ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
๕. ปุณณสูตร
ว่าด้วยพระปุณณะ
[๘๘] ครั้งนั้น ท่านพระปุณณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ ประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้า พระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศ กายและใจอยู่เถิด” @เชิงอรรถ : @ นำศัสตรามา ในที่นี้หมายถึงนำศัสตรามาฆ่าตัวตาย คือตัดก้านคอ (สํ.สฬา.อ. ๓/๘๗/๒๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๘๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๕. ปุณณสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ปุณณะ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูปนั้น ความเพลิดเพลินย่อม เกิดขึ้น เรากล่าวว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินเกิด ทุกข์จึงเกิด’ ฯลฯ รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ... มีอยู่ ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชัก ให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยังเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น อยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดธรรมารมณ์นั้น ความเพลิดเพลินย่อมเกิดขึ้น เรากล่าวว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินเกิด ทุกข์จึงเกิด’ รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้นอยู่ เมื่อ เธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูปนั้น ความเพลิดเพลินย่อมดับไป เรากล่าว ว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินดับ ทุกข์จึงดับ’ ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดธรรมารมณ์ นั้นอยู่ เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดธรรมารมณ์นั้น ความ เพลิดเพลินย่อมดับ เรากล่าวว่า ‘เพราะความเพลิดเพลินดับ ทุกข์จึงดับ’ ปุณณะ เรากล่าวสอนด้วยโอวาทอย่างย่อนี้ เธอจักอยู่ในชนบทไหน” ท่านพระปุณณะกราบทูลดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักอยู่ ในชนบทชื่อว่าสุนาปรันตะ” “ปุณณะ พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเป็นคนดุร้ายนัก พวกมนุษย์ชาว สุนาปรันตชนบทเป็นคนหยาบคายนัก ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักด่า บริภาษเธอในที่นั้น เธอจักคิดอย่างไร” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักด่า บริภาษ ข้าพระองค์ในที่นั้น ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ‘มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๘๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๕. ปุณณสูตร

เหล่านี้ดีหนอ มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเหล่านี้ดีจริงหนอ ที่ไม่ประหารเราด้วย ฝ่ามือ’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้” “ปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วยฝ่ามือ ในเรื่องนี้เธอจักคิดอย่างไร” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร ข้าพระองค์ด้วยฝ่ามือ ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ‘มนุษย์ชาวสุนาปรันต- ชนบทเหล่านี้ดีหนอ มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเหล่านี้ดีจริงหนอ ที่ไม่ประหารเรา ด้วยก้อนดิน’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ ข้าแต่ พระสุคต ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้” “ปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วยก้อนดิน ในเรื่องนี้เธอจักคิดอย่างไร” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารข้าพระ องค์ด้วยก้อนดิน ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ‘มนุษย์ชาวสุนาปรันต- ชนบทเหล่านี้ดีหนอ มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเหล่านี้ดีจริงหนอ ที่ไม่ประหาร เราด้วยท่อนไม้’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ ข้าแต่ พระสุคต ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้” “ปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วยท่อนไม้ ในเรื่องนี้เธอจักคิดอย่างไร” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร ข้าพระองค์ด้วยท่อนไม้ ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ‘มนุษย์ชาวสุนาปรันต- ชนบทเหล่านี้ดีหนอ มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเหล่านี้ดีจริงหนอ ที่ไม่ประหาร เราด้วยศัสตรา’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ ข้าแต่ พระสุคต ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้” “ปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วยศัสตรา ในเรื่องนี้เธอจักคิดอย่างไร” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๘๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๕. ปุณณสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร ข้าพระองค์ด้วยศัสตรา ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ‘มนุษย์ชาวสุนาปรันต- ชนบทเหล่านี้ดีหนอ มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเหล่านี้ดีจริงหนอ ที่ไม่ปลงชีวิต ของเราด้วยศัสตราที่คม’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้” “ปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักปลงชีวิตเธอด้วยศัสตราที่คม ในเรื่องนี้เธอจักคิดอย่างไร” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักปลงชีวิต ข้าพระองค์ด้วยศัสตราที่คม ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ‘พระสาวกทั้งหลาย ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นอึดอัด ระอา รังเกียจอยู่ด้วยร่างกายและชีวิต แสวงหาศัสตราเครื่องปลงชีวิตก็มีอยู่ เราได้ศัสตราเครื่องปลงชีวิตที่ไม่ได้แสวงหา เลย’ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต ในเรื่องนี้ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้” “ดีละ ดีละ ปุณณะ เธอประกอบด้วยความข่มใจและความสงบใจ๑- นี้จักสามารถ อยู่ในสุนาปรันตชนบทได้ ปุณณะ เธอรู้เวลาอันสมควรในบัดนี้” ครั้งนั้น ท่านพระปุณณะชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วลุก ขึ้นจากอาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณ เก็บงำเสนาสนะเรียบร้อยแล้ว ถือบาตร และจีวรหลีกจาริกไปทางสุนาปรันตชนบท เมื่อจาริกไปโดยลำดับก็ถึง สุนาปรันตชนบท ได้ยินว่า ท่านพระปุณณะอยู่ที่สุนาปรันตชนบทนั้น ครั้งนั้น ระหว่างพรรษานั้นท่านให้ชาวสุนาปรันตชนบทแสดงตนเป็นอุบาสกประมาณ ๕๐๐ คน และอุบาสิกาประมาณ ๕๐๐ คน ระหว่างพรรษานั้นเหมือนกันท่านได้บรรลุ วิชชา ๓ และนิพพานแล้ว ครั้งนั้นแล ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุลบุตรชื่อ @เชิงอรรถ : @ ความข่มใจ (ทมะ) ในที่นี้หมายถึงขันติ (ความอดทน) ส่วนความสงบใจ (อุปสมะ) เป็นไวพจน์ของ @ความข่มใจ (สํ.สฬา.อ. ๓/๘๘-๘๙/๒๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๘๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๖. พาหิยสูตร

ปุณณะที่พระองค์ทรงสั่งสอนด้วยพระโอวาทอย่างย่อนั้นตายไปแล้ว เขามีคติเป็นอย่างไร มีอภิสัมปรายภพเป็นอย่างไร” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรชื่อปุณณะเป็นบัณฑิต ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งไม่เบียดเบียนเราเพราะเหตุแห่งธรรม ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรชื่อปุณณะปรินิพพานแล้ว”
ปุณณสูตรที่ ๕ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๘๔-๘๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=18&siri=68              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=1444&Z=1548                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=112              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=112&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=476              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=112&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=476                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i101-e.php#sutta5 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn35/sn35.088.than.html https://suttacentral.net/sn35.88/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.88/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :