ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๙. วาสิชฏสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยด้ามมีด
[๑๐๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะของ บุคคลผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะของบุคคลผู้ไม่รู้ ไม่เห็น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๙๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๙. วาสิชฏิสูตร

เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างไร ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี คือ เมื่อบุคคลรู้ เห็นอยู่ว่า ‘รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้ ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ... สัญญาเป็นดังนี้ ... สังขารเป็นดังนี้ ... วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็น ดังนี้’ เมื่อบุคคลรู้ เห็นอย่างนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะจึงมี ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่ประกอบภาวนาอยู่เนืองๆ ถึงจะมีความ ปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ จิตของเราจึงจะหลุดพ้นจากอาสวะเพราะ ไม่ถือมั่น’ ก็จริง ถึงอย่างนั้น จิตของเธอก็ไม่หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่นได้ เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร ข้อนั้นพึงกล่าวได้ว่า ‘เพราะเธอไม่ได้เจริญ’ เพราะเธอไม่ได้เจริญอะไร คือ เพราะเธอไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ ไม่ได้เจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการ ไม่ได้เจริญอิทธิบาท ๔ ประการ ไม่ได้เจริญอินทรีย์ ๕ ประการ ไม่ได้เจริญพละ ๕ ประการ ไม่ได้เจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ไม่ได้เจริญอริยมรรค มีองค์ ๘ ไข่ไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ไข่เหล่านั้น แม่ไก่ไม่ทับ ไม่กก ไม่ฟักให้ดี แม่ไก่นั้นถึงจะมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ ลูกของเรา จึงจะทำลายกระเปาะไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปากออกมาโดยความ สวัสดี’ ก็จริง ถึงอย่างนั้น ลูกไก่เหล่านั้นก็ไม่สามารถทำลายกระเปาะไข่ด้วยปลาย เล็บเท้าหรือด้วยจะงอยปากออกมาโดยความสวัสดีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ ไข่ไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟองนั้น แม่ไก่ไม่ทับ ไม่กก ไม่ฟักให้ดี แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อไม่ประกอบภาวนาอยู่เนืองๆ ถึงจะมีความปรารถนา อย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ จิตของเราจึงจะหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น’ ก็จริง ถึงอย่างนั้น จิตของเธอก็ไม่หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่นได้เลย ข้อนั้นเพราะ เหตุไร ข้อนั้นพึงกล่าวได้ว่า ‘เพราะเธอไม่ได้เจริญ’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๙๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๙. วาสิชฏิสูตร

เพราะเธอไม่ได้เจริญอะไร คือ เพราะเธอไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ ไม่ได้เจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการ ไม่ได้เจริญอิทธิบาท ๔ ประการ ไม่ได้เจริญอินทรีย์ ๕ ประการ ไม่ได้ เจริญพละ ๕ ประการ ไม่ได้เจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ไม่ได้เจริญอริยมรรค มีองค์ ๘ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุประกอบภาวนาอยู่เนืองๆ ถึงจะไม่มีความ ปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ จิตของเราจึงจะหลุดพ้นจากอาสวะเพราะ ไม่ถือมั่น’ ก็จริง ถึงอย่างนั้น จิตของเธอก็หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่นได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ข้อนั้นพึงกล่าวได้ว่า ‘เพราะเธอได้เจริญ’ เพราะเธอได้เจริญอะไร คือ เพราะเธอได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ ได้เจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการ ได้เจริญอิทธิบาท ๔ ประการ ได้เจริญอินทรีย์ ๕ ประการ ได้เจริญ พละ ๕ ประการ ได้เจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ได้เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ไข่ไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ไข่เหล่านั้น แม่ไก่ทับ กก ฟักไว้ดี แม่ไก่นั้นถึงจะไม่มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ ลูกของเราจึงจะ ทำลายกระเปาะไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปาก ออกมาโดยความสวัสดี’ ก็จริง ถึงอย่างนั้น ลูกไก่เหล่านั้นก็สามารถทำลายกระเปาะไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปาก ออกมาโดยความสวัสดีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไข่ไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟองนั้น แม่ไก่ทับ กก ฟักไว้ดีแล้ว แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันเมื่อภิกษุประกอบภาวนาอยู่เนืองๆ ถึงจะไม่มีความปรารถนา อย่างนี้ว่า ‘ทำอย่างไรหนอ จิตของเราจึงจะหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น’ ก็จริง ถึงอย่างนั้น จิตของเธอก็หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่นได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ข้อนั้นพึงกล่าวได้ว่า ‘เพราะเธอได้เจริญ’ เพราะเธอได้เจริญอะไร คือ เพราะเธอได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ ได้เจริญสัมมัปปธาน ๔ ประการ ได้เจริญอิทธิบาท ๔ ประการ ได้เจริญอินทรีย์ ๕ ประการ ได้เจริญ พละ ๕ ประการ ได้เจริญโพชฌงค์ ๗ ประการ ได้เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๙๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๑๐. อนิจจสัญญาสูตร

รอยนิ้วมือ หรือรอยนิ้วหัวแม่มือปรากฏอยู่ที่ด้ามมีดของช่างไม้หรือลูกมือ ของช่างไม้ แต่ช่างไม้หรือลูกมือของช่างไม้นั้น หารู้ไม่ว่า ‘วันนี้ ด้ามมีดของเรา สึกไปประมาณเท่านี้ เมื่อวานนี้ สึกไปประมาณเท่านี้ วันก่อนๆ สึกไปประมาณ เท่านี้’ ที่แท้เมื่อด้ามมีดสึกไปแล้ว ช่างไม้หรือลูกมือของช่างไม้นั้น ก็รู้ว่า ‘สึกไปแล้ว’ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันเมื่อประกอบภาวนาอยู่เนืองๆ หารู้ไม่ว่า ‘วันนี้ อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นไปประมาณเท่านี้ เมื่อวานนี้ สิ้นไปประมาณเท่านี้ วันก่อนๆ สิ้นไปประมาณเท่านี้’ ก็จริง ถึงอย่างนั้น เมื่ออาสวะสิ้นไปแล้ว เธอก็รู้ว่า ‘สิ้นไปแล้ว’ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรือเดินสมุทรที่ผูกด้วยเครื่องผูกคือหวายจอดอยู่ในน้ำ ตลอดฤดูฝน พอถึงฤดูหนาวเขาก็เข็นขึ้นบก เครื่องผูกเหล่านั้นต้องลมและแดด ถูกฝนตกรด ย่อมผุเปื่อยไปโดยง่าย แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อ ประกอบภาวนาอยู่เนืองๆ สังโยชน์ทั้งหลาย ก็เสื่อมสิ้นไปโดยง่ายเช่นกัน”๑-
วาสิชฏสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. อนิจจสัญญาสูตร
ว่าด้วยอนิจจสัญญา
[๑๐๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา (ความหมายรู้ว่า ไม่เที่ยง) ที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมครอบงำกามราคะ (ความติดใจใน กามคุณ) รูปราคะ (ความติดใจในรูปธรรม) ภวราคะ (ความติดใจในภพ) และอวิชชา (ความไม่รู้จริง) ทั้งปวงได้ ถอนอัสมิมานะ (ความถือตัวว่าเป็นเรา) ทั้งปวงได้ ในสารทฤดู ชาวนาเมื่อไถนาด้วยไถคันใหญ่ ย่อมไถทำลายราก (หญ้า) ที่ เกี่ยวเนื่องทุกชนิด แม้ฉันใด อนิจจสัญญาที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว ก็ฉันนั้น เหมือนกัน ย่อมครอบงำกามราคะ รูปราคะ ภวราคะ และอวิชชาทั้งปวงได้ ถอนอัสมิมานะทั้งปวงได้ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ สํ.ม. (แปล) ๑๙/๑๕๘/๘๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๙๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๙๒-๑๙๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=17&siri=101              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=3354&Z=3406                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=260              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=17&item=260&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=7893              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=17&item=260&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=7893                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i237-e.php#sutta9 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn22/sn22.101.than.html https://suttacentral.net/sn22.101/en/sujato https://suttacentral.net/sn22.101/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :