ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๘. สหธรรมิกวรรค ๒วิเลขนสิกขาบท นิทานวัตถุ

๘. สหธรรมิกวรรค
๒. วิเลขนสิกขาบท
ว่าด้วยความยุ่งยากแห่งสิกขาบท
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๔๓๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสวินัยกถา ทรง พรรณนาคุณแห่งพระวินัย ตรัสสรรเสริญการเรียนพระวินัย ทรงพรรณนาคุณพระ อุบาลีโดยประการต่างๆ ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสวินัยกถา ทรงพรรณนาคุณแห่ง พระวินัย ตรัสสรรเสริญการเรียนพระวินัย ทรงพรรณนาคุณท่านพระอุบาลี โดยประการต่างๆ อย่ากระนั้นเลย ท่านทั้งหลาย พวกเราจะเรียนพระวินัยในสำนัก ท่านพระอุบาลี” ภิกษุเหล่านั้นจำนวนมาก เป็นเถระก็มี เป็นนวกะก็มี เป็นมัชฌิมะก็มี ต่างพา กันเล่าเรียนพระวินัยในสำนักท่านพระอุบาลี ครั้งนั้นแล พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้ปรึกษากันว่า “ท่านทั้งหลาย บัดนี้ ภิกษุ จำนวนมากเป็นเถระก็มี เป็นนวกะก็มี เป็นมัชฌิมะก็มี ต่างพากันเล่าเรียนพระวินัย ในสำนักท่านพระอุบาลี ถ้าภิกษุเหล่านี้รอบรู้พระบัญญัติในพระวินัย ก็จักชักจูงชี้นำ พวกเราได้ตามที่ปรารถนาในคราวที่ปรารถนาจนพอแก่ความปรารถนา อย่า กระนั้นเลย ท่านทั้งหลาย พวกเราจะดูหมิ่นพระวินัย” ครั้นแล้วพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ จึงเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า “สิกขาบทเล็กๆ น้อยๆ ที่ยกขึ้นแสดง เหล่านี้จะมีประโยชน์อะไร ย่อมเป็นไปเพื่อความรำคาญ เพื่อความลำบาก เพื่อ ความยุ่งยาก” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๔๘}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๘. สหธรรมิกวรรค ๒. วิเลขนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงดูหมิ่นพระวินัยเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ โดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอดูหมิ่นวินัย จริง หรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงดูหมิ่นวินัยเล่า โมฆบุรุษ ทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่ เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบท นี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๔๓๙] ก็ ภิกษุใด เมื่อมีผู้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงอยู่ กล่าวอย่างนี้ว่า “สิกขาบทเล็กๆ น้อยๆ ที่ยกขึ้นแสดงเหล่านี้ จะมีประโยชน์อะไร ย่อมเป็น ไปเพื่อความรำคาญ เพื่อความลำบาก เพื่อความยุ่งยาก” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะดูหมิ่นสิกขาบท
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๔๐] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๔๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๘. สหธรรมิกวรรค ๒. วิเลขนสิกขาบท บทภาชนีย์

คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ คำว่า เมื่อมีผู้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงอยู่ ความว่า เมื่อมีผู้ใดผู้หนึ่งยกขึ้น แสดงเอง ใช้ผู้อื่นให้ยกขึ้นแสดงอยู่ หรือกำลังท่องปาติโมกข์ คำว่า กล่าวอย่างนี้ ความว่า “สิกขาบทเล็กๆ น้อยๆ ที่ยกขึ้นแสดงเหล่านี้ จะมีประโยชน์อะไร ย่อมเป็นไปเพื่อความรำคาญ เพื่อความลำบาก เพื่อความยุ่งยาก” คือ ดูหมิ่นพระวินัยให้อุปสัมบันฟังว่า “พวกภิกษุที่เล่าเรียนพระวินัยนี้จะมีความ รำคาญ มีความลำบาก มีความยุ่งยาก พวกภิกษุที่ไม่เล่าเรียนพระวินัยนี้จะไม่มี ความรำคาญ ไม่มีความลำบาก ไม่มีความยุ่งยาก สิกขาบทนี้พวกท่านไม่ยกขึ้น แสดงจะดีกว่า ไม่ศึกษาจะดีกว่า ไม่เล่าเรียนจะดีกว่า ไม่ทรงจำจะดีกว่า พระวินัย จงอันตรธานไป หรือภิกษุพวกนี้จงเป็นผู้ไม่รอบรู้พระบัญญัติ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๔๔๑] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ดูหมิ่นพระวินัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ดูหมิ่นพระวินัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ดูหมิ่นพระวินัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกกฎ
ภิกษุดูหมิ่นธรรมอย่างอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุดูหมิ่นพระวินัยหรือธรรมอย่างอื่นให้อนุปสัมบันฟัง ต้องอาบัติทุกกฏ อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๕๐}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๘. สหธรรมิกวรรค ๒. วิเลขนสิกขาบท อนาปัตติวาร

อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๔๔๒] ๑. ภิกษุไม่ประสงค์จะดูหมิ่นกล่าวตามเหตุว่า “นิมนต์ท่านเรียน พระสูตร พระคาถา หรือพระอภิธรรมไปก่อน ภายหลังจึงเรียนพระวินัย” ๒. ภิกษุวิกลจริต ๓. ภิกษุต้นบัญญัติ
วิเลขนสิกขาบทที่ ๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๕๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๕๔๘-๕๕๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=2&siri=108              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=13408&Z=13469                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=685              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=685&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=9863              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=685&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=9863                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc72/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc72/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :