ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๘. จตุมหาราชสูตร
ว่าด้วยท้าวมหาราชทั้ง ๔
[๓๘] ภิกษุทั้งหลาย ในวัน ๘ ค่ำแห่งปักษ์ เทวดาผู้เป็นบริวาร ผู้ช่วยเหลือ ของท้าวมหาราชทั้ง ๔ เที่ยวตรวจดูโลกนี้ว่า ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลมารดา เกื้อกูลบิดา เกื้อกูลสมณะ เกื้อกูลพราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล อยู่จำ อุโบสถ๑- อยู่จำปฏิชาครอุโบสถ๒- ทำบุญ๓- กันอยู่ มีอยู่มากหรือหนอ @เชิงอรรถ : @ อยู่จำอุโบสถ ในที่นี้หมายถึงอธิษฐานอยู่จำอุโบสถศีล กล่าวคือศีล ๘ เดือนละ ๘ ครั้ง @(องฺ.ติก.อ. ๒/๓๘/๑๓๗) @ ปฏิชาครอุโบสถ หมายถึงการรักษาอุโบสถศีลในวันรับและวันส่ง วันรับคือ วัน ๔ ค่ำ, ๗ ค่ำ และ ๑๓ ค่ำ @สำหรับเดือนขาด หรือวัน ๑๔ ค่ำ สำหรับเดือนเต็ม วันส่งคือ ๖ ค่ำ, ๙ ค่ำ และ ๑ ค่ำ (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๘/๑๓๗) @ ทำบุญ ในที่นี้หมายถึงการถึงสรณะว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก รักษาศีล บูชาด้วยดอกไม้ ฟังธรรม จุดประทีป @พันดวง และการสร้างวิหาร (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๘/๑๓๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๙๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. เทวทูตวรรค ๘. จตุมหาราชสูตร

ในวัน ๑๔ ค่ำแห่งปักษ์ บุตรของท้าวมหาราชทั้ง ๔ เที่ยวตรวจดูโลกนี้ว่า ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลมารดา เกื้อกูลบิดา เกื้อกูลสมณะ เกื้อกูลพราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล อยู่จำอุโบสถ อยู่จำปฏิชาครอุโบสถ ทำบุญกันอยู่ มีอยู่มากหรือหนอ ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำนั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ เที่ยวตรวจดูโลกนี้ด้วยตัวเองว่า ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลมารดา เกื้อกูลบิดา เกื้อกูลสมณะ เกื้อกูลพราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล อยู่จำอุโบสถ อยู่จำปฏิชาครอุโบสถ ทำบุญกันอยู่ มีอยู่มากหรือหนอ ถ้าในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลมารดา เกื้อกูลบิดา เกื้อกูลสมณะ เกื้อกูล พราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล อยู่จำอุโบสถ อยู่จำปฏิชาครอุโบสถ ทำบุญกันอยู่ มีอยู่น้อย ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ย่อมรายงานเหตุนั้นแก่พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ที่นั่งประชุม ร่วมกันในสภาชื่อสุธัมมาว่า ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ผู้เกื้อกูลมารดา เกื้อกูลบิดา เกื้อกูลสมณะ เกื้อกูลพราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล อยู่จำอุโบสถ อยู่จำปฏิชาครอุโบสถ ทำบุญกันอยู่ มีจำนวนน้อย เพราะเหตุนั้น พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์จึงพากันเสียใจว่า “หมู่เทพจักเสื่อม หมู่อสูรจักบริบูรณ์” ก็ถ้าในหมู่มนุษย์ มนุษย์ผู้เกื้อกูลมารดา เกื้อกูลบิดา เกื้อกูลสมณะ เกื้อกูลพราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล อยู่จำอุโบสถ อยู่จำปฏิชาครอุโบสถ ทำบุญกันอยู่ มีจำนวนมาก ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ย่อมรายงานเหตุนั้นแก่พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ที่นั่งประชุม ร่วมกันในสภาชื่อสุธัมมาว่า ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ผู้เกื้อกูลมารดา เกื้อกูลบิดา เกื้อกูลสมณะ เกื้อกูลพราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล อยู่จำอุโบสถ อยู่จำปฏิชาครอุโบสถ ทำบุญกันอยู่ มีจำนวนมาก เพราะเหตุนั้น พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์จึงพากันดีใจว่า “หมู่เทพจักบริบูรณ์ หมู่อสูรจักเสื่อม” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๙๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. เทวทูตวรรค ๘. จตุมหาราชสูตร

เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อแนะนำพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ได้ ตรัสคาถานี้ในเวลานั้นว่า นรชนแม้ใดผู้เช่นกับเราพึงอยู่จำอุโบสถ ประกอบด้วยองค์ ๘ ๑- สิ้นวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำแห่งปักษ์ และสิ้นปาฏิหาริยปักษ์๒- คาถานี้ท้าวสักกะจอมเทพขับผิด ขับไม่ดี กล่าวผิด กล่าวไม่ดี ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะท้าวสักกะจอมเทพ ยังไม่ปราศจากราคะ ไม่ปราศจากโทสะ ไม่ปราศจากโมหะ ส่วนภิกษุใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ เสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว๓- บรรลุประโยชน์ตน๔- โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์๕- แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นควรกล่าวคำว่า นรชนแม้ใดผู้เช่นกับเราพึงอยู่จำอุโบสถ ประกอบด้วยองค์ ๘ สิ้นวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำแห่งปักษ์ และสิ้นปาฏิหาริยปักษ์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้น ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ
จตุมหาราชสูตรที่ ๘ จบ
@เชิงอรรถ : @ องค์ ๘ ในที่นี้หมายถึงศีล ๘ @ ปาฏิหาริยปักษ์ ในที่นี้หมายถึงอุโบสถที่รักษาประจำตลอด ๓ เดือน ภายในพรรษา ถ้าไม่อาจรักษา ๓ @เดือนได้ก็รักษา ๑ เดือน ในระหว่างวันปวารณาทั้งสอง หรือถ้าไม่อาจรักษาได้ถึง ๑ เดือน ก็รักษาตลอด @ครึ่งเดือนตั้งแต่วันปวารณาต้น (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๘/๑๓๙) @ ปลงภาระได้แล้ว ในที่นี้หมายถึงปลงขันธภาระได้ ปลงกิเลสภาระได้ และปลงอภิสังขารภาระได้ @(องฺ.ติก.อ. ๒/๓๘/๑๓๙) @ บรรลุประโยชน์ตน ในที่นี้หมายถึงบรรลุพระอรหัตตผล (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๘/๑๓๙) @ สิ้นภวสังโยชน์ หมายถึงสิ้นกิเลสที่เป็นเครื่องผูกสัตว์ คร่าสัตว์มาไว้ในภพทั้งหลาย @(องฺ.ติก.อ. ๒/๓๘/๑๓๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๙๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๑๙๕-๑๙๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=20&siri=81              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=3717&Z=3740                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=476              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=476&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=3107              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=476&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=3107                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i470-e.php#sutta7 https://suttacentral.net/an3.37/en/sujato https://suttacentral.net/an3.37/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :