ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๒. ทุติยปัณณาสก์ ๑. อวิชชาวรรค ๘. สัพพุปาทานปริญญาสูตร

๘. สัพพุปาทานปริญญาสูตร
ว่าด้วยธรรมเพื่อกำหนดรู้อุปาทานทั้งปวง
[๖๐] “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อกำหนดรู้อุปาทานทั้งปวง๑- แก่เธอ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ธรรมเพื่อกำหนดรู้อุปาทานทั้งปวง เป็นอย่างไร คือ เพราะอาศัยจักขุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด อริยสาวกผู้ได้สดับเห็น อยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา เมื่อ เบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เพราะหลุดพ้น จึงรู้ชัดว่า ‘เรากำหนดรู้อุปาทานได้แล้ว’ เพราะอาศัยโสตะและสัททะ โสตวิญญาณจึงเกิด ฯลฯ เพราะอาศัยฆานะและคันธะ ฯลฯ เพราะอาศัยชิวหาและรส ฯลฯ เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ฯลฯ เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ มโนวิญญาณจึงเกิด ความประจวบแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงเกิด อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ ย่อม เบื่อหน่ายแม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ ในเวทนา เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เพราะหลุดพ้นจึงรู้ชัดว่า ‘เรากำหนดรู้อุปาทานได้แล้ว’ ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเพื่อกำหนดรู้อุปาทานทั้งปวงเป็นอย่างนี้แล”
สัพพุปาทานปริญญาสูตรที่ ๘ จบ
@เชิงอรรถ : @ เพื่อกำหนดรู้อุปาทานทั้งปวง หมายถึงเพื่อรู้ชัดอุปาทานทั้ง ๔ (กามุปาทาน ความยึดมั่นในกาม, @ทิฏฐุปาทาน ความยึดมั่นในทิฏฐิ, สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นในศีลพรต และอัตตวาทุปาทาน @ความยึดมั่นในวาทะว่าอัตตา) ด้วยปริญญา ๓ (ญาตปริญญา กำหนดรู้ขั้นรู้จัก, ตีรณปริญญา @กำหนดรู้ขั้นพิจารณา, ปหานปริญญา กำหนดรู้ขั้นละ) (สํ.สฬา.อ. ๓/๕๓-๖๒/๑๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๔๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=18&siri=40              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=694&Z=710                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=63              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=63&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=63&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i056-e.php#sutta8 http://www.buddha-vacana.org/sutta/samyutta/salayatana/sn35-060.html https://suttacentral.net/sn35.60/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.60/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :