ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. มุณฑราชวรรค ๕. ปุญญาภิสันทสูตร

๕. ปุญญาภิสันทสูตร๑-
ว่าด้วยห้วงบุญกุศล
[๔๕] ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศล๒- ๕ ประการนี้ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อ ให้ได้อารมณ์ดี๓- มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ห้วงบุญกุศล ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุใช้สอยจีวรของทายกใด บรรลุเจโตสมาธิที่ประมาณไม่ได้อยู่๔- ห้วงบุญกุศลของทายกนั้นประมาณไม่ได้ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อ ให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ๒. ภิกษุฉันบิณฑบาตของทายกใด ... ๓. ภิกษุใช้สอยวิหารของทายกใด ... ๔. ภิกษุใช้สอยเตียงตั่งของทายกใด ... ๕. ภิกษุใช้สอยคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารของทายกใด บรรลุเจโต- สมาธิที่ประมาณไม่ได้อยู่ ห้วงบุญกุศลของทายกนั้นประมาณไม่ได้ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ห้วงบุญกุศล ๕ ประการนี้แล นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุข เป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๕๑/๘๔ @ ห้วงบุญกุศล ในที่นี้หมายถึงผลบุญกุศลที่หลั่งไหลนำความสุขมาสู่ผู้บำเพ็ญอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๑/๓๔๘, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๕๑/๓๘๒) @ อารมณ์ดี ในที่นี้หมายถึงอารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๑/๓๔๘) @ เจโตสมาธิที่ประมาณไม่ได้ ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผลสมาธิ (สมาธิในขั้นอรหัตตผล) @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๑/๓๔๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๗๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. มุณฑราชวรรค ๕. ปุญญาภิสันทสูตร

การกำหนดประมาณบุญของอริยสาวกผู้เพียบพร้อมด้วยห้วงบุญกุศล ๕ ประการ นี้ว่า ‘ห้วงบุญกุศลมีประมาณเท่านี้ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุข เป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร น่าพอใจ’ มิใช่จะทำได้ง่าย แท้จริง ห้วงบุญกุศลนั้นย่อมถึงการนับว่า ‘เป็นกองบุญใหญ่ที่นับ ไม่ได้ ประมาณไม่ได้เลย’ การกำหนดปริมาณของน้ำในมหาสมุทรว่า ‘น้ำมีปริมาณเท่านี้อาฬหกะ๑- น้ำมี ปริมาณเท่านี้ ๑๐๐ อาฬหกะ น้ำมีปริมาณเท่านี้ ๑,๐๐๐ อาฬหกะ หรือน้ำมีปริมาณ เท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ อาฬหกะ’ มิใช่จะทำได้ง่าย แท้จริง ปริมาณของน้ำในมหาสมุทรนั้น ย่อมถึงการนับว่า ‘เป็นห้วงน้ำใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้เลย’ ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย การกำหนดประมาณของอริยสาวกผู้เพียบพร้อมด้วยห้วงบุญ กุศล ๕ ประการนี้ว่า ‘ห้วงบุญกุศลมีประมาณเท่านี้ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้ อารมณ์ดี มีสุขเป็นผลให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ’ มิใช่จะทำได้ง่าย แท้จริง ห้วงบุญกุศลนั้นย่อมถึงการนับว่า ‘เป็นกองบุญใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้เลย’ ฉันนั้น แม่น้ำหลายสายคับคั่งไปด้วยหมู่ปลา ไหลบ่าไปยังมหาสมุทร @เชิงอรรถ : @ อาฬหกะ เป็นชื่อมาตราตวงชนิดหนึ่งของอินเดียโบราณ มีลำดับมาตราดังนี้ @๔ กุฑวะ หรือ ปสตะ (ฟายมือ) เป็น ๑ ปัตถะ (กอบ) @๔ ปัตถวะ เป็น ๑ อาฬหกะ @๔ อาฬหกะ เป็น ๑ โทณะ @๔ โทณะ เป็น ๑ มาณิกา @๔ มาณิกา เป็น ๑ ขารี @๒๐ ขารี เป็น ๑ วาหะ (เกวียน) @๒๐ วาหะ เป็น ๑ ธารณะ @๒๐ ธารณะ เป็น ๑ ปละ @๑๐๐ ปละ เป็น ๑๒ ตุลา @๒๐ ตุลา เป็น ๑ ภาระ @(ดู อภิธา.ฏีกา คาถา ๔๘๐-๔๙๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๗๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. มุณฑราชวรรค ๖. สัมปทาสูตร

อันเป็นที่ขังน้ำขนาดใหญ่ประมาณไม่ได้ มีสิ่งที่น่ากลัวมาก เป็นแหล่งรัตนะชั้นเยี่ยม ฉันใด สายธารแห่งบุญ ย่อมหลั่งไหลไปสู่นรชน ผู้เป็นบัณฑิต ผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน ที่นั่ง และเครื่องปูลาด เปรียบเหมือนแม่น้ำคือห้วงน้ำไหลไปยังมหาสมุทร ฉันนั้น
ปุญญาภิสันทสูตรที่ ๕ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๗๓-๗๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=22&siri=45              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=1170&Z=1200                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=45              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=45&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=590              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=45&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=590                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i041-e.php#sutta5 https://suttacentral.net/an5.45/en/sujato https://suttacentral.net/an5.45/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :