ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๓. อัสสาชานิยสูตร

๓. อัสสาชานิยสูตร
ว่าด้วยม้าอาชาไนย
[๑๓] ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนย๑- พันธุ์ดีของพระราชา ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้ องค์ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชาในโลกนี้ ๑. เป็นสัตว์มีกำเนิดดีทั้งฝ่ายแม่ม้าและพ่อม้า เกิดในทิศที่ม้าอาชาไนย พันธุ์ดีอื่นๆ เกิด ๒. กินหญ้าสดหรือหญ้าแห้งที่เขาให้อย่างเรียบร้อยไม่เรี่ยราด ๓. รังเกียจที่จะหมอบทับหรือนอนทับอุจจาระหรือปัสสาวะ ๔. เป็นสัตว์สงบเสงี่ยม อยู่ร่วมกันเป็นสุข ไม่รบกวนม้าอื่นๆ ๕. เป็นสัตว์เปิดเผยความโอ้อวด ความพยศคดโกงแก่นายสารถีตาม ความเป็นจริง ๖. นายสารถีพยายามปราบความโอ้อวด ความพยศคดโกงเหล่านั้นของมันได้ ๗. เป็นสัตว์ลากภาระไปได้ คือ มีความคิดว่า ‘ม้าอื่นๆ จะลากภาระ ไปได้หรือไม่ก็ตาม เราจักลากภาระนี้ไปได้’ และเมื่อเดินไปก็เดินไป ตามทางตรงเท่านั้น ๘. เป็นสัตว์มีกำลัง คือทรงกำลังไว้ได้จนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต ภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยพันธุ์ดีของพระราชา ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ นี้แล ย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะโดยแท้ฉันใด @เชิงอรรถ : @ ม้าอาชาไนย หมายถึงม้าที่เกิดในตระกูลม้าสินธพ หรือในตระกูลพญาม้าวลาหก (ธ.อ. ๖/๑๑๒) @หรือม้าที่รู้เหตุที่ควรและไม่ควร (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔๓/๒๗๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๓๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๓. อัสสาชานิยสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ธรรม ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วย อาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษา อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๒. ฉันโภชนะที่เขาถวาย จะเศร้าหมองหรือประณีตก็ตาม โดยเคารพ ไม่รังเกียจ ๓. รังเกียจกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต ตลอดถึงรังเกียจการ ประกอบบาปอกุศลธรรมต่างๆ ๔. เป็นผู้สงบเสงี่ยม อยู่ร่วมกันเป็นสุข ไม่รบกวนภิกษุอื่นๆ ๕. เป็นผู้เปิดเผยความโอ้อวด ความพยศคดโกงแก่พระศาสดา หรือ เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้เป็นวิญญูชน ตามความเป็นจริง ๖. พระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้เป็นวิญญูชน พยายาม ช่วยกันกำจัดความโอ้อวด ความพยศคดโกงเหล่านั้นของเธอได้ ๗. เป็นผู้ศึกษา คือ ใฝ่ใจอยู่ว่า ‘ภิกษุอื่นๆ จะศึกษาหรือไม่ก็ตาม เฉพาะข้อนี้เราจักศึกษาได้’ เมื่อดำเนินไปก็ดำเนินไปตามทางตรงเท่านั้น คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ๘. เป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่ว่า จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น กระดูก ก็ตามที เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด เรายังไม่บรรลุผล ที่จะพึงบรรลุ ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรแก่ ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
อัสสาชานิยสูตรที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๓๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๒๓๕-๒๓๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=23&siri=86              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=3862&Z=3896                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=103              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=103&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=5325              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=103&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=5325                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i101-e.php#sutta3 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an08/an08.013.than.html https://suttacentral.net/an8.13/en/sujato https://suttacentral.net/an8.13/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :