกเอ๋ย ขอเจ้าจงเป็นเช่นนางขุชชุตตราอุบาสิกา๑- และนางนันทมารดา๒- ชาวเมืองเวฬุกัณฑกะเถิด’ บรรดาอุบาสิกาผู้เป็นสาวิกาของเรา คือ ขุชชุตตราอุบาสิกา และนางนันท- มารดา ชาวเมืองเวฬุกัณฑกะ เป็นผู้ชั่งได้วัดได้(นางพึงวิงวอนอีกว่า) ถ้าแม่ออกจาก เรือนบวชเป็นบรรพชิต ก็ขอให้เป็นเช่นเขมาภิกษุณี๓- และอุบลวรรณาภิกษุณี๔- เถิด บรรดาภิกษุณีผู้เป็นสาวิกาของเรา เขมาภิกษุณีและอุบลวรรณาภิกษุณี เป็นผู้ ชั่งได้วัดได้ (นางพึงวิงวอนต่อไปว่า) ลูกเอ๋ย ขอลาภสักการะและความสรรเสริญ จงอย่าครอบงำเจ้าผู้เป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตตผลเลย ถ้าลาภสักการะและความ สรรเสริญครอบงำภิกษุณีผู้เป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตตผลก็ย่อมเป็นอันตรายแก่เธอ ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นสิ่งทารุณ ฯลฯ อย่างนี้ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
เอกธีตุสูตรที่ ๔ จบ
@เชิงอรรถ : @ นางขุชชุตตราอุบาสิกา เป็นชาวเมืองโกสัมพี ได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเลิศ(เอตทัคคะ) กว่า @อุบาสิกาทั้งหลายทางด้านเป็นพหูสูต (องฺ.เอกก. (แปล) ๒๐/๒๖๐/๓๒) @ นางนันทมารดาอุบาสิกา เป็นชาวเมืองเวฬุกัณฑกะ ได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเลิศ(เอตทัคคะ) @กว่าอุบาสิกาทั้งหลายทางด้านเป็นผู้อุปัฏฐาก (ขุ.อป. (แปล) ๓๓/๑๙/๗๒๐) @ เขมาภิกษุณี ก่อนบวชเคยเป็นพระเทวีของพระเจ้าพิมพิสาร เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ได้รับยกย่องจาก @พระพุทธเจ้าว่าเป็นเลิศ(เอตทัคคะ) กว่าภิกษุณีทั้งหลายทางด้านเป็นผู้มีปัญญามาก @(องฺ.เอกก. (แปล) ๒๐/๒๓๖/๓๐, เถรี.อ. ๔๕๓/๑๖๐-๑๗๒, ขุ.อป. (แปล) ๓๓/๒๘๙-๓๘๓/๔๒๖-๔๓๘) @ อุบลวรรณาภิกษุณี เป็นชาวเมืองสาวัตถี แคว้นโกศล ได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเลิศ (เอตทัคคะ) @กว่าภิกษุณีทั้งหลายทางด้านเป็นผู้มีฤทธิ์มาก (องฺ.เอกก. (แปล) ๒๐/๒๓๗/๓๐, เถรี.อ. ๔๖๕/๒๓๓-๒๔๘, @ขุ.อป. (แปล) ๓๓/๓๘๔-๔๖๗/๔๓๘-๔๔๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๒๗๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๒๗๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=16&siri=168              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=6169&Z=6186                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=571              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=16&item=571&items=2              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=16&item=571&items=2                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i565-e.php#sutta4 https://suttacentral.net/sn17.24/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :