ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๒. ทุติยมิคชาลสูตร

๒. ทุติยมิคชาลสูตร
ว่าด้วยพระมิคชาละ สูตรที่ ๒
[๖๔] ครั้งนั้น ท่านพระมิคชาละเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่ง ข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท๑- มีความเพียร อุทิศ กายและใจอยู่เถิด” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มิคชาละ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูปนั้น ความเพลิดเพลิน ย่อมเกิดขึ้น เรากล่าวว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินเกิด ทุกข์จึงเกิด’ ฯลฯ รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้นมีอยู่ ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น อยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น ความเพลิดเพลินย่อม เกิดขึ้น เรากล่าวว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินเกิด ทุกข์จึงเกิด’ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อ เธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้น ความเพลิดเพลินย่อมดับไป เรากล่าวว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินดับ ทุกข์จึงดับ’ ฯลฯ รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ... มีอยู่ ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดธรรมารมณ์ นั้นอยู่ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดธรรมารมณ์นั้น ความ เพลิดเพลินย่อมดับไป เรากล่าวว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินดับ ทุกข์จึงดับ” @เชิงอรรถ : @ ไม่ประมาท หมายถึงไม่ละสติในกัมมัฏฐาน (ม.ม.อ. ๒/๘๒/๘๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๕๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๓. ปฐมสมิทธิมารปัญหาสูตร

ครั้งนั้น ท่านพระมิคชาละชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วลุกขึ้น จากอาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณ๑- แล้วจากไป ต่อมา ท่านพระมิคชาละ หลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก ได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม๒- อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์๓- ที่เหล่ากุลบุตรออก จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป” อนึ่ง ท่านพระมิคชาละได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย
ทุติยมิคชาลสูตรที่ ๒ จบ
๓. ปฐมสมิทธิมารปัญหาสูตร
ว่าด้วยพระสมิทธิทูลถามปัญหาเรื่องมาร สูตรที่ ๑
[๖๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้ เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระสมิทธิเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง ที่ประทับ ฯลฯ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ ตรัสว่า ‘มาร มาร‘๔- ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอจึงชื่อว่ามารหรือการบัญญัติว่ามาร” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “สมิทธิ จักขุ รูป จักขุวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้ แจ้งทางจักขุวิญญาณมีอยู่ในที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ในที่นั้น โสตะ สัททะ โสตวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งทางโสตวิญญาณมีอยู่ในที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ในที่นั้น @เชิงอรรถ : @ กระทำประทักษิณ หมายถึงการเดินเวียนขวา คือเดินประนมมือเวียนขวาตามเข็มนาฬิกา ๓ รอบ @(วิ.อ. ๑/๑๕/๑๗๖-๑๗๗) @ ประโยชน์ยอดเยี่ยม หมายถึงอรหัตตผลหรืออริยผลอันเป็นที่สุดแห่งมรรคพรหมจรรย์ @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๕/๗, ม.ม.อ. ๒/๘๒/๘๐) @ ที่สุดแห่งพรหมจรรย์ หมายถึงจุดสุดท้ายของการประพฤติธรรม ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผลอันเป็นจุด @หมายสูงสุดของมรรคพรหมจรรย์ (ที.สี.อ. ๑/๔๐๕/๓๐๐) @ มาร ในที่นี้หมายถึงมรณะ (สํ.สฬา.อ. ๓/๖๕-๖๗/๑๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๕๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๕๕-๕๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=18&siri=44              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=814&Z=844                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=68              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=68&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=327              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=68&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=327                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i066-e.php#sutta2 http://www.buddha-vacana.org/sutta/samyutta/salayatana/sn35-064.html https://suttacentral.net/sn35.64/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.64/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :