ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๖. วิตถตธนสูตร๒-
ว่าด้วยอริยทรัพย์โดยพิสดาร
[๖] ภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้ ทรัพย์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัทธาธนะ ๒. สีลธนะ ๓. หิริธนะ ๔. โอตตัปปธนะ ๕. สุตธนะ ๖. จาคธนะ ๗. ปัญญาธนะ สัทธาธนะ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา คือ เชื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของ ตถาคตว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ฯลฯ๓- เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ นี้เรียกว่า สัทธาธนะ @เชิงอรรถ : @ การเห็นธรรม ในที่นี้หมายถึงเห็นอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๒/๓๔๙) @และดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๕๒/๘๗ @ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๓๐/๒๒๑, องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๔๗/๗๖ @ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๒๙ (อักขณสูตร) หน้า ๒๗๖ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑. ธนวรรค ๖. วิตถตธนสูตร

สีลธนะ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ๑- เป็นผู้เว้นขาด จากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย๒- อันเป็นเหตุแห่งความประมาท นี้เรียกว่า สีลธนะ หิริธนะ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีหิริ คือ ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ละอายต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า หิริธนะ โอตตัปปธนะ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีโอตตัปปะ คือ สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า โอตตัปปธนะ สุตธนะ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นพหูสูต ทรงสุตะ๓- สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมาก ซึ่งธรรมทั้งหลายที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงาม @เชิงอรรถ : @ ดูความเต็มและความพิสดารในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๔๑ (สังขิตตุโปสถสูตร) หน้า ๓๐๓-๓๐๔ ในเล่มนี้ @ สุราและเมรัย หมายถึงสุรา ๕ อย่าง คือ (๑) สุราแป้ง (๒) สุราขนม (๓) สุราข้าวสุก (๔) สุราใส่เชื้อ @(๕) สุราผสมเครื่องปรุง และเมรัย ๕ อย่าง คือ (๑) เครื่องดองดอกไม้ (๒) เครื่องดองผลไม้ (๓) เครื่องดอง @น้ำอ้อย (๔) เครื่องดองผสมเครื่องปรุง (๕) เครื่องดองน้ำผึ้ง (ขุ.ขุ.อ. ๒/๑๗-๑๘) @ส่วนใน องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๙/๖๙, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๗๙/๖๖ อธิบายว่า เมรัยมี ๔ อย่าง กล่าวคือ @ไม่มีเครื่องดองผสมเครื่องปรุง @คำว่า ‘เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย’ อาจแปลได้อีกว่า ‘เว้นขาดจากการเสพสุรา @เมรัยและของมึนเมา’ ตามนัยนี้คือ ‘ตทุภยเมว (สุราเมรยํ) มทนียฏฺเฐน มชฺชํ, ยํ วา ปนญฺญมฺปิ กิญฺจิ @มทนียํ’ แปลว่า สุราและเมรัยทั้งสองนั้นแหละ เป็นของมึนเมา เพราะเป็นเหตุให้เมา และยังมีสิ่งอื่นอีกที่ @เป็นของมึนเมา (ขุ.ขุ.อ. ๒/๑๘) @ สุตะ ในที่นี้หมายถึงนวังคสัตถุศาสน์ คำสอนของพระศาสดามีองค์ ๙ คือ (๑) สุตตะ ได้แก่ อุภโตวิภังค์ @นิทเทส ขันธกะ ปริวาร พระสูตรในสุตตนิบาต และพุทธวจนะอื่นๆ ที่มีชื่อว่าสุตตะ หรือสุตตันตะ @(๒) เคยยะ ได้แก่ ความที่มีร้อยแก้ว และร้อยกรองผสมกัน หมายถึงพระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด โดยเฉพาะ @สคาถวรรค ในสังยุตตนิกาย (๓) เวยยากรณะ ได้แก่ ความร้อยแก้วล้วน หมายเอาอภิธรรมปิฎกทั้งหมด @พระสูตรที่ไม่มีคาถา และพระพุทธพจน์อื่นใดที่ไม่จัดเข้าในองค์ ๘ ข้อที่เหลือ (๔) คาถา ได้แก่ ความ @ร้อยกรองล้วน หมายเอาธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วนในสุตตนิบาตที่ไม่มีชื่อว่าเป็นสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑. ธนวรรค ๖. วิตถตธนสูตร

ในที่สุด๑- ประกาศพรหมจรรย์๒- พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์๓- ครบถ้วน ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ๔- นี้เรียกว่า สุตธนะ จาคธนะ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละแล้ว มีฝ่ามือชุ่ม๕- ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกทาน อยู่ครองเรือน นี้เรียกว่า จาคธนะ @เชิงอรรถ : @(๕) อุทาน ได้แก่ พระคาถาที่ทรงเปล่งด้วยพระทัยอันสหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณพร้อมทั้ง @ข้อความอันประกอบอยู่ด้วย รวมเป็นพระสูตร ๘๒ สูตร (๖) อิติวุตตกะ ได้แก่ พระสูตร ๑๑๐ สูตรที่ @ตรัสโดยนัยว่า “วุตฺตํ เหตํ ภควตา” (๗) ชาตกะ ได้แก่ ชาดก ๕๕๐ เรื่อง มีอปัณณกชาดก เป็นต้น @(๘) อัพภูตธรรม ได้แก่ พระสูตรที่ว่าด้วยเหตุอัศจรรย์ทุกสูตร เช่นที่ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเป็น @อัจฉริยะไม่เคยปรากฏ ๔ ประการนี้ มีอยู่ในอานนท์” ดังนี้ เป็นต้น (๙) เวทัลละ ได้แก่ พระสูตรแบบถาม @ตอบซึ่งผู้ถามได้ทั้งความรู้และความพอใจถามต่อๆ ไป เช่น จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร @สักกปัญหสูตร สังขารภาชนิยสูตร และมหาปุณณมสูตร (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๖/๒๘๒, วิ.อ. ๑/๒๖) และดู @องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๖/๙-๑๑, องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๗๓/๑๒๓ @ มีความงามในเบื้องต้น หมายถึงศีล มีความงามในท่ามกลาง หมายถึงอริยมรรค และ มีความงาม @ในที่สุด หมายถึงพระนิพพาน (ที.สี.อ. ๑/๑๙๐/๑๕๙) @ พรหมจรรย์ หมายถึงความประพฤติประเสริฐ มีนัย ๑๐ ประการ คือ ทาน (การให้) เวยยาวัจจะ (การ @ขวนขวายช่วยเหลือ) ปัญจสีละ (ศีลห้า) อัปปมัญญา (การประพฤติพรหมวิหารอย่างไม่มีขอบเขต) @เมถุนวิรัติ (การงดเว้นจากการเสพเมถุน) สทารสันโดษ (ความยินดีเฉพาะคู่ครองของตน) วิริยะ (ความเพียร) @อุโปสถังคะ (องค์อุโบสถ) อริยมรรค (ทางอันประเสริฐ) และศาสนา (พระพุทธศาสนา) ในที่นี้หมายถึงศาสนา @(ที.สี.อ. ๑/๑๙๐/๑๖๐-๑๖๒) @ บริสุทธิ์ หมายถึงไม่มีสิ่งเป็นโทษที่จะต้องนำออก บริบูรณ์ หมายถึงเต็มที่แล้วโดยไม่ต้องนำไปเพิ่มอีก @(ตามนัย วิ.อ. ๑/๑/๑๒๑) @ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ หมายถึงรู้แจ้งธรรมโดยผลและเหตุด้วยปัญญา (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๒/๓๐๐) @ มีฝ่ามือชุ่ม หมายถึงมีมือล้างสะอาดแล้วด้วยน้ำคือศรัทธา ถ้าคนไม่มีศรัทธาแม้จะล้างถึง ๗ ครั้งก็ชื่อว่า @มีมือยังไม่ได้ล้าง มีมือสกปรก แต่คนมีศรัทธา แม้มีมือสกปรกก็ชื่อว่ามีมือสะอาดแล้ว @(องฺ.ติก.อ. ๒/๔๒/๑๔๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑. ธนวรรค ๖. วิตถตธนสูตร

ปัญญาธนะ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญา ฯลฯ๑- ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญาธนะ ภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้แล ผู้ใดจะเป็นสตรี หรือบุรุษก็ตาม มีทรัพย์ ๗ ประการนี้ คือ สัทธาธนะ สีลธนะ หิริธนะ โอตตัปปธนะ สุตธนะ จาคธนะ และปัญญาธนะ บัณฑิตทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า ‘เป็นคนไม่ขัดสน’ ชีวิตของเขาก็ไม่สูญเปล่า เพราะฉะนั้น ผู้มีปัญญา เมื่อระลึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ควรหมั่นประกอบศรัทธา ศีล ความเลื่อมใสและการเห็นธรรม
วิตถตธนสูตรที่ ๖ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูความเต็มในข้อ ๔ (วิตถตพลสูตร) หน้า ๕ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๙-๑๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=23&siri=6              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=99&Z=135                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=6              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=6&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=6&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i001-e.php#sutta6 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an07/an07.006.than.html https://suttacentral.net/an7.6/en/sujato https://suttacentral.net/an7.6/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :