ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. สัมโพธิวรรค ๒. นิสสยสูตร

๒. นิสสยสูตร
ว่าด้วยนิสสัย
[๒] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลที่เรียกกันว่า ‘ผู้ถึงพร้อมด้วยนิสสัย๑- ผู้ถึงพร้อม ด้วยนิสสัย’ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยนิสสัย ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ๑. ถ้าภิกษุอาศัยศรัทธาแล้ว ละอกุศล เจริญกุศลได้ อกุศลนั้นย่อม เป็นอันเธอละได้แน่แท้ ๒. ถ้าภิกษุอาศัยหิริ ฯลฯ ๓. ถ้าภิกษุอาศัยโอตตัปปะ ฯลฯ ๔. ถ้าภิกษุอาศัยวิริยะ ฯลฯ ๕. ถ้าภิกษุอาศัยปัญญาแล้ว ละอกุศล เจริญกุศลได้ อกุศลนั้นย่อม เป็นอันเธอละได้แน่แท้ อกุศลที่ภิกษุละได้แล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา อันเป็นอริยะ๒- เป็นอันภิกษุนั้นละได้แล้ว ละได้ดีแล้ว ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในธรรม ๕ ประการแล้ว พึงอาศัยธรรม ๔ ประการอยู่ ธรรม ๔ ประการ๓- อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. พิจารณาแล้วเสพ ๒. พิจารณาแล้วอดกลั้น @เชิงอรรถ : @ นิสสัย ในที่นี้หมายถึงที่พึ่ง (องฺ.นวก.อ. ๓/๒/๒๘๖) @ ปัญญาอันเป็นอริยะ หมายถึงปัญญาในอริยมรรคพร้อมทั้งวิปัสสนา (องฺ.นวก.อ. ๓/๒/๒๘๖) @ พิจารณาแล้วเสพ หมายถึงพิจารณาแล้วเสพปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้น @พิจารณาแล้วอดกลั้น หมายถึงพิจารณาแล้วอดกลั้นต่อความหนาวเป็นต้น @พิจารณาแล้วเว้น หมายถึงพิจารณาแล้วเว้นช้างดุร้าย หรือคนพาลเป็นต้น @พิจารณาแล้วบรรเทา หมายถึงพิจารณาแล้วบรรเทาอกุศลวิตก มีกามวิตก เป็นต้น @ดู ที.ปา. ๑๑/๓๐๘/๒๐๐, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๐/๔๐, ที.ปา.อ. ๓๐๘/๒๐๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๒๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. สัมโพธิวรรค ๓. เมฆิยสูตร

๓. พิจารณาแล้วเว้น ๔. พิจารณาแล้วบรรเทา ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยนิสสัย เป็นอย่างนี้แล”
นิสสยสูตรที่ ๒ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๔๒๙-๔๓๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=23&siri=165              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=7515&Z=7530                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=206              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=206&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=6436              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=206&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=6436                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i205-e.php#sutta2 https://suttacentral.net/an9.2/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :