ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๒. เทวทหสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่เทวทหนิคม
[๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เทวทหนิคมของเจ้าศากยะทั้งหลาย แคว้นสักกะ ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากผู้ต้องการจะไปยังปัจฉาภูมชนบท เข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายต้องการจะไป ยังปัจฉาภูมชนบทเพื่ออยู่อาศัย” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๒. เทวทหสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายบอกลาสารีบุตร แล้วหรือ” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายยังไม่ได้บอกลาท่านพระสารีบุตร” “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงไปบอกลาสารีบุตรเสียก่อน สารีบุตรเป็นผู้ อนุเคราะห์๑- เพื่อนภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรนั่งอยู่ในมณฑปเล็กๆ ซึ่งมีตะไคร่น้ำขึ้นปกคลุม แห่งหนึ่ง ในที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นชื่นชม ยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้ว พากันเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านพระสารีบุตร พวกกระผมต้องการจะไปยังปัจฉาภูมชนบทเพื่ออยู่อาศัย พวก กระผมกราบทูลลาพระศาสดาแล้ว” ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิต๒- บ้าง พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิต๓- บ้าง คหบดีผู้เป็นบัณฑิต๔- บ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิต๕- บ้าง ผู้จะถามปัญหากับภิกษุผู้ไปยังประเทศต่างๆ มีอยู่ หากคนผู้เป็นบัณฑิตใคร่รู้๖- @เชิงอรรถ : @ เป็นผู้อนุเคราะห์ หมายถึงเป็นผู้อนุเคราะห์ด้วยอามิสและธรรม (สํ.ข.อ. ๒/๒/๒๘๒) @ กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิต หมายถึงพระราชาผู้เป็นบัณฑิตทั้งหลายมีพระเจ้าพิมพิสารและพระเจ้าโกศลเป็นต้น @(สํ.ข.อ. ๒/๒/๒๘๓) @ พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิต หมายถึงพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตทั้งหลายมีจังกีพราหมณ์และตารุกขพราหมณ์เป็นต้น @(สํ.ข.อ. ๒/๒/๒๘๒) @ คหบดีผู้เป็นบัณฑิต หมายถึงคหบดีผู้เป็นบัณฑิตทั้งหลายมีจิตตคหบดีและสุทัตตคหบดี(อนาถบิณฑิกเศรษฐี) @เป็นต้น (สํ.ข.อ. ๒/๒/๒๘๒) @ สมณะผู้เป็นบัณฑิต หมายถึงปริพาชกผู้เป็นบัณฑิตทั้งหลายมีสภิยปริพาชกและปิโลติกปริพาชกเป็นต้น @(สํ.ข.อ. ๒/๒/๒๘๒) @ ใคร่รู้ ในที่นี้หมายถึงแสวงหาประโยชน์ สนใจธรรม (สํ.ข.อ. ๒/๒/๒๘๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๒. เทวทหสูตร

ถามว่า ‘พระศาสดาของพวกท่านมีวาทะอย่างไร ตรัสสอนอย่างไร’ ธรรมทั้งหลาย อันพวกท่านได้ฟังดี เรียนดี ใส่ใจดี ทรงจำดี รู้แจ้งดีแล้วด้วยปัญญาบ้างหรือ’ พวกท่านเมื่อกล่าวอย่างไร จึงจะชื่อว่าเป็นผู้พูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผล ไม่มี คำกล่าวเช่นนั้นและการคล้อยตามที่จะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้” “ท่านขอรับ แม้พวกกระผมมาจากที่ไกลก็เพื่อจะรู้เนื้อความแห่งพระภาษิต นั้นในสำนักท่านสารีบุตร ขอโอกาส เฉพาะท่านสารีบุตรเท่านั้นที่จะอธิบายเนื้อ ความแห่งพระภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้ง” “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี ผมจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า “ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง คหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิตบ้าง ผู้จะถามปัญหากับภิกษุผู้ไปยัง ประเทศต่างๆ มีอยู่ หากคนผู้เป็นบัณฑิตใคร่รู้ถามว่า ‘พระศาสดาของพวกท่าน มีวาทะอย่างไร ตรัสสอนอย่างไร’ ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘พระศาสดาของเรามีปกติตรัส สอนให้กำจัดฉันทราคะ๑-’ แม้เมื่อท่านทั้งหลายได้ตอบไปอย่างนี้ ก็จะพึงมีกษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง คหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิตบ้าง ถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไป หากคนผู้เป็นบัณฑิตใคร่รู้ถามว่า ‘ก็พระศาสดาของพวกท่าน มีปกติตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในสิ่งไรเล่า’ ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘พระศาสดามีปกติตรัสสอนให้ กำจัดฉันทราคะในรูป ... ในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร พระศาสดา มีปกติตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในวิญญาณ’ @เชิงอรรถ : @ ฉันทราคะ หมายถึงความกำหนัดที่ไม่รุนแรง(ฉันทะ) และความกำหนัดที่รุนแรง(ราคะ) @(วิ.อ. ๓/๓๒๙/๕๗๒, ขุ.ม.อ. ๑/๘/๑๐๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๒. เทวทหสูตร

แม้เมื่อท่านทั้งหลายได้ตอบไปอย่างนี้ ก็จะพึงมีกษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง คหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิตบ้าง ถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไป หากคนผู้เป็นบัณฑิตใคร่รู้ถามว่า ‘ก็พระศาสดาของพวก ท่านทรงเห็นโทษอะไรจึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป ... ในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร จึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในวิญญาณ’ ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลยังไม่ปราศจาก ความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความ กระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะยานอยากในรูป เพราะ รูปนั้นแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้น เมื่อบุคคลยังไม่ปราศจากความกำหนัด ... ในเวทนา ... เมื่อบุคคลยังไม่ปราศจากความกำหนัด ... ในสัญญา ... เมื่อบุคคลยังไม่ปราศจากความกำหนัด ฯลฯ ไม่ปราศจากความทะยาน อยากในสังขาร เพราะสังขารเหล่านั้นแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้น เมื่อบุคคลยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจาก ความรัก ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจาก ความทะยานอยากในวิญญาณ เพราะวิญญาณนั้นแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้น พระศาสดาของพวกเรา ทรงเห็นโทษนี้แลจึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป ... ในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร จึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในวิญญาณ’ แม้เมื่อท่านทั้งหลายได้ตอบไปอย่างนี้ ก็จะพึงมีกษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง คหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิตบ้าง ถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไป หากคนผู้เป็นบัณฑิตใคร่รู้ถามว่า ‘ก็พระศาสดาของพวกท่าน ทรงเห็นอานิสงส์อะไรจึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป ... ในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร จึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในวิญญาณ’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๓. หลิททิกานิสูตร

ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ พึงตอบอย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลปราศจากความ กำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะยานอยากในรูป เพราะรูปนั้นแปรผัน และเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น เมื่อบุคคลปราศจากความกำหนัด ... ในเวทนา ... เมื่อบุคคลปราศจากความกำหนัด ... ในสัญญา ... เมื่อบุคคลปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะยานอยากใน สังขาร เพราะสังขารเหล่านั้นแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น เมื่อบุคคลปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะยานอยากใน วิญญาณ เพราะวิญญาณนั้นแปรผันและเป็นอย่างอื่น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น พระศาสดาของพวกเราทรงเห็นอานิสงส์นี้แลจึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะ ในรูป ... ในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร จึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะ ในวิญญาณ’ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเข้าถึงอกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ จักมีการอยู่ เป็นสุข ไม่ลำบาก ไม่คับแค้น ไม่เดือดร้อนในปัจจุบันนี้ และหลังจากตายแล้วพึง หวังได้๑- สุคติ พระผู้มีพระภาคก็จะไม่ทรงสรรเสริญการละอกุศลธรรมทั้งหลายไว้ แต่เมื่อบุคคลเข้าถึงอกุศลธรรมทั้งหลายอยู่จึงมีการอยู่เป็นทุกข์ ลำบาก คับแค้นใจ เดือดร้อน ในปัจจุบันนี้ทีเดียว และหลังจากตายแล้วพึงหวังได้ทุคติ ฉะนั้น พระผู้มี พระภาคจึงทรงสรรเสริญการละอกุศลธรรมทั้งหลายไว้ @เชิงอรรถ : @ พึงหวังได้ (ปาฏิกงฺขา) ในที่นี้หมายถึงจำต้องปรารถนา จำต้องมีแน่นอนหรือจำต้องเกิดในคตินั้นแน่นอน @(องฺ.ติก.อ. ๒/๗๐/๒๑๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มูลปัณณาสก์ ๑. นกุลปิตุวรรค ๓. หลิททิกานิสูตร

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเข้าถึงกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ก็จักมีการอยู่ เป็นทุกข์ เดือดร้อน๑- คับแค้นใจ เร่าร้อน๒- ในปัจจุบันทีเดียว และหลังจากตาย แล้วพึงหวังได้ทุคติ พระผู้มีพระภาคก็จะไม่ทรงสรรเสริญความถึงพร้อมกุศลธรรม ทั้งหลายไว้ แต่เมื่อบุคคลเข้าถึงกุศลธรรมทั้งหลาย จึงมีการอยู่เป็นสุข ไม่เดือดร้อน ไม่คับแค้นใจ ไม่เร่าร้อนในปัจจุบันนี้ทีเดียว และหลังจากตายแล้วพึงหวังได้สุคติ ฉะนั้น พระผู้พระภาคจึงทรงสรรเสริญความถึงพร้อมกุศลธรรมทั้งหลายไว้” ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดี ต่างชื่นชม ภาษิตของท่านพระสารีบุตร
เทวทหสูตรที่ ๒ จบ
๓. หลิททิกานิสูตร
ว่าด้วยหลิททิกานิคหบดี
[๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ ณ ภูเขาที่มีหน้าผาสูงชัน เขตเมืองกุรรฆระ แคว้นอวันตี ครั้งนั้น คหบดีชื่อหลิททิกานิเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระมหากัจจานะดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้ในมาคัณฑิยปัญหาอันมาในอัฏฐกวรรคว่า ‘บุคคลละที่อยู่๓- แล้ว ไม่เที่ยวซ่านไปหาที่อาศัย๔- มุนีไม่ทำความเยื่อใยในบ้าน ว่างจากกามทั้งหลาย ไม่มุ่งหวังอัตภาพต่อไป ไม่พึงกล่าวถ้อยคำขัดแย้งกัน’๕- ข้าแต่ท่านมหากัจจานะผู้เจริญ เนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาค ตรัสไว้โดยย่อนี้ พึงทราบโดยพิสดารอย่างไร” @เชิงอรรถ : @ เดือดร้อน ในที่นี้หมายถึงมีอุปสรรค มีอันตราย(อุปัททวะ) (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๗๕/๑๕๓) @ เร่าร้อน ในที่นี้หมายถึงเร่าร้อนทางกายและใจ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๗๕/๑๕๓) @ ที่อยู่ หมายถึงขันธ์ ๕ (คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) (สํ.ข.อ. ๒/๓/๒๘๕-๒๘๖) @ ที่อาศัย หมายถึงอารมณ์ ๖ (คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์) (สํ.ข.อ. ๒/๓/๒๘๕-๒๘๖) @ ขุ.สุ. ๒๕/๘๕๑/๕๐๐ และดูเทียบ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๗๙/๒๓๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๖-๑๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=17&siri=2              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=106&Z=180                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=6              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=17&item=6&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=6204              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=17&item=6&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=6204                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i001-e.php#sutta2 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn22/sn22.002.than.html https://suttacentral.net/sn22.2/en/sujato https://suttacentral.net/sn22.2/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :