ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๖. สุราปานวรรค ๙. วิกัปปนสิกขาบท นิทานวัตถุ

๖. สุราปานวรรค
๙. วิกัปปนสิกขาบท
ว่าด้วยการวิกัปปจีวร
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๓๗๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรวิกัป๑- จีวรด้วยตนเองแก่ภิกษุสัทธิวิหาริกของภิกษุผู้เป็นพี่น้องกันแล้วใช้สอยจีวรที่ยังไม่ได้ ปัจจุทธรณ์๒- ลำดับนั้น ภิกษุนั้นได้แจ้งเรื่องนี้ให้ภิกษุทั้งหลายทราบว่า “ท่านทั้งหลาย ท่านพระอุปนันทศากยบุตรวิกัปจีวรด้วยตนเองแก่กระผมแล้วใช้สอยจีวรที่ยังไม่ได้ ปัจจุทธรณ์” บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่าน พระอุปนันทศากยบุตรวิกัปจีวรด้วยตนเองแก่ภิกษุแล้ว จึงใช้สอยจีวรที่ยังมิได้ ปัจจุธรณ์เล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่านพระอุปนันทศากยบุตรโดยประการ ต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “อุปนันทะ ทราบว่า เธอวิกับจีวรด้วยตน @เชิงอรรถ : @ วิกัป เป็นวินัยกรรม คือวิธีการทางพระวินัย เพื่อป้องกันอาบัติ ตามปกติภิกษุจะใช้สอยผ้านุ่งห่มเพียง ๓ @ผืน คือ ผ้าสังฆาฏิ ผ้าอุตตราสงค์ ผ้าอันตรวาสก ผ้านอกจากนี้เรียกว่า ผ้าอติเรกจีวร เก็บไว้ใช้สอยได้ @ไม่เกิน ๑๐ วัน ถ้าต้องการจะใช้สอยตลอดไป ต้องวิกัป คือ ยกให้แก่ผู้อื่น ให้ผู้อื่นมีกรรมสิทธิ์ร่วม ผู้ที่ @รับไป ต้องให้คืนไว้ใช้สอย นี้เป็นวินัยกรรม ในกรณีนี้ถ้าเป็นสมัยจีวรกาล ไม่ต้องวิกัป ใช้ได้ตลอดจน @กว่าจะหมดจีวรกาล (ดู นิสสัคคีย์ สิกขาบทที่ ๑ ข้อ ๔๖๐-๔๗๐ หน้า ๒-๘ ในเล่มนี้ และ @วิ.ม. ๕/๓๕๘/๑๖๐, วิ.อ. ๒/๔๖๙/๑๔๖-๑๕๕) @ คำว่า “ปัจจุทธรณ์” แปลว่า ถอนคืน คือถอนผ้าที่วิกัปไว้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๙๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๖. สุราปานวรรค ๙. วิกัปปนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

เองแก่ภิกษุแล้วใช้สอยจีวรที่ยังมิได้ปัจจุทธรณ์ จริงหรือ” ท่านพระอุปนันทศากยบุตร ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอ เมื่อวิกัปจีวรด้วยตนเองแก่ภิกษุแล้ว จึงใช้สอยจีวรที่ยังมิได้ ปัจจุทธรณ์เล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใส อยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลาย ยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๓๗๓] ก็ ภิกษุใดวิกัปจีวรด้วยตนเองแก่ภิกษุ หรือแก่ภิกษุณี หรือแก่ สิกขมานา หรือแก่สามเณร หรือแก่สามเณรี แล้วใช้สอยจีวรที่ยังมิได้ปัจจุทธรณ์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๗๔] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ คำว่า แก่ภิกษุ คือ ภิกษุรูปอื่น ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ สตรีที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ที่ชื่อว่า สิกขมานา ได้แก่ สตรีผู้ศึกษาสิกขาธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี ที่ชื่อว่า สามเณร ได้แก่ บุรุษผู้ถือสิกขาบท ๑๐ ข้อ ที่ชื่อว่า สามเณรี ได้แก่ สตรีผู้ถือสิกขาบท ๑๐ ข้อ คำว่า ด้วยตนเอง คือ วิกัปเอง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๙๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๖. สุราปานวรรค ๙. วิกัปปนสิกขาบท บทภาชนีย์

ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีขนาดพอที่จะวิกัป ได้เป็นอย่างต่ำ ที่ชื่อว่า วิกัป มี ๒ อย่าง คือ (๑) วิกัปต่อหน้า (๒) วิกัปลับหลัง ที่ชื่อว่า วิกัปต่อหน้า คือ ภิกษุกล่าวว่า “ข้าพเจ้าวิกัปจีวรผืนนี้แก่ท่าน หรือข้าพเจ้าวิกัปจีวรผืนนี้แก่ภิกษุนี้” ที่ชื่อว่า วิกัปลับหลัง คือ ภิกษุกล่าวว่า “ข้าพเจ้าให้จีวรผืนนี้แก่ท่านเพื่อวิกัป” ภิกษุผู้รับวิกัปถามภิกษุผู้วิกัปว่า “ใครเป็นมิตรหรือเพื่อนของท่าน” พึงตอบว่า “ภิกษุชื่อนี้และภิกษุชื่อนี้” ภิกษุผู้รับวิกัปพึงกล่าวกับภิกษุผู้วิกัปว่า “ข้าพเจ้าให้แก่ภิกษุเหล่านั้น จีวร ผืนนี้เป็นของภิกษุเหล่านั้น ท่านจงใช้สอย จงสละ หรือจงทำตามเหตุผลเถิด” ที่ชื่อว่า ที่ยังมิได้ปัจจุทธรณ์ คือ จีวรที่ผู้รับวิกัปยังไม่ได้คืนให้๑- หรือภิกษุผู้ วิกัปใช้สอยจีวรโดยไม่คุ้นเคยกับภิกษุผู้รับวิกัปนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๓๗๕] จีวรยังไม่ได้ปัจจุทธรณ์ ภิกษุสำคัญว่ายังมิได้ปัจจุทธรณ์ ใช้สอย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ จีวรยังไม่ได้ปัจจุทธรณ์ ภิกษุไม่แน่ใจ ใช้สอย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ จีวรยังไม่ได้ปัจจุทธรณ์ ภิกษุสำคัญว่าปัจจุทธรณ์แล้ว ใช้สอย ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ @เชิงอรรถ : @ คือภิกษุผู้รับวิกัปยังมิได้ให้คืนด้วยกล่าวว่า “ท่านจะใช้สอย จะสละ หรือจะทำตามเหตุผลก็ได้” @ปัจจุทธรณ์ คือถอนวิกัปนั่นเอง (วิ.อ. ๒/๓๗๔/๔๑๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๙๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๖. สุราปานวรรค ๙. วิกัปปนสิกขาบท อนาปัตติวาร

ติกทุกกฏ
ภิกษุอธิษฐานหรือสละ ต้องอาบัติทุกกฏ จีวรปัจจุทธรณ์แล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ได้ปัจจุทธรณ์ ต้องอาบัติทุกกฏ จีวรปัจจุทธรณ์แล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ จีวรปัจจุทธรณ์แล้ว ภิกษุสำคัญว่าปัจจุทธรณ์แล้ว ไม่เป็นอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๓๗๖] ๑. ภิกษุใช้สอยจีวรที่ผู้รับวิกัปคืนให้หรือใช้สอยจีวรด้วยความคุ้นเคย กับภิกษุผู้รับวิกัป ๒. ภิกษุวิกลจริต ๓. ภิกษุต้นบัญญัติ
วิกัปปนสิกขาบทที่ ๙ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๙๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๔๙๓-๔๙๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=2&siri=95              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=12464&Z=12524                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=623              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=623&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=9631              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=623&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=9631                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc59/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc59/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :