ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๒. กฬารสูตร
ว่าด้วยพระกฬาระ
[๓๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระกฬารขัตติยะเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัย พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่าน พระสารีบุตรดังนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร พระโมลิยผัคคุนะได้บอกคืนสิกขา กลับมา เป็นคฤหัสถ์แล้ว’ “ท่านโมลิยผัคคุนะนั้นคงไม่ได้ความพอใจในพระธรรมวินัยนี้กระมัง” “ถ้าเช่นนั้น ท่านสารีบุตรคงได้ความพอใจในพระธรรมวินัยนี้กระมัง” “ท่านผู้มีอายุ ผมไม่สงสัยเลย” “ท่านผู้มีอายุ ก็ต่อไปเล่า ท่านไม่สงสัยหรือ” “ท่านผู้มีอายุ ถึงต่อไปผมก็ไม่ลังเล” ลำดับนั้น พระกฬารขัตติยะลุกจากอาสนะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๖๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๔. กฬารขัตติยวรรค ๒. กฬารสูตร

‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้อีกต่อไป” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งให้เรียกภิกษุรูปหนึ่งมาตรัสว่า ‘มาเถิด ภิกษุ เธอจงไปเรียกสารีบุตรมาตามคำของเราว่า ‘ท่านสารีบุตร พระศาสดารับสั่งให้ ท่านเข้าเฝ้า’ ภิกษุนั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ แล้วเรียนว่า ‘ท่านสารีบุตร พระศาสดารับสั่งให้ท่านเข้าเฝ้า’ ท่านพระสารีบุตรรับคำแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า ‘สารีบุตร ได้ทราบว่าเธอพยากรณ์อรหัตตผล ว่า ‘เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มี กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป จริงหรือ” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์หาได้กล่าวเนื้อความโดยบท โดยพยัญชนะ เช่นนี้ไม่” “สารีบุตร กุลบุตรย่อมพยากรณ์อรหัตตผลโดยปริยาย(โดยอ้อม)อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนั้น อรหัตตผลที่เธอพยากรณ์ไปแล้ว บุคคลพึงเห็นตามที่เธอพยากรณ์หรือ” “แม้ข้าพระองค์ก็ได้กราบทูลไว้อย่างนี้มิใช่หรือว่า ‘ข้าพระองค์หาได้กล่าวเนื้อ ความโดยบท โดยพยัญชนะเช่นนี้ไม่” “ถ้ามีผู้ถามเธออย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ท่านรู้เห็นอย่างไร จึงพยากรณ์ อรหัตตผลว่า ‘ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ เธอพึง พยากรณ์อย่างไร” “ถ้ามีผู้ถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ท่านรู้เห็นอย่างไร จึงพยากรณ์ อรหัตตผลว่า ‘ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุ ชาติมีสิ่งใดเป็นเหตุ เมื่อต้นเหตุแห่งชาตินั้น สิ้นไปแล้ว ข้าพเจ้าจึงรู้ว่า ‘ข้าพเจ้าเป็นผู้สิ้นแล้ว’ เพราะปัจจัยแห่งชาตินั้นสิ้นไปแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๖๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๔. กฬารขัตติยวรรค ๒. กฬารสูตร

ครั้นรู้ว่า ‘ข้าพเจ้าเป็นผู้สิ้นแล้ว ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ เมื่อข้าพระองค์ ถูกถามอย่างนี้ ก็พึงพยากรณ์อย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า” “ถ้ามีผู้ถามเธออย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ก็ชาติมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็น เหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ เธอพึงพยากรณ์ อย่างไร” “ถ้ามีผู้ถามข้าพระองค์อย่างนี้ ข้าพระองค์พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ‘ชาติมีภพ เป็นเหตุ มีภพเป็นเหตุเกิด มีภพเป็นกำเนิด มีภพเป็นแดนเกิด” “ถ้ามีผู้ถามเธออย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ก็ภพเล่า มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็น เหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ เธอพึงพยากรณ์ อย่างไร” “ถ้ามีผู้ถามข้าพระองค์อย่างนี้ ข้าพระองค์พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ‘ภพมีอุปาทาน เป็นเหตุ มีอุปาทานเป็นเหตุเกิด มีอุปาทานเป็นกำเนิด มีอุปาทานเป็นแดนเกิด” “ถ้ามีผู้ถามเธออย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ก็อุปาทานเล่า มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ มีอะไรเป็นแดนเกิด’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ เธอพึงพยากรณ์อย่างไร” “ถ้ามีผู้ถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร อุปาทานเล่า มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ มีอะไรเป็นแดนเกิด’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ‘อุปาทาน มีตัณหาเป็นเหตุ ฯลฯ มีตัณหาเป็นแดนเกิด” “ถ้ามีผู้ถามเธออย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ก็ตัณหาเล่า มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร เป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ เธอพึง พยากรณ์อย่างไร” “ถ้ามีผู้ถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ตัณหาเล่ามีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ‘ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ มีเวทนาเป็นเหตุเกิด มีเวทนาเป็น กำเนิด มีเวทนาเป็นแดนเกิด” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๖๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๔. กฬารขัตติยวรรค ๒. กฬารสูตร

“ถ้ามีผู้ถามเธออย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ก็เวทนาเล่า มีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ มี อะไรเป็นแดนเกิด’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ เธอพึงพยากรณ์อย่างไร” “ถ้ามีผู้ถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ก็เวทนาเล่ามีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ มีอะไรเป็นแดนเกิด’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ‘เวทนา มีผัสสะเป็นเหตุ ฯลฯ มีผัสสะเป็นแดนเกิด” “ถ้ามีผู้ถามเธออย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ท่านรู้เห็นอย่างไร ความเพลิดเพลิน ในเวทนาจึงไม่ปรากฏ’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ เธอพึงพยากรณ์อย่างไร” “ถ้ามีผู้ถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร ท่านรู้เห็นอย่างไร ความ เพลิดเพลินในเวทนาจึงไม่ปรากฏ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า เวทนามี ๓ ประการ เวทนา ๓ ประการอะไรบ้าง คือ ๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา ๓. อทุกขมสุขเวทนา เวทนาทั้ง ๓ ประการนี้ เป็นสภาวะไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายจึงไม่ปรากฏ” “ดีละ ดีละ สารีบุตร ตามที่เธอพยากรณ์ความข้อนั้นโดยย่อ ก็ได้ใจความ ดังนี้ว่า ‘เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งล้วนเป็นทุกข์ทั้งนั้น’ อนึ่ง ถ้ามีผู้ถามเธออย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร เพราะความหลุดพ้นเช่นไร ท่านจึงพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ เมื่อถูกถาม อย่างนี้ เธอพึงพยากรณ์อย่างไร” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๖๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๔. กฬารขัตติยวรรค ๒. กฬารสูตร

“ถ้ามีผู้ถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านสารีบุตร เพราะความหลุดพ้นเช่นไร ท่านจึงพยากรณ์อรหัตตผลว่า ‘ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ ข้าพระองค์ถูก ถามอย่างนี้ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ‘อาสวะทั้งหลายไม่ครอบงำท่านผู้มีสติอยู่อย่างใด เราก็เป็นผู้มีสติอยู่อย่างนั้น เพราะความหลุดพ้นในภายใน เพราะอุปาทานทั้งปวง สิ้นไป ทั้งเราก็มิได้ดูหมิ่นตนเองด้วย’ เมื่อถูกถามอย่างนี้ ข้าพระองค์พึงพยากรณ์ อย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า” “ดีละ ดีละ สารีบุตร ตามที่เธอพยากรณ์ความข้อนั้นโดยย่อ ก็ได้ใจความ ดังนี้ว่า ‘อาสวะเหล่าใดอันพระสมณะกล่าวแล้ว ข้าพเจ้าไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ในอาสวะเหล่านั้นว่า ‘อาสวะเหล่านั้น ข้าพเจ้าละได้แล้วหรือยัง” พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาครั้นตรัสภาษิตนี้แล้ว ได้เสด็จลุกขึ้นจากที่ประทับ เสด็จเข้าไปยังพระวิหาร เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังพระวิหารได้ไม่นานนัก ท่านพระสารีบุตรได้ กล่าวกับภิกษุทั้งหลายในที่นั้นว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคได้ตรัส ถามปัญหาข้อแรกกับผม ซึ่งผมยังไม่เคยรู้มาก่อน ผมจึงทูลตอบปัญหาล่าช้าไป ต่อเมื่อพระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนาปัญหาข้อแรกของผมแล้ว ผมจึงคิดได้ว่า ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกับผมด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดทั้งวัน แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคได้ด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดทั้งวัน แม้ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกับผมด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยาย อื่นๆ ตลอดทั้งคืน แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคได้ด้วยบท อื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดทั้งคืน แม้ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกับผมด้วยบทอื่นๆ ด้วย ปริยายอื่นๆ ตลอดทั้งคืนทั้งวัน แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มี พระภาคได้ด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดทั้งคืนทั้งวัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๖๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๔. กฬารขัตติยวรรค ๒. กฬารสูตร

แม้ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกับผม ตลอด ๒ คืน ๒ วัน ฯลฯ แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคได้ ตลอด ๒ คืน ๒ วัน ฯลฯ แม้ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกับผม ตลอด ๓ คืน ๓ วัน ... แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคได้ ตลอด ๓ คืน ๓ วัน ... แม้ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกับผม ตลอด ๔ คืน ๔ วัน ... แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคได้ ตลอด ๔ คืน ๔ วัน ... แม้ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกับผม ตลอด ๕ คืน ๕ วัน ... แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคได้ ตลอด ๕ คืน ๕ วัน ... แม้ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกับผม ตลอด ๖ คืน ๖ วัน ... แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาคได้ ตลอด ๖ คืน ๖ วัน ... แม้ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกับผมด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยาย อื่นๆ ตลอด ๗ คืน ๗ วัน แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาค ได้ด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอด ๗ คืน ๗ วัน” ลำดับนั้น พระกฬารขัตติยะลุกจากอาสนะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ท่านสารีบุตรบันลือสีหนาทว่า ‘ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มี พระภาคได้ตรัสถามปัญหาข้อแรกกับผม ซึ่งผมยังไม่เคยรู้มาก่อน ผมจึงทูลตอบ ปัญหาล่าช้าไป ต่อเมื่อพระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนาปัญหาข้อแรกของผมแล้ว ผมจึงคิดได้ว่า ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกับผมด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดทั้งวัน แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มีพระภาค ได้ด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดทั้งวัน แม้ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกับผม ตลอดทั้งคืน ฯลฯ แม้ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกับผม ตลอดทั้งคืนทั้งวัน ... {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๖๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

๔. กฬารขัตติยวรรค ๓. กฬารสูตร

แม้ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกับผม ตลอด ๒ คืน ๒ วัน ... ตลอด ๓ คืน ๓ วัน ... ตลอด ๔ คืน ๔ วัน ... ตลอด ๕ คืน ๕ วัน ... ตลอด ๖ คืน ๖ วัน ... แม้ถ้าพระผู้มีพระภาคจะพึงตรัสถามความข้อนั้นกับผมด้วยบทอื่นๆ ด้วย ปริยายอื่นๆ ตลอด ๗ คืน ๗ วัน แม้ผมก็พึงทูลตอบความข้อนั้นถวายพระผู้มี พระภาคได้ด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอด ๗ คืน ๗ วัน” “ภิกษุ ก็เพราะธัมมธาตุอันสารีบุตรแทงตลอดดีแล้ว แม้จะถามความข้อนั้น กับสารีบุตรด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดทั้งวัน สารีบุตรก็คงตอบความ ข้อนั้นแก่เราด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอดทั้งวัน แม้ถ้าเราจะถามความข้อนั้นกับสารีบุตรด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอด ทั้งคืน สารีบุตรก็คงตอบความข้อนั้น ตลอดทั้งคืน ฯลฯ แม้ถ้าเราจะถามความข้อนั้นกับสารีบุตร ตลอดทั้งคืนทั้งวัน ... สารีบุตรก็คง ตอบความข้อนั้นแก่เราได้ตลอดทั้งคืนทั้งวัน ... แม้ถ้าเราจะถามความข้อนั้นกับสารีบุตร ตลอด ๒ คืน ๒ วัน ... สารีบุตรก็คง ตอบความข้อนั้นแก่เราได้ ตลอด ๒ คืน ๒ วัน ... แม้ถ้าเราจะถามความข้อนั้นกับสารีบุตรตลอด ๓ คืน ๓ วัน ... สารีบุตรก็คง ตอบความข้อนั้นแก่เราได้ ตลอด ๓ คืน ๓ วัน ... แม้ถ้าเราจะถามความข้อนั้นกับสารีบุตร ตลอด ๔ คืน ๔ วัน ... สารีบุตรก็คง ตอบความข้อนั้นแก่เราได้ ตลอด ๔ คืน ๔ วัน ... แม้ถ้าเราจะถามความข้อนั้นกับสารีบุตร ตลอด ๕ คืน ๕ วัน ... สารีบุตรก็คง ตอบความข้อนั้นแก่เราได้ ตลอด ๕ คืน ๕ วัน ... แม้ถ้าเราจะถามความข้อนั้นกับสารีบุตร ตลอด ๖ คืน ๖ วัน ... สารีบุตรก็คง ตอบความข้อนั้นแก่เราได้ ตลอด ๖ คืน ๖ วัน ... แม้ถ้าเราจะถามความข้อนั้นกับสารีบุตรด้วยบทอื่นๆ ด้วยปริยายอื่นๆ ตลอด ๗ คืน ๗ วัน สารีบุตรก็คงตอบความข้อนั้นแก่เราได้ด้วยบทอื่นๆ ด้วย ปริยายอื่นๆ ตลอด ๗ คืน ๗ วัน”
กฬารสูตรที่ ๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๖๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๖๒-๖๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=16&siri=28              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=1263&Z=1439                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=104              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=16&item=104&items=14              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=1561              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=16&item=104&items=14              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=1561                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i098-e.php#sutta2 https://suttacentral.net/sn12.32/en/sujato https://suttacentral.net/sn12.32/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :