ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
๓. กุมโมปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยเต่า
[๒๔๐] “ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีเต่าตัวหนึ่ง เวลาเย็นเที่ยว หากินที่ริมฝั่งแม่น้ำ แม้สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งเวลานั้นก็เที่ยวหากินอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำ เต่าเห็นสุนัขจิ้งจอกเที่ยวหากินแต่ไกล ก็หดหัวและขาเข้ากระดองของตน ไม่เคลื่อน ไหว นิ่งอยู่ ฝ่ายสุนัขจิ้งจอกก็เห็นเต่าเที่ยวหากินแต่ไกลเหมือนกัน จึงเข้าไปหา เต่าแล้วยืนอยู่ใกล้ด้วยคิดว่า ‘เมื่อใดเต่านี้โผล่หัวและขาส่วนใดส่วนหนึ่งออกมา เมื่อนั้นเราจักงับมันฟาดแล้วกินเสีย ในที่นั้น’ เมื่อใดเต่าไม่โผล่หัวและขาส่วนใด ส่วนหนึ่งออกมา เมื่อนั้นสุนัขจิ้งจอกก็เบื่อหน่าย ไม่ได้โอกาส เดินจากเต่าไป ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้มารผู้มีบาปเข้าใกล้เธอทั้งหลายสม่ำเสมอด้วย คิดว่า ‘บางทีเราจะพึงได้โอกาสทางตา ฯลฯ ทางลิ้น ฯลฯ หรือทางใจของภิกษุ เหล่านี้’ เพราะฉะนั้นเธอทั้งหลายจงคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอยู่เถิด เห็น รูปทางตาแล้วอย่ารวบถือ อย่าแยกถือ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ซึ่งเมื่อไม่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๔๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๔. ปฐมทารุกขันโธปมสูตร

สำรวมแล้วก็จะพึงเป็นเหตุให้ถูกธรรมที่เป็นบาปอกุศลคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว อย่ารวบถือ อย่าแยกถือ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะ พึงเป็นเหตุให้ถูกธรรมที่เป็นบาปอกุศลคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษา มนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดเธอทั้งหลายจักคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอยู่ เมื่อนั้น แม้มารผู้มีบาปก็จะเบื่อหน่าย ไม่ได้โอกาส หลีกจากเธอทั้งหลายไป เหมือนสุนัขจิ้งจอกเดินจากเต่าไปฉะนั้น ภิกษุผู้มีใจตั้งมั่นในมโนวิตก ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ดับกิเลสแล้ว ไม่ว่าร้ายใครๆ เหมือนเต่าหดหัวและขาไว้ในกระดองของตนฉะนั้น”
กุมโมปมสูตรที่ ๓ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๔๑-๒๔๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=18&siri=186              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=4881&Z=4907                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=320              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=320&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=1876              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=320&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=1876                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i309-e.php#sutta3 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn35/sn35.199.than.html https://suttacentral.net/sn35.240/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :