ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๓. ตัณหามูลกสูตร
ว่าด้วยตัณหามูลธรรม๑-
[๒๓] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมมีตัณหาเป็นมูลเหตุ ๙ ประการ พวกเธอจงฟังธรรมนั้น ธรรมมีตัณหาเป็นมูลเหตุ ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เพราะอาศัยตัณหา การแสวงหาจึงเกิดขึ้น ๒. เพราะอาศัยการแสวงหา การได้จึงเกิดขึ้น @เชิงอรรถ : @ ดู ที.ปา ๑๑/๓๕๙/๒๗๓, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๖๓/๖๑๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๘๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. สัตตาวาสวรรค ๔. สัตตาวาสสูตร

๓. เพราะอาศัยการได้ การวินิจฉัยจึงเกิดขึ้น ๔. เพราะอาศัยการวินิจฉัย๑- ฉันทราคะ๒- จึงเกิดขึ้น ๕. เพราะอาศัยฉันทราคะ ความหลงใหลจึงเกิดขึ้น ๖. เพราะอาศัยความหลงใหล ความหวงแหนจึงเกิดขึ้น ๗. เพราะอาศัยความหวงแหน ความตระหนี่จึงเกิดขึ้น ๘. เพราะอาศัยความตระหนี่ การรักษาจึงเกิดขึ้น ๙. เพราะอาศัยการรักษา บาปอกุศลธรรมหลายประการ คือ การถือ ท่อนไม้ การถือศัสตรา การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การพูดขึ้นมึง กู การพูดส่อเสียด การพูดเท็จ จึงเกิดขึ้น ภิกษุทั้งหลาย ธรรมมีตัณหาเป็นมูลเหตุ ๙ ประการนี้แล
ตัณหามูลกสูตรที่ ๓ จบ
๔. สัตตาวาสสูตร
ว่าด้วยสัตตาวาส๓-
[๒๔] ภิกษุทั้งหลาย สัตตาวาส (ภพเป็นที่อยู่แห่งสัตว์) ๙ ประการนี้ สัตตาวาส ๙ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. มีสัตว์ผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน คือ มนุษย์บางพวก เทวดา บางพวก และวินิปาติกะบางพวก นี้เป็นสัตตาวาสประการที่ ๑ @เชิงอรรถ : @ วินิจฉัย หมายถึงวินิจฉัย ๔ ประการ คือ (๑) ญาณวินิจฉัย ได้แก่ รู้การตกลงใจว่าเป็นสุขหมั่นประกอบ @ความสุขภายใน (๒) ตัณหาวินิจฉัย ได้แก่ ตัณหาวินิจฉัย ๑๐๘ (๓) ทิฏฐิวินิจฉัย ได้แก่ ทิฏฐิ ๖๒ @(๔) วิตักกวินิจฉัย ได้แก่ ฉันทะที่เป็นเหตุเกิดแห่งวิตก และในที่นี้หมายถึงวิตักกวินิจฉัยเท่านั้น เพราะแม้ @ได้ลาภ ก็วินิจฉัยถึงสิ่งที่น่าปรารถนาและสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา วินิจฉัยถึงสิ่งที่ดีและไม่ดีด้วยวิตกทั้งนั้นว่า @สิ่งนี้มีแก่เรา สิ่งนี้มีแก่ผู้อื่น เราใช้สิ่งนี้ เรางดเว้นสิ่งนี้” (องฺ.นวก.อ. ๓/๒๓/๓๐๔) @ ฉันทราคะ ในที่นี้หมายถึงราคะที่มีกำลังอ่อน ไม่ใช่ราคะที่มีกำลังกล้า เกิดขึ้นเมื่อถูกอกุศลวิตกครอบงำ @(องฺ.นวก.อ. ๓/๒๓/๓๐๕) @ ดูสัตตกนิบาต ข้อ ๔๔ (สัตตวิญญาณัฏฐิติสูตร) หน้า ๖๗-๖๘ ในเล่มนี้ และดู ที.ม. ๑๐/๑๒๗/๖๑-๖๒, @ที.ปา. ๑๑/๓๕๗/๒๕๘, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๘๓/๒๘๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๘๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๔๘๐-๔๘๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=23&siri=186              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=8523&Z=8533                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=227              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=227&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=6852              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=227&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=6852                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i225-e.php#sutta3 https://suttacentral.net/an9.23/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :