ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๔. อัญญติตถิยสูตร
ว่าด้วยอัญเดียรถีย์
[๒๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน ... เขตกรุงราชคฤห์ ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไป บิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ ได้มีความคิดดังนี้ว่า “การเที่ยวไปบิณฑบาตยังกรุง ราชคฤห์ยังเช้านัก ทางที่ดี เราพึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเถิด” ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันกับพวกอัญเดียรถีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๔๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๓. ทสพลวรรค ๔. อัญญติตถิยสูตร

ปริพาชกนั้น แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกนั้น ได้กล่าวกับท่าน พระสารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านพระสารีบุตร มีสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะพวกหนึ่งบัญญัติว่า ทุกข์ เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง อนึ่ง สมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะพวกหนึ่งบัญญัติว่า ทุกข์ เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ สมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะพวกหนึ่งบัญญัติว่า ทุกข์ เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วย และเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วย อนึ่ง สมณพราหมณ์ ฝ่ายกรรมวาทะพวกหนึ่งบัญญัติว่า ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่ ท่านพระสารีบุตร ก็ในวาทะเหล่านี้ พระสมณโคดมตรัสไว้อย่างไร ตรัสบอก ไว้อย่างไร และพวกข้าพเจ้าจะตอบอย่างไร จึงจะชื่อว่าพูดตรงตามที่พระสมณโคดม ตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระสมณโคดมด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล ทั้งไม่มีการคล้อยตามคำเช่นนั้นที่จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้” “ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘ทุกข์เป็นสภาวะที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น อาศัยปัจจัยอะไร คืออาศัยผัสสะ บุคคลผู้กล่าวถ้อยคำเช่นนี้ จึงชื่อว่าเป็นผู้พูดตรงตาม ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้ อย่างสมเหตุสมผลทั้งไม่มีการคล้อยตามคำเช่นนั้นที่จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้ ท่านทั้งหลาย ในวาทะทั้ง ๔ นั้น ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะ บัญญัติว่า เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ทุกข์ที่พวกสมณ- พราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะ เป็นปัจจัย ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า เป็นสิ่งที่ตนกระทำ เองด้วย และเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วย ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ทุกข์ที่ พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเอง ก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่ ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ท่านทั้งหลาย ในวาทะทั้ง ๔ นั้น เป็นไปไม่ได้เลยที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่าย กรรมวาทะบัญญัติว่า ทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง จะเสวยทุกข์เว้นจากผัสสะ เป็นไปไม่ได้เลยที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า ทุกข์เป็นสิ่งที่คนอื่น กระทำให้ จะเสวยทุกข์เว้นจากผัสสะ เป็นไปไม่ได้เลยที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่าย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๔๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๓. ทสพลวรรค ๔. อัญญติตถิยสูตร

กรรมวาทะบัญญัติว่า ทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วย และเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ ด้วย จะเสวยทุกข์เว้นจากผัสสะ เป็นไปไม่ได้เลยที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะ บัญญัติว่า ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็ มิใช่ จะเสวยทุกข์เว้นจากผัสสะ” ท่านพระอานนท์ได้ฟังท่านพระสารีบุตรสนทนาปราศรัยกับพวกอัญเดียรถีย์ ปริพาชกเหล่านั้น ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เที่ยวไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจากฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง ที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้ว ได้กราบทูลคำสนทนา ทั้งหมดของท่านพระสารีบุตรกับพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ อานนท์ ตามที่สารีบุตรพยากรณ์นั้น ชื่อว่าพึงพยากรณ์โดยชอบ เรากล่าวว่า ทุกข์เป็นสภาวะที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น อาศัย ปัจจัยอะไร คืออาศัยผัสสะ บุคคลผู้กล่าวถ้อยคำเช่นนี้ จึงชื่อว่าเป็นผู้พูดตรง ตามที่เรากล่าวไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล ทั้งไม่มีการคล้อยตามคำเช่นนั้นที่จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้ ในวาทะทั้ง ๔ นั้น ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า เป็น สิ่งที่ตนกระทำเอง ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ฯลฯ ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่น กระทำให้ก็มิใช่ ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ในวาทะทั้ง ๔ นั้น เป็นไปไม่ได้เลยที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะ บัญญัติว่า ทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง จะเสวยทุกข์เว้นจากผัสสะ ฯลฯ เป็นไป ไม่ได้ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่ จะเสวยทุกข์เว้นจากผัสสะ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่เวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์นี้แหละ ครั้นในเวลาเช้า เราครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุง ราชคฤห์ อานนท์ เราได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘การเที่ยวไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ ยังเช้านัก ทางที่ดี เราพึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเถิด’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๔๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๓. ทสพลวรรค ๔. อัญญติตถิยสูตร

ครั้งนั้น เราได้เข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก ได้สนทนาปราศรัย พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันกับพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก แล้วนั่ง ณ ที่ สมควร พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกได้กล่าวคำนี้กับเราว่า “ท่านพระโคดม สมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะพวกหนึ่งบัญญัติว่า ทุกข์เป็น สิ่งที่ตนกระทำเอง อนึ่ง สมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะพวกหนึ่งบัญญัติว่า ทุกข์เป็น สิ่งที่คนอื่นกระทำให้ สมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะพวกหนึ่งบัญญัติว่า ทุกข์เป็น สิ่งที่ตนกระทำเองด้วย และเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วย อนึ่ง สมณพราหมณ์ฝ่าย กรรมวาทะพวกหนึ่งบัญญัติว่า ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่ ก็ในวาทะเหล่านี้ ท่านพระโคดมตรัสไว้อย่างไร ตรัสบอกไว้อย่างไร และพวก ข้าพเจ้าจะตอบว่าอย่างไร จึงจะชื่อว่าพูดตรงตามที่พระโคดมตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่ ท่านพระโคดมด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล ทั้งไม่มีการคล้อยตาม คำเช่นนั้นที่จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้” อานนท์ เมื่ออัญเดียรถีย์ปริพาชกกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวว่า ‘ท่าน ทั้งหลาย เรากล่าวว่า ทุกข์เป็นสภาวะที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น อาศัยปัจจัยอะไร คือ อาศัยผัสสะ บุคคลผู้กล่าวถ้อยคำเช่นนี้ จึงชื่อว่าเป็นผู้พูดตรงตามที่เรากล่าวไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล ทั้งไม่มีการคล้อยตาม คำเช่นนั้นที่จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้’ ท่านทั้งหลาย ในวาทะทั้ง ๔ นั้น ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรม- วาทะบัญญัติว่า เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ทุกข์ที่ พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ ก็เกิดขึ้น เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า เป็นสิ่ง ที่ตนกระทำเองด้วย และเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วย ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็น ปัจจัย ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า เกิดขึ้นเพราะอาศัย เหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็ไม่ใช่ ก็เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๔๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๓. ทสพลวรรค ๔. อัญญติตถิยสูตร

ท่านทั้งหลาย ในวาทะทั้ง ๔ นั้น เป็นไปไม่ได้ที่พวกสมณพราหมณ์ฝ่าย กรรมวาทะบัญญัติว่า ทุกข์เป็นสิ่งที่ตนกระทำเอง จะเสวยทุกข์เว้นจากผัสสะ ฯลฯ พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะ ฯลฯ พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะ ฯลฯ พวกสมณพราหมณ์ฝ่ายกรรมวาทะบัญญัติว่า ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตน กระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่ จะเสวยทุกข์เว้นจากผัสสะ “พระพุทธเจ้าข้า น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่เนื้อความทั้งหมด พระผู้มี พระภาคตรัสไว้ด้วยบทๆ เดียว พึงมีหรือ ที่เนื้อความเหมือนอย่างนี้ เมื่อพระองค์ ตรัสโดยพิสดาร จะเป็นเนื้อความที่ลึกซึ้งด้วย จะเป็นกระแสความที่ลึกซึ้งด้วย” “อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เนื้อความในเรื่องนี้จงปรากฏชัดแก่เธอเองเถิด” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าใครๆ พึงถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ ชราและมรณะมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็น แดนเกิด’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ชราและ มรณะ มีชาติเป็นเหตุ มีชาติเป็นเหตุเกิด มีชาติเป็นกำเนิด มีชาติเป็นแดนเกิด’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ ตอบอย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า’ ถ้าใครๆ พึงถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านพระอานนท์ ชาติมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ชาติมีภพเป็นเหตุ มีภพเป็นเหตุเกิด มีภพเป็นกำเนิด มีภพเป็นแดนเกิด’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า’ ‘ถ้าใครๆ พึงถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ ภพมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ภพมีอุปาทานเป็นเหตุ มีอุปาทานเป็นเหตุเกิด มีอุปาทานเป็นกำเนิด มีอุปาทานเป็นแดนเกิด’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงตอบ อย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า’ ถ้าใครๆ พึงถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ อุปาทาน ฯลฯ ตัณหา ฯลฯ เวทนา ฯลฯ ผัสสะมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ผัสสะมีสฬายตนะเป็นเหตุ มีสฬายตนะเป็นเหตุเกิด มีสฬายตนะเป็นกำเนิด มีสฬายตนะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๔๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๓. ทสพลวรรค ๕. ภูมิชสูตร

เป็นแดนเกิด’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ก็เพราะ ผัสสายตนะทั้ง ๖ นั้น ดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนา จึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะ อุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วย ประการฉะนี้’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงตอบดังกล่าวมานี้แล”
อัญญติตถิยสูตรที่ ๔ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๔๓-๔๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=16&siri=20              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=785&Z=930                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=71              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=16&item=71&items=8              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=1423              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=16&item=71&items=8              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=1423                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i064-e.php#sutta4 https://suttacentral.net/sn12.24/en/sujato https://suttacentral.net/sn12.24/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :