ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๒. โอวาทสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้จะสอนภิกษุณี
[๕๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุประกอบด้วยธรรมเท่าไรหนอ สงฆ์จึงควรสมมติ ให้เป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ สงฆ์จึงควรสมมติให้เป็นผู้สอนภิกษุณี ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้มีศีล ฯลฯ๑- สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๒. เป็นพหูสูต ฯลฯ๒- แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ @เชิงอรรถ : @ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๒ (ปัญญาสูตร) หน้า ๑๙๗ ในเล่มนี้ @ ดูความเต็มตามข้อที่อ้างในเชิงอรรถที่ ๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๓๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. โคตมีวรรค ๓. สังขิตตสูตร

๓. เป็นผู้ทรงจำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดี จำแนกได้ดี ให้เป็นไปได้ดีโดย พิสดาร วินิจฉัยได้ดีโดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ๑- ๔. เป็นผู้มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาชาวเมือง ที่สละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ความหมายได้ ๕. เป็นผู้สามารถที่จะชี้แจงให้ภิกษุณีสงฆ์เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอา ไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ๖. เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของภิกษุณีโดยมาก ๗. เป็นผู้ไม่เคยประพฤติล่วงครุธรรม๒- ในสตรีผู้นุ่งห่มผ้ากาสายะบวชอุทิศ พระผู้มีพระภาคพระองค์นี้ ๘. มีพรรษา ๒๐ หรือเกิน ๒๐ อานนท์ ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล สงฆ์จึงควรสมมติให้เป็นผู้ สั่งสอนภิกษุณี”
โอวาทสูตรที่ ๒ จบ
๓. สังขิตตสูตร
ว่าด้วยลักษณะธรรมวินัยโดยย่อ๓-
[๕๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล พระนางมหาปชาบดีโคตมีได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคดังนี้ว่า @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ในสัตตกนิบาต ข้อ ๗๖ (ทุติยวินยธรสูตร) หน้า ๑๗๓ ในเล่มนี้ @ เป็นผู้ไม่เคยประพฤติล่วงครุธรรม หมายถึงในสมัยที่เป็นคฤหัสถ์ ไม่เคยจับต้องกายภิกษุณี ไม่เคย @ประพฤติผิดประเวณีกับนางสิกขมานาหรือสามเณรี (วิ.อ. ๒/๑๔๕-๑๔๗/๓๑๙, องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๕๒/๒๖๕) @ วิ.จู. (แปล) ๗/๔๐๖/๓๒๒-๓๒๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๓๓๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๓๓๗-๓๓๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=23&siri=125              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=5888&Z=5907                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=142              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=142&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=5960              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=142&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=5960                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i141-e.php#sutta2 https://suttacentral.net/an8.52/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :