ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
๘. กิงสุโกปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยต้นทองกวาว
[๒๔๕] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหาภิกษุอีกรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถาม ภิกษุรูปนั้นดังนี้ว่า “ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงมีทัศนะ๑- หมดจดดี” ภิกษุรูปนั้นตอบว่า “ผู้มีอายุ เพราะภิกษุรู้ชัดถึงความเกิดและความดับแห่ง ผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงมีทัศนะ หมดจดดี” ขณะนั้น ท่านไม่พอใจการตอบปัญหาของภิกษุรูปนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุอีกรูป หนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามภิกษุรูปนั้นดังนี้ว่า “ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงมีทัศนะหมดจดดี” ภิกษุรูปนั้นตอบว่า “ผู้มีอายุ เพราะภิกษุรู้ชัดถึงความเกิดและความดับแห่ง อุปาทานขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงมีทัศนะ หมดจดดี” @เชิงอรรถ : @ ทัศนะ ในที่นี้เป็นชื่อของปฐมมรรค (โสดาปัตติมรรค) (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๔๕/๑๑๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๕๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๘. กิงสุโกปมสูตร

ต่อมา ท่านไม่พอใจการตอบปัญหาของภิกษุรูปนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุอีกรูป หนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามภิกษุรูปนั้นว่า “ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุ จึงมีทัศนะหมดจดดี” ภิกษุนั้นตอบว่า “ผู้มีอายุ เพราะภิกษุรู้ชัดถึงความเกิดและความดับแห่ง มหาภูตรูป ๔ ตามความเป็นจริง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงมีทัศนะหมดจดดี” ต่อมา ท่านไม่พอใจการตอบปัญหาของภิกษุรูปนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุอีกรูป หนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามภิกษุรูปนั้นว่า “ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุ จึงมีทัศนะหมดจดดี” ภิกษุรูปนั้นตอบว่า “ผู้มีอายุ เพราะภิกษุรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘สิ่งใด สิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา’ ด้วย เหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงมีทัศนะหมดจดดี” ต่อมา ท่านไม่พอใจการตอบปัญหาของภิกษุรูปนั้น จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ ภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์เข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ถึงที่อยู่ แล้วได้ถามภิกษุรูปนั้นว่า ‘ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงมี ทัศนะหมดจดดี’ เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปนั้นได้ตอบข้าพระองค์ดังนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ เพราะภิกษุรู้ชัดถึงความเกิดและความดับแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการตามความ เป็นจริง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงมีทัศนะหมดจดดี’ ขณะนั้น ข้าพระองค์ไม่พอใจการตอบปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุ อีกรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามภิกษุรูปนั้นว่า ‘ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงมีทัศนะหมดจดดี’ เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปนั้นได้ตอบข้าพระองค์ว่า ‘ผู้มีอายุ เพราะภิกษุรู้ชัดถึงความเกิดและความดับแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ฯลฯ แห่งมหาภูต- {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๕๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๘. กิงสุโกปมสูตร

รูป ๔ ตามความเป็นจริง ฯลฯ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความ เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา’ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงมีทัศนะหมดจดดี’ ต่อมา ข้าพระองค์ไม่พอใจการตอบปัญหาของภิกษุรูปนั้น จึงเข้ามาเฝ้า พระองค์ถึงที่ประทับ ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุ จึงมีทัศนะหมดจดดี” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ เปรียบเหมือนบุรุษไม่เคยเห็นต้นทองกวาว เลย เขาเข้าไปหาบุรุษคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่ แล้วถามบุรุษนั้น อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร’ บุรุษนั้นพึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ต้นทองกวาวดำเหมือนตอที่ถูกไฟไหม้’ เวลานั้นต้นทองกวาวเป็นดังที่เขาเห็น ขณะนั้นเขาไม่พอใจการตอบปัญหา ของบุรุษนั้น จึงเข้าไปหาบุรุษอีกคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่ แล้วถาม บุรุษนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร’ บุรุษนั้นพึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ต้นทองกวาวแดงเหมือนชิ้นเนื้อ’ เวลานั้นต้นทองกวาวเป็นดังที่เขาเห็น ต่อมาเขาไม่พอใจการตอบปัญหาของ บุรุษนั้น จึงเข้าไปหาบุรุษอีกคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่ แล้วถามบุรุษ นั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร’ บุรุษนั้นพึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ต้นทองกวาวที่เกิดนานมีฝักเหมือน ต้นซึก’ เวลานั้นต้นทองกวาวเป็นดังที่เขาเห็น ต่อมา เขาไม่พอใจการตอบปัญหาของ บุรุษนั้น จึงเข้าไปหาบุรุษอีกคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่ แล้วถามบุรุษ นั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร’ บุรุษนั้นพึงตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ต้นทองกวาวมีใบแก่และใบอ่อนหนา แน่น มีร่มทึบเหมือนต้นไทร’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๕๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๘. กิงสุโกปมสูตร

เวลานั้นต้นทองกวาวเป็นดังที่เขาเห็นแม้ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน การ เห็นของสัตบุรุษเหล่านั้นผู้เชื่อแล้วเป็นอันถูกต้องโดยประการใดๆ สัตบุรุษเหล่านั้น ก็ได้ตอบโดยประการนั้นๆ ภิกษุ เมืองชายแดนของพระราชา มีกำแพงและเชิงเทิน๑- มั่นคง มี ๖ ประตู นายประตูของเมืองนั้นเป็นบัณฑิต เฉียบแหลม มีปัญญา คอยห้ามคนที่ตนไม่รู้จัก อนุญาตเฉพาะคนที่ตนรู้จักให้เข้าไปในเมืองนั้น ราชทูต ๒ นายมีราชการด่วนมา จากทิศตะวันออก ถามนายประตูนั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้เจริญ เจ้าเมืองๆ นี้อยู่ที่ไหน’ นายประตูนั้นตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ นั่นเจ้าเมืองนั่งอยู่ที่ทางสี่แยก กลางเมือง’ ลำดับนั้น ราชทูต ๒ นายผู้มีราชการด่วนได้มอบถวายพระราชสาส์นตามความ เป็นจริงแก่เจ้าเมืองแล้วกลับไปตามทางที่ตนมา ราชทูตอีก ๒ นายผู้มีราชการด่วน มาจากทิศตะวันตก ฯลฯ มาจากทิศเหนือ ... มาจากทิศใต้ แล้วถาม นายประตูนั้นอย่างนี้ว่า ‘ผู้เจริญ เจ้าเมืองๆ นี้อยู่ที่ไหน’ นายประตูนั้นตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ นั่นเจ้าเมืองนั่งอยู่ที่ทางสี่แยก กลางเมือง’ ลำดับนั้น ราชทูต ๒ นายผู้มีราชการด่วนนั้นได้มอบถวายพระราชสาส์นตาม ความเป็นจริงแก่เจ้าเมืองแล้ว ก็กลับไปตามทางที่ตนมา แม้ฉันใด อุปไมยนี้ก็ฉันนั้น เรายกมาก็เพื่อให้เข้าใจเนื้อความชัดเจน ในอุปไมยนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้ คำว่า เมือง นี้เป็นชื่อของกายนี้ซึ่งประกอบขึ้นจากมหาภูตรูป ๔ เกิดจาก มารดาบิดา เจริญวัยเพราะข้าวสุกและขนมกุมมาส ไม่เที่ยงแท้ ต้องอบ ต้องนวดเฟ้น มีอันแตกกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา @เชิงอรรถ : @ เชิงเทิน คือที่ที่ทำไว้เพื่อประดับเมืองหรือเพื่อป้องกันโจร สูงประมาณ ๑ ช่วงตัวบุรุษ หรือหมายถึง @บานประตูก็ได้ (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๔๕/๑๒๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๕๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๙. วีโณปมสูตร

คำว่า มี ๖ ประตู นี้เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖ ประการ คำว่า นายประตู นี้เป็นชื่อของสติ คำว่า ราชทูต ๒ นายผู้มีราชการด่วน นี้เป็นชื่อของสมถะและวิปัสสนา คำว่า เจ้าเมือง นี้เป็นชื่อของวิญญาณ คำว่า ทางสี่แยกกลางเมือง นี้เป็นชื่อของมหาภูตรูปทั้ง ๔ คือ ๑. ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) ๒. อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) ๓. เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ๔. วาโยธาตุ (ธาตุลม) คำว่า พระราชสาส์นตามความเป็นจริง นี้เป็นชื่อของนิพพาน คำว่า ทางตามที่ตนมา นี้เป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)”
กิงสุโกปมสูตรที่ ๘ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๕๕-๒๕๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=18&siri=191              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=5189&Z=5274                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=339              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=339&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=2508              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=339&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=2508                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i309-e.php#sutta8 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn35/sn35.204.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn35/sn35.204.wlsh.html https://suttacentral.net/sn35.245/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.245/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :