ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๑. อทันตอคุตตสูตร

๕. ฉฬวรรค
หมวดว่าด้วยอายตนะ ๖ ประการ
๑. อทันตอคุตตสูตร
ว่าด้วยการไม่ฝึกไม่คุ้มครองอายตนะ
[๙๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้ที่บุคคล ไม่ฝึก ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมแล้ว ย่อมนำทุกข์มีประมาณยิ่งมาให้ ผัสสายตนะ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ผัสสายตนะคือจักขุที่บุคคลไม่ฝึก ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมแล้ว ย่อมนำทุกข์มีประมาณยิ่งมาให้ ฯลฯ ๔. ผัสสายตนะคือชิวหาที่บุคคลไม่ฝึก ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมแล้ว ย่อมนำทุกข์มีประมาณยิ่งมาให้ ฯลฯ ๖. ผัสสายตนะคือมโนที่บุคคลไม่ฝึก ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมแล้ว ย่อมนำทุกข์มีประมาณยิ่งมาให้ ภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้แลที่บุคคลไม่ฝึก ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมแล้วย่อมนำทุกข์มีประมาณยิ่งมาให้ ภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้ที่บุคคลฝึกดี คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมดีแล้วย่อมนำสุขมีประมาณยิ่งมาให้ ผัสสายตนะ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ผัสสายตนะคือจักขุที่บุคคลฝึกดี คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมดีแล้ว ย่อมนำสุขมีประมาณยิ่งมาให้ ฯลฯ ๔. ผัสสายตนะคือชิวหาที่บุคคลฝึกดี คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมดีแล้ว ย่อมนำสุขมีประมาณยิ่งมาให้ ฯลฯ ๖. ผัสสายตนะคือมโนที่บุคคลฝึกดี คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมดีแล้ว ย่อมนำสุขมีประมาณยิ่งมาให้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๙๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๑. อทันตอคุตตสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้แลที่บุคคลฝึกดี คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมดีแล้วย่อมนำสุขยิ่งมาให้” พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้วจึงได้ตรัสคาถา ประพันธ์ต่อไปอีกว่า “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่สำรวมผัสสายตนะ ๖ ประการ นั่นแลในอายตนะ ๖ ประการใด ย่อมประสบทุกข์ ส่วนบุคคลเหล่าใดได้การสำรวมอายตนะ ๖ ประการนั้น บุคคลเหล่านั้นมีศรัทธาเป็นเพื่อน เป็นผู้ไม่ชุ่มด้วยราคะอยู่ บุคคลเห็นรูปที่น่าชอบใจหรือเห็นรูปที่ไม่น่าชอบใจแล้ว พึงบรรเทาทางของราคะในรูปที่น่าชอบใจ และไม่พึงเสียใจว่า ‘รูปของเราไม่น่ารัก’ ได้ยินเสียงที่น่ารักและไม่น่ารักแล้ว ไม่พึงกระหายในเสียงที่น่ารัก และพึงบรรเทาความไม่ชอบใจในเสียงที่ไม่น่ารัก และไม่พึงเสียใจว่า ‘เสียงของเราไม่น่ารัก’ ได้ดมกลิ่นหอมที่น่าชอบใจ และได้ดมกลิ่นเหม็นที่ไม่น่าชอบใจแล้ว พึงบรรเทาความหงุดหงิดในกลิ่นที่ไม่น่าชอบใจ และไม่พึงพอใจในกลิ่นที่น่าชอบใจ ได้ลิ้มรสที่ไม่อร่อยและอร่อย และลิ้มรสที่ไม่อร่อยในบางคราวแล้ว ไม่พึงติดใจลิ้มรสที่อร่อย และไม่ควรยินร้ายในรสที่ไม่อร่อย ถูกผัสสะที่เป็นสุขกระทบแล้วไม่พึงมัวเมา แม้ถูกผัสสะที่เป็นทุกข์กระทบแล้วก็ไม่พึงหวั่นไหว ควรวางเฉยผัสสะทั้งสองทั้งที่เป็นสุขและเป็นทุกข์ ไม่ควรยินดี ไม่ควรยินร้ายกับผัสสะอะไรๆ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๙๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๒. ทุติยปัณณาสก์ ๕. ฉฬวรรค ๒. มาลุกยปุตตสูตร

นรชนทั้งหลายผู้ต่ำทราม มีปปัญจสัญญา (ความหมายรู้ในกิเลสเครื่องเนิ่นช้า) ปรุงแต่งอยู่ เป็นสัตว์ที่มีสัญญา วนเวียนอยู่ ก็บุคคลบรรเทาใจที่อาศัยเรือน๑- ๕ ทั้งปวงแล้ว ย่อมเปลี่ยนจิตให้ประกอบด้วยเนกขัมมะ ในกาลใดที่บุคคลอบรมใจดีแล้ว ในอารมณ์ ๖ ประการอย่างนี้ ในกาลนั้นจิตของเขาถูกสุขสัมผัสหรือทุกขสัมผัสกระทบแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวในที่ไหนๆ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายครอบงำราคะและโทสะได้แล้ว ย่อมเป็นผู้ถึงจุดจบ๒- แห่งความเกิดและความตาย”
อทันตอคุตตสูตรที่ ๑ จบ
๒. มาลุกยปุตตสูตร
ว่าด้วยพระมาลุกยบุตร
[๙๕] ครั้งนั้น ท่านพระมาลุกยบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้า พระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกาย และใจอยู่เถิด” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาลุกยบุตร ในการขอโอวาทของเธอนี้ ในบัดนี้ เราจักบอกพวกภิกษุหนุ่มอย่างไรว่าเธอเป็นภิกษุผู้ชรา สูงอายุ เป็นผู้เฒ่า ล่วงกาล มามาก ผ่านวัยมามาก ขอโอวาทโดยย่อ” ท่านพระมาลุกยบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็น ผู้ชรา สูงอายุ เป็นผู้เฒ่า ล่วงกาลมามาก ผ่านวัยมามากก็จริง ถึงกระนั้น ขอพระผู้มีพระภาคผู้สุคตโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อเถิด ทำอย่างไร @เชิงอรรถ : @ เรือน ในที่นี้ได้แก่ กามคุณ ๕ (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) (สํ.สฬา.อ. ๓/๙๔/๓๒) @ จุดจบ ในที่นี้หมายถึง นิพพาน (สํ.สฬา.อ. ๓/๙๔/๓๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๙๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๙๗-๙๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=18&siri=74              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=1745&Z=1787                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=128              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=128&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=666              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=128&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=666                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i128-e.php# http://www.buddha-vacana.org/sutta/samyutta/salayatana/sn35-094.html https://suttacentral.net/sn35.94/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.94/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :