ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. อนุตตริยวรรค ๖. มหากัจจานสูตร

๖. มหากัจจานสูตร
ว่าด้วยพระมหากัจจานะ๑-
[๒๖] ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหากัจจานะ เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระมหากัจจานะจึงได้กล่าวดังนี้ว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ได้ตรัสรู้วิธี บรรลุช่องว่างในที่คับแคบ๒- คืออนุสสติฏฐาน ๖ ประการ เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะ(ความเศร้าโศก)และปริเทวะ(ความร่ำไร) เพื่อดับทุกข์ (ความทุกข์กาย)และโทมนัส(ความทุกข์ใจ) เพื่อบรรลุญายธรรม๓- เพื่อทำให้แจ้ง นิพพาน อนุสสติฏฐาน ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ระลึกถึงพระตถาคตว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ สมัยใด อริยสาวก ระลึกถึงพระตถาคต สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะ กลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไป ตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความกำหนัด คำว่า ‘กำหนัด’ นี้ เป็นชื่อของกามคุณ ๕ อริยสาวกนั้นแล มีจิตเสมอ อากาศ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความ เบียดเบียน๔- อยู่โดยประการทั้งปวง @เชิงอรรถ : @ คัมภีร์บางแห่งใช้ว่า มหากัจจายนะ @ ช่องว่างในที่คับแคบ หมายถึงทางหลุดพ้นจากกามคุณ ๕ (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) ทางหลุดพ้น @นั้นคืออนุสสติฏฐาน ๖ ประการ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๖/๑๑๐) @ ญายธรรม หมายถึงอริยมัคคธรรม (สํ.ม. ๑๙/๒๔/๑๕, สํ.ม.อ. ๓/๒๑-๓๐/๑๙๕) @ จิตเสมออากาศ หมายถึงจิตที่ไม่ต้องเกี่ยวข้อง ไม่ต้องผูกพัน @ไพบูลย์ หมายถึงจิตไม่ใช่นิดหน่อย @มหัคคตะ หมายถึงจิตที่ยิ่งใหญ่ หรือเป็นจิตที่พระอริยสาวกจำนวนมากปฏิบัติมา @ไม่มีขอบเขต หมายถึงประมาณไม่ได้ @ไม่มีเวร หมายถึงปราศจากอกุศลเวรและบุคคลผู้เป็นเวรกัน @ไม่มีความเบียดเบียน หมายถึงปราศจากความโกรธและความทุกข์ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๖/๑๑๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๕๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. อนุตตริยวรรค ๖. มหากัจจานสูตร

ผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำพุทธานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมเป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดาอย่างนี้แล ๒. อริยสาวกระลึกถึงพระธรรมว่า ‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระ ภาคตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ สมัยใด อริยสาวก ระลึกถึงพระธรรม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะ กลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนิน ไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความกำหนัด คำว่า ‘กำหนัด’ นี้เป็นชื่อของกามคุณ ๕ อริยสาวกนั้นแล มีจิตเสมอ อากาศ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความ เบียดเบียนอยู่ โดยประการทั้งปวง ผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำธัมมานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมเป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดาอย่างนี้แล ๓. อริยสาวกระลึกถึงพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงพระสงฆ์ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็น จิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความ กำหนัด คำว่า ‘กำหนัด’ นี้เป็นชื่อของกามคุณ ๕ อริยสาวกนั้นแล มีจิตเสมออากาศ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่โดยประการทั้งปวง ผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำสังฆานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมเป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดาอย่างนี้แล ๔. อริยสาวกระลึกถึงศีลของตน ที่ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงศีลของตน สมัยนั้น จิตของอริยสาวก นั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจาก ความกำหนัด คำว่า ‘กำหนัด’ นี้เป็นชื่อของกามคุณ ๕ อริยสาวก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๖๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. อนุตตริยวรรค ๖. มหากัจจานสูตร

นั้นแล มีจิตเสมออากาศ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ โดยประการทั้งปวง ผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำสีลานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมเป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดาอย่างนี้แล ๕. อริยสาวกระลึกถึงจาคะของตนว่า ‘เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดี แล้วหนอ ฯลฯ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกทานอยู่ครองเรือน’ สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงจาคะของตน สมัยนั้น จิตของอริยสาวก นั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจาก ความกำหนัด คำว่า ‘กำหนัด’ นี้ เป็นชื่อของกามคุณ ๕ อริยสาวก นั้นแลมีจิตเสมออากาศ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ โดยประการทั้งปวง ผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำจาคานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมเป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดาอย่างนี้แล ๖. อริยสาวกระลึกถึงเทวดาว่า ‘มีเทวดาชั้นจาตุมหาราช ฯลฯ เทวดา ชั้นสูงขึ้นไปกว่านั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติ จากโลกนี้แล้วไปเกิดในเทวโลกนั้น แม้เราเองก็มีศรัทธาเช่นนั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศีลเช่นใด... สุตะ... จาคะ... ปัญญาเช่นใด แม้เราเองก็มีปัญญาเช่นนั้น สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของตน และของเทวดาเหล่านั้น สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะ กลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิต ออกไป พ้นไป หลุดไปจากความกำหนัด คำว่า ‘กำหนัด’ นี้เป็นชื่อ ของกามคุณ ๕ อริยสาวกนั้นแลมีจิตเสมอด้วยอากาศ อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่โดย ประการทั้งปวง ผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำเทวตานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมเป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดาอย่างนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๖๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. อนุตตริยวรรค ๗. ปฐมสมยสูตร

ผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ได้ตรัสรู้วิธีบรรลุ ช่องว่างในที่คับแคบ คือ อนุสสติฏฐาน ๖ ประการนี้ เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกะ และปริเทวะ เพื่อดับทุกข์ และโทมนัส เพื่อบรรลุ ญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน
มหากัจจานสูตรที่ ๖ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๔๕๙-๔๖๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=22&siri=277              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=7431&Z=7489                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=297              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=297&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=2475              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=297&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=2475                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i292-e.php#sutta6 https://suttacentral.net/an6.26/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :