ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
๑๐. วาทัตถิกสูตร
ว่าด้วยสมณพราหมณ์ผู้ต้องการโต้วาทะ
[๑๑๑๐] “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’ แม้หากสมณะหรือพราหมณ์ผู้ต้องการวาทะ แสวงหาวาทะ มาจากทิศตะวันออกด้วยคิดว่า ‘จักโต้วาทะกับภิกษุนั้น’ เป็นไปไม่ได้ เลยที่ภิกษุรูปนั้นจักสะทกสะท้านหรือหวั่นไหวต่อสมณะหรือพราหมณ์นั้นด้วยสหธรรม๑- แม้หากสมณะหรือพราหมณ์ผู้ต้องการวาทะ แสวงหาวาทะ มาจากทิศตะวันตก ฯลฯ แม้หากสมณะหรือพราหมณ์ผู้ต้องการวาทะ แสวงหาวาทะ มาจากทิศเหนือ ฯลฯ แม้หากสมณะหรือพราหมณ์ผู้ต้องการวาทะ แสวงหาวาทะมาจากทิศใต้ด้วย คิดว่า ‘จักโต้วาทะกับภิกษุนั้น’ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุรูปนั้นจักสะทกสะท้านหรือ หวั่นไหวต่อสมณะหรือพราหมณ์นั้นด้วยสหธรรม ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเสาหินยาว ๑๖ ศอก เสาหินนั้นมีลำต้นปักลง ไปข้างล่าง ๘ ศอก อยู่ข้างบน ๘ ศอก แม้หากพายุฝนพัดมาจากทิศตะวันออก อย่างรุนแรงก็ไม่สั่น ไม่สะเทือน ไม่สะท้าน แม้หากพายุฝนพัดมาจากทิศตะวันตก @เชิงอรรถ : @ สหธรรม หมายถึงความมีเหตุผล (สํ.ม.อ. ๓/๘๘๒/๓๓๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๖๒๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๒. สัจจสังยุต]

๔. สีสปาวนวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ฯลฯ แม้หากพายุฝนพัดมาจากทิศเหนือ ฯลฯ แม้หากพายุฝนพัดมาจากทิศใต้ อย่างรุนแรงก็ไม่สั่น ไม่สะเทือน ไม่สะท้าน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเสาหินมีลำต้นปักไว้ลึก ฝังไว้ดี อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี- ปฏิปทา’ แม้หากสมณะหรือพราหมณ์ต้องการวาทะ แสวงหาวาทะ มาจากทิศ ตะวันออกด้วยคิดว่า ‘จักโต้วาทะกับภิกษุนั้น’ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุรูปนั้นจักสะทก สะท้านหรือหวั่นไหวต่อสมณะหรือพรหมณ์นั้นด้วยสหธรรม แม้หากสมณะหรือ พราหมณ์ต้องการวาทะ แสวงหาวาทะ มาจากทิศตะวันตก ฯลฯ แม้หากสมณะ หรือพราหมณ์ต้องการวาทะ แสวงหาวาทะ มาจากทิศเหนือ ฯลฯ แม้หากสมณะ หรือพราหมณ์ผู้ต้องการวาทะ แสวงหาวาทะมาจากทิศใต้ด้วยคิดว่า ‘จักโต้วาทะ กับภิกษุนั้น’ เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุรูปนั้นจักสะทกสะท้าน หรือหวั่นไหวต่อสมณะ หรือพราหมณ์นั้นด้วยสหธรรม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเห็นอริยสัจ ๔ ประการดีแล้ว อริยสัจ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
วาทัตถิกสูตรที่ ๑๐ จบ
สีสปาวนวรรคที่ ๔ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สีสปาวนสูตร ๒. ขทิรปัตตสูตร ๓. ทัณฑสูตร ๔. เจลสูตร ๕. สัตติสตสูตร ๖. ปาณสูตร ๗. ปฐมสุริยสูตร ๘. ทุติยสุริยสูตร ๙. อินทขีลสูตร ๑๐. วาทัตถิกสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๖๒๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๖๒๐-๖๒๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=19&siri=420              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=10511&Z=10537                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1724              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=1724&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=8350              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=1724&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=8350                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn56.40/en/sujato https://suttacentral.net/sn56.40/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :