ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
๙. วิปัลลาสสูตร
ว่าด้วยวิปลาส
[๔๙] ภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส๒- จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ๔ ประการนี้ สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ๒. สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ๓. สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสในสิ่งที่เป็นอนัตตาว่าเป็นอัตตา ๔. สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสในสิ่งที่ไม่งามว่างาม ภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ๔ ประการนี้แล ภิกษุทั้งหลาย สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาส ๔ ประการนี้ สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาส ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยง ๒. สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาสในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นทุกข์ @เชิงอรรถ : @ หมายถึงโลกุตตรธรรม ๙ ประการ (มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๔๘/๓๔๖) @ สัญญาวิปลาส ความคลาดเคลื่อนของการรับรู้ หมายถึงการรับรู้สิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยงเป็นต้น @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๔๙/๓๔๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๗๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. โรหิตัสสวรรค ๙. วิปัลลาสสูตร

๓. สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาสในสิ่งที่เป็นอนัตตาว่าเป็นอนัตตา ๔. สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาสในสิ่งที่ไม่งามว่าไม่งาม ภิกษุทั้งหลาย สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาส ๔ ประการนี้แล เหล่าสัตว์ผู้ถูกมิจฉาทิฏฐิทำลาย มีจิตซัดส่าย สำคัญผิด หมายรู้ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง หมายรู้ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข หมายรู้ในสิ่งที่เป็นอนัตตาว่าเป็นอัตตา หมายรู้ในสิ่งที่ไม่งามว่างาม สัตว์เหล่านั้นชื่อว่าติดอยู่ในเครื่องประกอบของมาร ไม่มีความเกษมจากโยคะ ประสบกับความเกิดและความตาย ท่องเที่ยวไปสู่สังสารวัฏ ก็ในกาลใดพระพุทธเจ้า ผู้จุดประกายให้แสงสว่าง เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ในกาลนั้นพระองค์ย่อมประกาศธรรม๑- นี้ ที่ให้สัตว์ถึงความดับทุกข์ สัตว์เหล่านั้นผู้มีปัญญา ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น กลับได้ความคิดเป็นของตนเอง @เชิงอรรถ : @ ธรรม ในที่นี้หมายถึงสัจธรรม ๔ ประการ (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๔๙/๓๔๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๘๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. โรหิตัสสวรรค ๑๐. อุปักกิเลสสูตร

ได้เห็นสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยง ได้เห็นสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นทุกข์ ได้เห็นสิ่งที่เป็นอนัตตาว่าเป็นอนัตตา ได้เห็นสิ่งที่ไม่งามว่าเป็นของไม่งาม ยึดถือสัมมาทิฏฐิ พ้นทุกข์ทั้งหมดได้
วิปัลลาสสูตรที่ ๙ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๗๙-๘๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=21&siri=49              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=1410&Z=1433                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=49              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=49&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=8020              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=49&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=8020                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i041-e.php#sutta9 https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i041-e2.php#sutta9 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an04/an04.049.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an04/an04.049.olen.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/04/an04-049.html https://suttacentral.net/an4.49/en/sujato https://suttacentral.net/an4.49/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :