ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. ธัมมิกวรรค ๑. นาคสูตร

๕. ธัมมิกวรรค
หมวดว่าด้วยพระธัมมิกะ
๑. นาคสูตร
ว่าด้วยนาค๑-
[๔๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครอง อันตรวาสกถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ครั้นเสด็จกลับจาก บิณฑบาตภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว ได้รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์ มาตรัสว่า “มาเถิด อานนท์ เราจักเข้าไปยังปราสาทมิคารมาตา ณ บุพพารามวิหาร เพื่อพักกลางวัน” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมกับท่านพระอานนท์ได้เสด็จเข้าไปยังปราสาท ของมิคารมาตา ณ บุพพารามวิหาร ต่อมาในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออก จากที่หลีกเร้น ได้รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “มาเถิด อานนท์ เราจัก เข้าไปยังท่าน้ำปุพพโกฏฐกะเพื่อสรงน้ำ” ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมกับท่านพระอานนท์ ได้เสด็จเข้าไปยังท่าน้ำ ปุพพโกฏฐกะเพื่อสรงน้ำ ครั้นแล้ว เสด็จขึ้นมามีจีวรผืนเดียวผึ่งพระวรกายอยู่ สมัยนั้น พระเศวตกุญชร๒- ของพระเจ้าปเสนทิโกศล ขึ้นจากท่าน้ำปุพพโกฏฐกะ เพราะเสียงดนตรีใหญ่ที่เขาตีประโคม เหล่าชนเห็นช้างนั้นแล้วจึงกล่าวชมอย่างนี้ว่า “นาคของพระราชาช่างงามยิ่งนัก นาคของพระราชาช่างน่าดู นาคของพระราชา ช่างน่าเลื่อมใส นาคของพระราชามีอวัยวะสมบูรณ์” @เชิงอรรถ : @ คำว่า ‘นาค’ มีความหมาย ๓ นัย คือ (๑) หมายถึงผู้ไม่ทำความชั่วทางกาย วาจา และใจที่เป็นเหตุแห่ง @ความเศร้าหมองมีทุกข์เป็นวิบาก (๒) หมายถึงผู้ไม่ถึงอคติ ๔ ไม่ดำเนินไปด้วยอำนาจราคะ โทสะ โมหะ @มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา และอนุสัย (๓) หมายถึงไม่หวนกลับมาหากิเลสที่ละได้แล้ว (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๔๓/ @๑๒๑) และดู ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๘๐/๒๓๘, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๒๗/๑๔๕-๑๔๖, ๑๐๒/๓๔๘, ๑๓๙/๔๔๘ @ หมายถึงช้างเผือก แปลจากคำว่า “นาโค” ในจำนวนศัพท์ที่เป็นชื่อของช้าง ๑๐ ศัพท์ คือ กุญฺชโร วารโณ @หตฺถี มาตงฺโค ทฺวิรโท คโช นาโค ทฺวิโป อิโภ ทนฺตี (อภิธา.คาถาที่ ๓๖๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๙๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. ธัมมิกวรรค ๑. นาคสูตร

เมื่อมหาชนกล่าวชมอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายี๑- ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนทั้งหลายเห็นช้างเชือกใหญ่ สูง มีอวัยวะสมบูรณ์เท่านั้น หรือ จึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘นาค น่าอัศจรรย์จริง ท่านผู้เจริญ นาค น่าอัศจรรย์จริง’ หรือว่าเห็นสัตว์ชนิดอื่นที่ใหญ่ สูง มีอวัยวะสมบูรณ์จึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘นาค น่าอัศจรรย์จริง ท่านผู้เจริญ นาค น่าอัศจรรย์จริง’ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุทายี คนทั้งหลายเห็นช้างเชือกใหญ่ สูง มีอวัยวะสมบูรณ์ จึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘นาค น่าอัศจรรย์จริง ท่านผู้เจริญ นาค น่าอัศจรรย์จริง’ บ้าง เห็นม้าตัวใหญ่ สูง ฯลฯ เห็นโคตัวใหญ่ สูง ฯลฯ เห็นงูตัวใหญ่ ยาว ฯลฯ เห็นต้นไม้ใหญ่ สูง ฯลฯ เห็นมนุษย์ผู้มีร่างกายใหญ่ สูง มีอวัยวะสมบูรณ์ จึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘นาค น่าอัศจรรย์จริง ท่านผู้เจริญ นาค น่าอัศจรรย์จริง’ บ้าง อุทายี แต่เราเรียกบุคคลผู้ไม่ทำความชั่วทางกาย ทางวาจา ทางใจ ในโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดา และมนุษย์นั้นว่า ‘นาค” ท่านพระอุทายีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย ปรากฏ พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘อุทายี เราเรียกบุคคลผู้ไม่ทำความชั่ว ทางกาย ทางวาจา ทางใจ ในโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่ สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ว่า ‘นาค” ท่านพระอุทายีได้กราบทูลต่อไปว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ ขออนุโมทนาภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้วนี้ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า ข้าพระองค์ได้สดับมาจากพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ว่า มนุษย์ทั้งหลายนอบน้อมพระสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นมนุษย์ ทรงฝึกพระองค์แล้ว๒- มีพระทัยตั้งมั่นแล้ว ผู้ทรงดำเนินไปในทางประเสริฐ @เชิงอรรถ : @ หมายถึงพระกาฬุทายีเถระผู้บรรลุปฏิสัมภิทา (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๔๓/๑๒๑) @ ทรงฝึกพระองค์แล้ว หมายถึงทรงฝึกฝนพระองค์ในฐานะ ๖ ประการ คือ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น @ทางกาย ทางใจ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๔๓/๑๒๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๙๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. ธัมมิกวรรค ๑. นาคสูตร

ผู้ทรงยินดีในความสงบแห่งจิต๑- ผู้ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง๒- แม้เทวดาทั้งหลายก็นอบน้อมพระสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวงได้ ทรงบรรลุนิพพานซึ่งเป็นทางออกจากป่าคือกิเลส ผู้ทรงยินดีในเนกขัมมะ๓- ผู้หลุดพ้นแล้ว เหมือนทองคำที่พ้นจากหิน พระองค์ผู้ทรงพระนามว่านาค รุ่งเรืองล่วงสรรพสัตว์ เหมือนภูเขาหิมพานต์ที่สูงกว่าภูเขาลูกอื่นๆ พระองค์ผู้ทรงพระนามว่านาคอันเป็นพระนามจริง ที่ยอดเยี่ยมกว่าเทวดาผู้มีนามว่านาคทุกจำพวก ข้าพระองค์จักประกาศพระองค์ผู้ทรงพระนามว่านาค เพราะพระองค์ไม่ทรงทำความชั่ว พระองค์ผู้ทรงพระนามว่านาค ทรงมีโสรัจจะและอวิหิงสาเป็นเท้าหน้าทั้งสอง ทรงมีตบะและพรหมจรรย์ เป็นเท้าหลังทั้งสอง ทรงเป็นดุจช้างตัวประเสริฐ ทรงมีศรัทธาเป็นงวง มีอุเบกขาเป็นงาขาว มีสติเป็นคอ มีปัญญาเป็นเศียร มีการสอดส่องธรรมเป็นปลายงวง มีธรรมเครื่องเผากิเลสเป็นท้อง มีวิเวกเป็นหาง @เชิงอรรถ : @ ยินดีในความสงบแห่งจิต หมายถึงยินดีในความสงบแห่งจิตที่ระงับนิวรณ์ ๕ ได้ด้วยปฐมฌาน ระงับ @วิตกวิจารได้ด้วยทุติยฌาน ระงับปีติได้ด้วยตติยฌาน ระงับสุขและทุกข์ได้ด้วยจตุตถฌาน @(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๔๓/๑๒๒) @ ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง หมายถึงรู้ยิ่ง กำหนดรู้ ละ เจริญ ทำให้แจ้ง และเข้าถึงธรรมทั้งปวง คือ ขันธ์ ๕ @อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๔๓/๑๒๒) @ เนกขัมมะ หมายถึงบรรพชา สมาบัติ และอริยมรรค เพราะเป็นเครื่องออกจากกาม ๒ ประเภท คือกิเลสกาม @และวัตถุกาม (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๔๓/๑๒๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๐๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. ธัมมิกวรรค ๑. นาคสูตร

พระองค์ผู้ทรงมีฌาน ทรงยินดีลมอัสสาสะปัสสาสะ๑- ทรงมีจิตตั้งมั่นดีภายใน ดำเนินไปก็ทรงมีจิตตั้งมั่น ประทับยืนก็ทรงมีจิตตั้งมั่น บรรทมก็ทรงมีจิตตั้งมั่น ประทับนั่งก็ทรงมีจิตตั้งมั่น ทรงสำรวมแล้วในทวารทั้งปวง นี้เป็นสมบัติของพระองค์ผู้ทรงพระนามว่านาค พระองค์ผู้ทรงพระนามว่านาค เสวยแต่สิ่งที่ไม่มีโทษ ไม่เสวยสิ่งที่มีโทษ ได้อาหารและเครื่องนุ่งห่มแล้ว ทรงเว้นการสะสม ทรงตัดสังโยชน์เครื่องผูกพันน้อยใหญ่ทั้งปวงได้ จะเสด็จไป ณ ที่ใดๆ ก็ไม่มีความห่วงใยเสด็จไปในที่นั้นๆ ดอกบัวขาว มีกลิ่นหอม น่ารื่นรมย์ใจ เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำ ฉันใด พระองค์ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงอุบัติดีแล้วในโลก เป็นพระพุทธเจ้าในโลก แต่ไม่ติดอยู่กับโลก เหมือนดอกบัวหลวงไม่เปียกน้ำ ฉะนั้น ไฟกองใหญ่ลุกโชนโชติช่วง ย่อมดับเพราะหมดเชื้อ ฉันใด พระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสังขารทั้งหลายสงบระงับไปแล้ว ชาวโลกก็เรียกกันว่าทรงนิพพานแล้ว ข้ออุปมาที่ให้รู้เนื้อความชัดแจ้งนี้ @เชิงอรรถ : @ ลมอัสสาสะปัสสาสะ ในที่นี้หมายถึงผลสมาบัติ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๔๓/๑๒๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๐๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. ธัมมิกวรรค ๒. มิคสาลาสูตร

อันวิญญูชนทั้งหลายแสดงไว้แล้ว พระอรหันต์ทั้งหลายผู้เป็นมหานาค จักรู้แจ้งพระองค์ผู้ทรงพระนามว่านาค ที่ท่านผู้เป็นนาคแสดงไว้แล้ว พระองค์ผู้ทรงพระนามว่านาค ทรงปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ ไม่มีอาสวะ เมื่อทรงละสรีระ จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพาน”
นาคสูตรที่ ๑ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๔๙๘-๕๐๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=22&siri=294              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=8113&Z=8198                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=314              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=314&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=2698              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=314&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=2698                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i314-e.php# https://suttacentral.net/an6.43/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :