ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๔. โคมยปิณฑสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยก้อนโคมัย
[๙๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยงเสมออยู่อย่างนั้น มีอยู่หรือ เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยงเสมอ อยู่อย่างนั้น มีอยู่หรือ สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยงเสมอ อยู่อย่างนั้น มีอยู่หรือ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยง เสมออยู่อย่างนั้น มีอยู่หรือ” @เชิงอรรถ : @ บทอันไม่จุติ ในที่นี้หมายถึงพระนิพพาน (สํ.ข.อ. ๒/๙๕/๓๕๓) @ สังโยชน์ หมายถึง กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์กับทุกข์ มี ๑๐ ประการ คือ (๑) สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่า @เป็นตัวของตน (๒) วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย (๓) สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต (๔) กามราคะ @ความติดใจในกามคุณ (๕) ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ หรือพยาบาท ความคิดร้าย (๖) รูปราคะ @ความติดใจในรูปธรรม (๗) อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม (๘) มานะ ความถือตัว (๙) อุทธัจจะ @ความฟุ้งซ่าน (๑๐) อวิชชา ความไม่รู้จริง (สํ.สฬา.อ. ๓/๕๓-๖๒/๑๔, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๓/๒๑, @อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๔๐/๕๙๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๘๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๔. โคมยปิณฑสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยงเสมออยู่อย่างนั้น ไม่มีเลย เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ... วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยง เสมออยู่อย่างนั้น ไม่มีเลย” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหยิบก้อนโคมัย (มูลโค) เล็กๆ ขึ้นมาแล้ว ตรัสว่า “ภิกษุ การได้อัตภาพแม้ประมาณเท่านี้ที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ ผันแปร เที่ยงเสมออยู่อย่างนั้น ไม่มี ถ้าแม้การได้อัตภาพประมาณเท่านี้ จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปรแล้วไซร้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้น ทุกข์โดยชอบนี้ ก็จะไม่พึงปรากฏ แต่เพราะการได้อัตภาพแม้ประมาณเท่านี้ที่จัก เที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร ไม่มี ฉะนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบจึงปรากฏ ภิกษุ เรื่องเคยมีมาแล้ว เราได้เป็นพระราชามหากษัตริย์ผู้ได้รับมูรธาภิเษก มีเมือง ๘๔,๐๐๐ เมือง ซึ่งมีกุสาวดีราชธานีเป็นเมืองหลวง มีปราสาท ๘๔,๐๐๐ องค์ ซึ่งมีธรรมปราสาทเป็นปราสาทหลวง มีเรือนยอด ๘๔,๐๐๐ หลัง ซึ่งมีเรือนยอดมหาพยูหะเป็นเรือนยอดหลวง มีบัลลังก์ ๘๔,๐๐๐ บัลลังก์ ทำด้วยงา ทำด้วยแก่นจันทน์แดง ประดับ ด้วยทองและเงิน ลาดด้วยผ้าโกเชาว์ ลาดด้วยผ้ากำพลขาว ลาดด้วยเครื่องลาด ทำด้วยขนแกะ มีเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด มีเพดานสีแดง มีหมอน สีแดงทั้ง ๒ ข้าง มีช้างต้น ๘๔,๐๐๐ ช้าง ซึ่งมีเครื่องประดับทำด้วยทอง มีธงทำด้วยทอง คลุมด้วยข่ายทอง มีพญาช้างอุโบสถเป็นหัวหน้า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๘๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๔. โคมยปิณฑสูตร

มีม้าต้น ๘๔,๐๐๐ ม้า ซึ่งมีเครื่องประดับทำด้วยทอง คลุมด้วยข่ายทอง มีม้าวลาหกอัศวราชเป็นหัวหน้า มีรถทรง ๘๔,๐๐๐ คัน มีเครื่องประดับทำด้วยทอง มีธงทำด้วยทอง คลุม ด้วยข่ายทอง มีเวชยันตราชรถเป็นประธาน มีแก้ว ๘๔,๐๐๐ ดวง มีแก้วมณีเป็นประธาน มีพระสนม ๘๔,๐๐๐ นาง มีพระนางสุภัททาเทวีเป็นหัวหน้า มีกษัตริย์ ๘๔,๐๐๐ พระองค์ตามเสด็จ มีขุนพลแก้วเป็นประมุข มีแม่โคนม ๘๔,๐๐๐ ตัว ผูกด้วยเชือกป่าน แขวนกระดิ่งสำริด มีผ้า ๘๔,๐๐๐ โกฏิ คือผ้าเปลือกไม้เนื้อละเอียด ผ้าไหมเนื้อละเอียด ผ้าขนสัตว์เนื้อละเอียด ผ้าฝ้ายเนื้อละเอียด มีภาชนะทอง ๘๔,๐๐๐ สำรับ ซึ่งชนทั้งหลายใส่อาหารนำมาทั้งในเวลาเย็น และในเวลาเช้า ภิกษุ ก็บรรดาเมือง ๘๔,๐๐๐ เมืองนั้น เมืองที่เราครองในสมัยนั้นมีเมือง เดียวเท่านั้น คือกุสาวดีราชธานี บรรดาปราสาท ๘๔,๐๐๐ องค์นั้น ปราสาทที่เราครองในสมัยนั้นมีหลัง เดียวเท่านั้น คือธรรมปราสาท บรรดาเรือนยอด ๘๔,๐๐๐ หลังนั้น เรือนยอดที่เราครองในสมัยนั้นมีหลัง เดียวเท่านั้น คือเรือนยอดมหาพยูหะ บรรดาบัลลังก์ ๘๔,๐๐๐ บัลลังก์นั้น บัลลังก์ที่เรานั่งในสมัยนั้นมีบัลลังก์ เดียวเท่านั้น คือบัลลังก์ที่ทำด้วยงา ทำด้วยแก่นจันทน์แดง ทำด้วยทอง ทำด้วยเงิน บรรดาช้างต้น ๘๔,๐๐๐ ช้างนั้น ช้างที่เราทรงในสมัยนั้นมีช้างเดียวเท่านั้น คือพญาช้างอุโบสถ บรรดาม้าต้น ๘๔,๐๐๐ ม้านั้น ม้าที่เราทรงในสมัยนั้นมีม้าเดียวเท่านั้น คือม้าวลาหกอัศวราช {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๘๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. ปุปผวรรค ๕. นขสิขาสูตร

บรรดาราชรถ ๘๔,๐๐๐ คันนั้น ราชรถที่เราทรงในสมัยนั้นมีคันเดียวเท่านั้น คือเวชยันตราชรถ บรรดาพระสนม ๘๔,๐๐๐ นางนั้น พระสนมที่เรายกย่องในสมัยนั้นมีนาง เดียวเท่านั้น คือนางขัตติยานีหรือนางเวลามิกา๑- บรรดาผ้า ๘๔,๐๐๐ โกฏินั้น ผ้าที่เราทรงในสมัยนั้นมีคู่เดียวเท่านั้น คือ ผ้าเปลือกไม้เนื้อละเอียด ผ้าไหมเนื้อละเอียด ผ้าขนสัตว์เนื้อละเอียด หรือผ้าฝ้าย เนื้อละเอียด บรรดาภาชนะทอง ๘๔,๐๐๐ สำรับนั้น ภาชนะทองซึ่งใส่ข้าวสุกที่หุงจาก ข้าวสาร ๑ ทะนานเป็นอย่างมากและแกงกับอันพอเหมาะแก่ข้าวนั้นที่เราบริโภคมี สำรับเดียวเท่านั้น ภิกษุ สังขารทั้งปวงนั้น ล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว ด้วยประการดังนี้ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงอย่างนี้ สังขารทั้งหลายไม่ยั่งยืนอย่างนี้ สังขารทั้งหลายไม่ น่าเบาใจอย่างนี้ ก็สังขารทั้งปวงมีลักษณะที่ไม่เที่ยงอย่างนี้ ควรทีเดียวที่จะ เบื่อหน่าย คลายกำหนัด พ้นไปจากสังขารทั้งปวง”
โคมยปิณฑสูตรที่ ๔ จบ
๕. นขสิขาสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยฝุ่นที่ปลายเล็บ
[๙๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยงเสมอ อยู่อย่างนั้น มีอยู่หรือ เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งที่จักเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงทน ไม่ผันแปร เที่ยงเสมอ อยู่อย่างนั้น มีอยู่หรือ @เชิงอรรถ : @ นางเวลามิกา หมายถึงหญิงที่ถือกำเนิดจากกษัตริย์กับนางพราหมณ์ หรือถือกำเนิดจากพราหมณ์กับ @นางกษัตริย์ (สํ.ข.อ. ๒/๙๖-๙๘/๓๕๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๘๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๘๓-๑๘๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=17&siri=96              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=3192&Z=3242                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=248              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=17&item=248&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=7805              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=17&item=248&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=7805                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu17              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/17i237-e.php#sutta4 https://suttacentral.net/sn22.96/en/sujato https://suttacentral.net/sn22.96/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :