ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๓. กุสินารวรรค ๕. หัตถกสูตร

๕. หัตถกสูตร
ว่าด้วยหัตถกเทพบุตร
[๑๒๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น หัตถกเทพบุตรเมื่อปฐมยามผ่านไป มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง ที่ประทับ คิดว่าจักยืนตรงพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค กลับทรุดลงนั่งตรงพระ พักตร์ของพระผู้มีพระภาค ไม่สามารถยืนอยู่ได้ เปรียบเหมือนเนยใสหรือน้ำมันที่ เขาเทลงบนทรายย่อมซึมลง ไม่ขังอยู่ หัตถกเทพบุตรคิดว่า จักยืนตรงพระพักตร์ ของพระผู้มีพระภาค กลับทรุดลงนั่งตรงพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค ไม่สามารถ ยืนอยู่ได้ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับหัตถกเทพบุตรว่า “หัตถกะ ท่านจง เนรมิตร่างอย่างหยาบๆ” หัตถกเทพบุตรทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว เนรมิตร่าง อย่างหยาบๆ ถวายอภิวาทแล้วได้ยืน ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส เรื่องนี้กับหัตถกเทพบุตรดังนี้ว่า “หัตถกะ ธรรมประจำตัวของท่านเมื่อครั้งที่เป็น มนุษย์ในกาลก่อน บัดนี้ยังมีอยู่ประจำตัวท่านบ้างไหม” หัตถกเทพบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ธรรมประจำตัวของข้าพระ องค์เมื่อครั้งที่เป็นมนุษย์ในกาลก่อน มาบัดนี้ยังมีอยู่ประจำตัวของข้าพระองค์ และ ธรรมที่ไม่ได้มีอยู่ประจำตัวข้าพระองค์เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ในกาลก่อน มาบัดนี้กลับ มีอยู่ประจำตัวข้าพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในปัจจุบันนี้พระผู้มีพระภาคประทับ อยู่รายล้อมไปด้วยเหล่าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ ของพระราชา พวกเดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือน กัน รายล้อมไปด้วยเทพบุตรทั้งหลายอยู่ พวกเทพบุตรพากันมาจากถิ่นไกลด้วยตั้งใจ ว่าจักฟังธรรมในสำนักของหัตถกเทพบุตร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังไม่อิ่ม ยังไม่เบื่อธรรม ๓ ประการก็จุติเสียก่อน ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๗๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๓. กุสินารวรรค ๖. กฏุวิยสูตร

๑. ข้าพระองค์ยังไม่อิ่ม ยังไม่เบื่อการเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคก็จุติเสียแล้ว ๒. ข้าพระองค์ยังไม่อิ่ม ยังไม่เบื่อการฟังสัทธรรมก็จุติเสียแล้ว ๓. ข้าพระองค์ยังไม่อิ่ม ยังไม่เบื่อการบำรุงพระสงฆ์ก็จุติเสียแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังไม่อิ่ม ยังไม่เบื่อธรรม ๓ ประการนี้แล ก็จุติเสียแล้ว หัตถกเทพบุตรได้กล่าวคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า ความอิ่มในการเฝ้าพระผู้มีพระภาค (การฟังสัทธรรม) การบำรุงพระสงฆ์ จักมีในกาลไหนๆ เป็นแน่แท้ หัตถกอุบาสกยังศึกษาอธิศีล๑- อยู่ ยินดีแล้วในการฟังสัทธรรม ยังไม่อิ่มธรรม ๓ ประการ ก็ไปพรหมโลกชั้นอวิหาเสียแล้ว
หัตถกสูตรที่ ๕ จบ
๖. กฏุวิยสูตร
ว่าด้วยความมักใหญ่
[๑๒๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขต กรุงพาราณสี ครั้นในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรจีวร เสด็จเข้าไปสู่กรุงพาราณสีเพื่อบิณฑบาต พระผู้มีพระภาคกำลังเที่ยวบิณฑบาตใน สำนักของพวกมิลักขะที่ชุมนุมกันอยู่ในที่ซื้อขายโค ได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุรูปหนึ่ง ผู้ไม่มีความแช่มชื่น๒- มีแต่ความแช่มชื่นภายนอก๓- หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิต @เชิงอรรถ : @ อธิศีล ในที่นี้หมายถึงศีล ๑๐ ซึ่งเรียกว่าอธิศีลเพราะเทียบศีล ๕ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๒๘/๒๖๙) @ ไม่มีความแช่มชื่น ในที่นี้หมายถึงปราศจากความสุขที่เกิดจากฌาน (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๒๙/๒๗๐) @ มีแต่ความแช่มชื่นภายนอก ในที่นี้หมายถึงมีความสุขที่เกิดจากกามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส @โผฏฐัพพะ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๒๙/๒๗๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๗๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๓๗๖-๓๗๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=20&siri=172              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=7337&Z=7368                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=567              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=567&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=6196              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=567&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=6196                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i563-e.php#sutta5 https://suttacentral.net/an3.127/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :