ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. สามัญญวรรค ๑. สัมพาธสูตร

๕. สามัญญวรรค
หมวดว่าด้วยสามัญญธรรม
๑. สัมพาธสูตร
ว่าด้วยวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบ๑-
[๔๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ครั้งนั้นแล ท่านพระอุทายีเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ สนทนาปราศรัยกับ ท่านพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่าน พระอานนท์ดังนี้ว่า “ผู้มีอายุ ปัญจาลจัณฑเทพบุตรได้กล่าวไว้ดังนี้ว่า ‘พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ผู้ทรงหลีกเร้นอยู่ ทรงเป็นพระมุนีผู้ประเสริฐ ได้ตรัสรู้ฌานแล้ว พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น มีพระปัญญากว้างขวาง ได้ทรงรู้วิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบ’ ผู้มีอายุ ที่คับแคบ เป็นอย่างไร วิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบ พระผู้มีพระภาค ตรัสไว้อย่างไร” ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “ผู้มีอายุ กามคุณ ๕ ประการนี้ พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ที่คับแคบ กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๓๔ (นิพพานสุขสูตร) หน้า ๕๐๐ และดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๓๗ หน้า ๕๑๓ ในเล่มนี้ @และดู ที.ม. ๑๐/๒๘๘/๑๘๓, ที.ม.อ. ๒/๒๘๘/๒๕๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๓๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. สามัญญวรรค ๑. สัมพาธสูตร

๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ ๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ ๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ผู้มีอายุ กามคุณ ๕ ประการนี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ที่คับแคบ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบโดยปริยาย๑- หนึ่งด้วยเหตุ เพียงเท่านี้ แม้ในปฐมฌานนั้นก็ยังมีที่คับแคบ อะไรชื่อว่าที่คับแคบในปฐมฌานนั้น วิตกและวิจารที่ยังไม่ดับในปฐมฌานนั้น ชื่อว่าที่คับแคบในปฐมฌานนี้ ภิกษุ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่ พระผู้มีพระภาค ตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบโดยปริยายหนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ในทุติยฌาน นั้น ก็ยังมีที่คับแคบ อะไรชื่อว่าที่คับแคบในทุติยฌานนั้น ปีติที่ยังไม่ดับในทุติยฌานนั้น ชื่อว่าที่คับแคบในทุติยฌานนี้ ภิกษุ เพราะปีติจางคลายไป เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย นามกาย บรรลุตติยฌาน ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบ โดยปริยายหนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ในตติยฌานนั้นก็ยังมีที่คับแคบ อะไรชื่อว่า ที่คับแคบในตติยฌานนั้น อุเบกขาและสุขที่ยังไม่ดับในตติยฌานนั้น ชื่อว่าที่คับแคบ ในตติยฌานนี้ ภิกษุ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุ จตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุถึงช่องว่างในที่คับแคบโดยปริยายหนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ในจตุตถฌานนั้นก็ยังมีที่คับแคบ อะไรชื่อว่าที่คับแคบใน จตุตถฌานนั้น รูปสัญญาที่ยังไม่ดับในจตุตถฌานนั้น ชื่อว่าที่คับแคบในจตุตถฌานนี้ @เชิงอรรถ : @ ปริยาย ในที่นี้หมายถึงเหตุหนึ่งๆ หรือวิธีหนึ่งๆ กล่าวคือทรงแสดงว่าวิธีแต่ละอย่าง ต่างก็เป็น “ช่องว่าง” @ในที่คับแคบแต่ละอย่าง เช่น ปฐมฌาน เป็นช่องว่างในที่คับแคบคือกามคุณ ๕ และนิวรณ์ ๕ ทุติยฌาน @เป็นช่องว่างในที่คับแคบคือวิตกและวิจาร (องฺ.นวก.อ. ๓/๔๒/๓๑๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๓๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. สามัญญวรรค ๑. สัมพาธสูตร

ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา พระผู้มีพระภาค ตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบโดยปริยายหนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ใน อากาสานัญจายตนฌานนั้นก็ยังมีที่คับแคบ อะไรชื่อว่าที่คับแคบในอากาสานัญจายตน- ฌานนั้น อากาสานัญจายตนสัญญาที่ยังไม่ดับในอากาสานัญจายตนฌานนั้น ชื่อว่า ที่คับแคบในอากาสานัญจายตนฌานนี้ ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตน- ฌาน โดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุช่องว่าง ในที่คับแคบโดยปริยายหนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ในวิญญาณัญจายตนฌานก็ยังมี ที่คับแคบ อะไรชื่อว่าที่คับแคบในวิญญาณัญจายตนฌานนั้น วิญญาณัญจายตนสัญญา ที่ยังไม่ดับในวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ชื่อว่าที่คับแคบในวิญญาณัญจายตนฌานนี้ ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบโดย ปริยายหนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ในอากิญจัญญายตนฌานก็ยังมีที่คับแคบ อะไร ชื่อว่าที่คับแคบในอากิญจัญญายตนฌานนั้น อากิญจัญญายตนสัญญาที่ยังไม่ดับใน อากิญจัญญายตนฌานนั้น ชื่อว่าที่คับแคบในอากิญจัญญายตนฌานนี้ ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานา- สัญญายตนฌานอยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบโดยปริยายหนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานก็ยังมีที่คับแคบ อะไรชื่อว่า ที่คับแคบในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ที่ยังไม่ดับในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ชื่อว่าที่คับแคบในเนวสัญญานา- สัญญายตนฌานนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๓๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. สามัญญวรรค ๒. กายสักขีสูตร

ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญา- เวทยิตนิโรธอยู่ อาสวะทั้งหลายของเธอหมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสวิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบโดยนิปปริยาย๑- แล้ว ด้วยเหตุเพียง เท่านี้
สัมพาธสูตรที่ ๑ จบ
๒. กายสักขีสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นกายสักขี
[๔๓] ท่านพระอุทายีถามว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘กายสักขี กายสักขี’ ผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกบุคคล ว่า กายสักขี”๒- ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ และอายตนะคือปฐมฌานนั้นมีอยู่โดยประการใดๆ เธอสัมผัส อายตนะคือปฐมฌานนั้นด้วยกาย๓- โดยประการนั้นๆ อยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกบุคคลว่า ‘กายสักขี’ โดยปริยายแล้ว (๑) ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ และอายตนะคือจตุตถฌานนั้นมีอยู่โดยประการใดๆ เธอสัมผัสอายตนะคือจตุตถฌาน นั้นด้วยกายโดยประการนั้นๆ อยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียก บุคคลว่า ‘กายสักขี’ โดยปริยายแล้ว (๒-๔) @เชิงอรรถ : @ นิปปริยาย วิธีนี้เป็นวิธีบรรลุช่องว่างคือการสิ้นอาสวะได้อย่างดีเยี่ยม เพราะเป็นวิธีที่ละที่คับแคบได้อย่าง @สิ้นเชิง (องฺ.นวก.อ. ๓/๔๒/๓๑๕) @ ดูเชิงอรรถที่ ๔ สัตตกนิบาต ข้อ ๑๔ (ปุคคลสูตร) หน้า ๒๐ ในเล่มนี้ @ กาย ในที่นี้หมายถึงนามกาย (องฺ.นวก.อ. ๓/๔๓/๓๑๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๓๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๕๓๓-๕๓๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=23&siri=205              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=9544&Z=9603                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=246              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=246&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=7102              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=246&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=7102                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i246-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an09/an09.042.than.html https://suttacentral.net/an9.42/en/sujato https://suttacentral.net/an9.42/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :