ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ๑. โกธเปยยาล

๑. โกธเปยยาล
[๑๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. โกธะ (ความโกรธ) ๒. อุปนาหะ (ความผูกโกรธ) ... ๑. มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน) ๒. ปฬาสะ (ความตีเสมอ) ... ๑. อิสสา (ความริษยา) ๒. มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ... ๑. มายา (มารยา) ๒. สาเถยยะ (ความโอ้อวด) ... ๑. อหิริกะ (ความไม่อายบาป) ๒. อโนตตัปปะ (ความไม่กลัวบาป) ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑-๕) [๑๘๒] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. อักโกธะ (ความไม่โกรธ) ๒. อนุปนาหะ (ความไม่ผูกโกรธ) ... ๑. อมักขะ (ความไม่ลบหลู่คุณท่าน) ๒. อปฬาสะ (ความไม่ตีเสมอ) ... ๑. อนิสสา (ความไม่ริษยา) ๒. อมัจฉริยะ (ความไม่ตระหนี่) ... ๑. อมายา (ไม่มีมารยา) ๒. อสาเถยยะ (ความไม่โอ้อวด) .. ๑. หิริ (ความอายบาป) ๒. โอตตัปปะ (ความกลัวบาป) ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๖-๑๐) [๑๘๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างย่อมอยู่เป็นทุกข์ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. โกธะ ๒. อุปนาหะ ... ๑. มักขะ ๒. ปฬาสะ ... ๑. อิสสา ๒. มัจฉริยะ ... ๑. มายา ๒. สาเถยยะ ... ๑. อหิริกะ ๒. อโนตตัปปะ ... ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างนี้แลย่อมอยู่เป็นทุกข์ (๑๑-๑๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๓๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ๑. โกธเปยยาล

[๑๘๔] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างย่อมอยู่เป็นสุข ธรรม ๒ อย่างอะไรบ้าง คือ ๑. อักโกธะ ๒. อนุปนาหะ ... ๑. อมักขะ ๒. อปฬาสะ ... ๑. อนิสสา ๒. อมัจฉริยะ ... ๑. อมายา ๒. อสาเถยยะ ... ๑. หิริ ๒. โอตตัปปะ ... ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างนี้แลย่อมอยู่เป็นสุข (๑๖-๒๐) [๑๘๕] ธรรม ๒ อย่างนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมของภิกษุผู้ยังเป็นเสขะ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. โกธะ ๒. อุปนาหะ ... ๑. มักขะ ๒. ปฬาสะ ... ๑. อิสสา ๒. มัจฉริยะ ... ๑. มายา ๒. สาเถยยะ ... ๑. อหิริกะ ๒. อโนตตัปปะ ... ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แลย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมของภิกษุผู้ยังเป็น เสขะ (๒๑-๒๕) [๑๘๖] ธรรม ๒ อย่างนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมของภิกษุผู้ยังเป็นเสขะ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. อักโกธะ ๒. อนุปนาหะ ... ๑. อมักขะ ๒. อปฬาสะ ... ๑. อนิสสา ๒. อมัจฉริยะ ... ๑. อมายา ๒. อสาเถยยะ ... ๑. หิริ ๒. โอตตัปปะ ... ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แลย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมของภิกษุผู้ยัง เป็นเสขะ (๒๖-๓๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๓๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ๑. โกธเปยยาล

[๑๘๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. โกธะ ๒. อุปนาหะ ... ๑. มักขะ ๒. ปฬาสะ ... ๑. อิสสา ๒. มัจฉริยะ ... ๑. มายา ๒. สาเถยยะ ... ๑. อหิริกะ ๒. อโนตตัปปะ ... ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างนี้แลย่อมดำรงอยู่ในนรก เหมือนถูกนำไปฝังไว้ (๓๑-๓๕) [๑๘๘] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างย่อมดำรงอยู่ใน สวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. อักโกธะ ๒. อนุปนาหะ ... ๑. อมักขะ ๒. อปฬาสะ ... ๑. อนิสสา ๒. อมัจฉริยะ ... ๑. อมายา ๒. อสาเถยยะ ... ๑. หิริ ๒. โอตตัปปะ ... ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างนี้แลย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ (๓๖-๔๐) [๑๘๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยธรรม ๒ อย่าง หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๓๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ๒. อกุสลเปยยาล

ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. โกธะ ๒. อุปนาหะ ... ๑. มักขะ ๒. ปฬาสะ ... ๑. อิสสา ๒. มัจฉริยะ ... ๑. มายา ๒. สาเถยยะ ... ๑. อหิริกะ ๒. อโนตตัปปะ ... ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก (๔๑-๔๕) [๑๙๐] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยธรรม ๒ อย่าง หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. อักโกธะ ๒. อนุปนาหะ ... ๑. อมักขะ ๒. อปฬาสะ ... ๑. อนิสสา ๒. อมัจฉริยะ ... ๑. อมายา ๒. อสาเถยยะ ... ๑. หิริ ๒. โอตตัปปะ ... ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างนี้แล หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ (๔๖-๕๐)
โกธเปยยาล จบ
๒. อกุสลเปยยาล
[๑๙๑-๒๐๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรม ๒ อย่างนี้ ... กุศลธรรม ๒ อย่างนี้ ... ธรรมที่มีโทษ ๒ อย่างนี้ ... ธรรมที่ไม่มีโทษ ๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๓๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ๓. วินยเปยยาล

อย่างนี้ ... ธรรมที่มีทุกข์เป็นกำไร ๒ อย่างนี้ ... ธรรมที่มีสุขเป็นกำไร ๒ อย่างนี้ ... ธรรมที่มีวิบากเป็นทุกข์ ๒ อย่างนี้ ... ธรรมที่มีวิบากเป็นสุข ๒ อย่างนี้ ... ธรรม ที่มีความเบียดเบียน ๒ อย่างนี้ ... ธรรมที่ไม่มีความเบียดเบียน ๒ อย่างนี้ ธรรมที่ไม่มีความเบียดเบียน ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. อักโกธะ (ความไม่โกรธ) ๒. อนุปนาหะ (ความไม่ผูกโกรธ) ... ๑. อมักขะ (ความไม่ลบหลู่คุณท่าน) ๒. อปฬาสะ (ความไม่ตีเสมอ) ... ๑. อนิสสา (ความไม่ริษยา) ๒. อมัจฉริยะ (ความไม่ตระหนี่) ... ๑. อมายา (ไม่มีมารยา) ๒. อสาเถยยะ (ความไม่โอ้อวด) .. ๑. หิริ (ความอายบาป) ๒. โอตตัปปะ (ความกลัวบาป) ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ไม่มีความเบียดเบียน ๒ อย่างนี้แล (๑-๕๐)
อกุสลเปยยาล จบ
๓. วินยเปยยาล
[๒๐๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตบัญญัติสิกขาบทแก่ เหล่าสาวกโดยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้ อำนาจประโยชน์ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๒. เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์ ๑. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๒. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม ๑. เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๒. เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๓๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ๓. วินยเปยยาล

๑. เพื่อปิดกั้นเวรทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๒. เพื่อกำจัดเวรทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต ๑. เพื่อปิดกั้นโทษทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๒. เพื่อกำจัดโทษทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต ๑. เพื่อปิดกั้นภัยทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๒. เพื่อกำจัดภัยทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต ๑. เพื่อปิดกั้นอกุศลธรรมทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๒. เพื่อกำจัดอกุศลธรรมทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต ๑. เพื่ออนุเคราะห์คฤหัสถ์ ๒. เพื่อตัดฝักฝ่ายของภิกษุผู้ปรารถนาชั่ว ๑. เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส ๒. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นของคนที่เลื่อมใสแล้ว ๑. เพื่อความตั้งมั่นแห่งสัทธรรม ๒. เพื่อเอื้อเฟื้อวินัย๑- ตถาคตบัญญัติสิกขาบทแก่เหล่าสาวกโดยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้แล (๑-๑๐) [๒๐๒-๒๓๐] ตถาคตบัญญัติปาติโมกข์แก่เหล่าสาวก ... บัญญัติการสวด ปาติโมกข์ ... บัญญัติการงดสวดปาติโมกข์ ... บัญญัติปวารณา ... บัญญัติการงด ปวารณา ... บัญญัติตัชชนียกรรม ... บัญญัตินิยสกรรม ... บัญญัติปัพพาชนียกรรม ... บัญญัติปฏิสารณียกรรม ... บัญญัติอุกเขปนียกรรม ... บัญญัติการให้ปริวาส ... @เชิงอรรถ : @ เพื่อเอื้อเฟื้อวินัย หมายถึงเพื่อเชิดชู ค้ำจุน ประคับประคองพระวินัย ๔ อย่าง คือสังวรวินัย ปหานวินัย @สมถวินัย ปัญญัติวินัย (วิ.อ. ๑/๓๙/๒๓๖-๒๓๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๓๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ๓. วินยเปยยาล

บัญญัติการชักเข้าหาอาบัติเดิม ... บัญญัติการให้มานัต ... บัญญัติอัพภาน ... บัญญัติการเรียกเข้าหมู่ ... บัญญัติการขับออกจากหมู่ ... บัญญัติการอุปสมบท ... บัญญัติญัตติกรรม ... บัญญัติญัตติทุติยกรรม ... บัญญัติญัตติจตุตถกรรม ... บัญญัติสิกขาบทที่ยังไม่ได้บัญญัติ ... บัญญัติเพิ่มเติมสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้ว ... บัญญัติสัมมุขาวินัย ... บัญญัติสติวินัย ... บัญญัติอมูฬหวินัย ... บัญญัติ- ปฏิญญาตกรณะ ... บัญญัติเยภุยยสิกา ... บัญญัติตัสสปาปิยสิกา ... บัญญัติ ติณวัตถารกะโดยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้ อำนาจประโยชน์ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๒. เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์ ๑. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๒. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม ๑. เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๒. เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต ๑. เพื่อปิดกั้นเวรทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๒. เพื่อกำจัดเวรทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต ๑. เพื่อปิดกั้นโทษทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๒. เพื่อกำจัดโทษทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต ๑. เพื่อปิดกั้นภัยทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๒. เพื่อกำจัดภัยทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต ๑. เพื่อปิดกั้นอกุศลธรรมทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๒. เพื่อกำจัดอกุศลธรรมทั้งหลายอันจะบังเกิดในอนาคต ๑. เพื่ออนุเคราะห์คฤหัสถ์ ๒. เพื่อตัดฝักฝ่ายของภิกษุผู้ปรารถนาชั่ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๓๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ๔. ราคเปยยาล

๑. เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส ๒. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นของคนที่เลื่อมใสแล้ว ๑. เพื่อความตั้งมั่นแห่งสัทธรรม ๒. เพื่อเอื้อเฟื้อวินัย ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตบัญญัติติณวัตถารกะแก่เหล่าสาวกโดยอาศัยอำนาจ ประโยชน์ ๒ ประการนี้แล (๑๑-๓๐๐)
วินยเปยยาล จบ
๔. ราคเปยยาล
[๒๓๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๒ ประการเพื่อรู้ยิ่งราคะ ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สมถะ (การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ) ๒. วิปัสสนา (ความเห็นแจ้ง) ภิกษุควรเจริญธรรม ๒ ประการนี้เพื่อรู้ยิ่งราคะ ... เพื่อกำหนดรู้ราคะ(ความกำหนัด) ... เพื่อความสิ้นราคะ ... เพื่อละราคะ ... เพื่อความสิ้นไปแห่งราคะ ... เพื่อความเสื่อมไปแห่งราคะ ... เพื่อความคลายไปแห่ง ราคะ ... เพื่อความดับแห่งราคะ ฯลฯ เพื่อความสละราคะ ... เพื่อความสละคืน ราคะ ภิกษุควรเจริญธรรม ๒ ประการนี้ ฯลฯ (๑-๑๐) [๒๓๒-๒๔๖] เพื่อรู้ยิ่งโทสะ(ความคิดประทุษร้าย) ... เพื่อกำหนดรู้โทสะ ... เพื่อความสิ้นโทสะ ... เพื่อละโทสะ ... เพื่อความสิ้นไปแห่งโทสะ ... เพื่อความเสื่อมไป แห่งโทสะ ... เพื่อความคลายไปแห่งโทสะ ... เพื่อความดับไปแห่งโทสะ ... เพื่อความ สละโทสะ ... เพื่อความสละคืนโทสะ ... โมหะ(ความหลง) ... โกธะ(ความโกรธ) ... อุปนาหะ(ความผูกโกรธ) ... มักขะ(ความลบหลู่คุณท่าน) ... ปฬาสะ(ความตีเสมอ) ... อิสสา (ความริษยา) ... มัจฉริยะ(ความตระหนี่) ... มายา(มารยา) ... สาเถยยะ (ความ โอ้อวด) ... ถัมภะ(ความหัวดื้อ) ... สารัมภะ(ความแข่งดี) ... มานะ(ความถือตัว) ... อติมานะ(ความดูหมิ่นเขา) ... มทะ(ความมัวเมา) ... ปมาทะ(ความประมาท) ... {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๓๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ๔. ราคเปยยาล

ภิกษุควรเจริญธรรม ๒ ประการนี้ ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สมถะ ๒. วิปัสสนา ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๒ ประการนี้เพื่อสลัดความประมาท (๑๑-๑๗๐) (เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดี ต่างชื่นชมภาษิตของ พระผู้มีพระภาค)
ราคเปยยาล จบ
ทุกนิบาต จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๓๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๑๓๐-๑๓๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=20&siri=44              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=2508&Z=2629                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=425              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=425&items=15              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=1602              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=425&items=15              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=1602                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i425-e.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i425-02-e.php# https://suttacentral.net/an2.180-229/en/sujato https://suttacentral.net/an2.230-279/en/sujato https://suttacentral.net/an2.280-309/en/sujato https://suttacentral.net/an2.310-479/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :