ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
๓. มิจฉัตตสูตร
ว่าด้วยมิจฉัตตธรรม
[๑๐๓] ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยมิจฉัตตธรรม(ธรรมที่ผิด) จึงมีการพลาด จากสวรรค์และมรรคผล ไม่มีการบรรลุสวรรค์และมรรคผล เพราะอาศัยมิจฉัตตธรรมอย่างไร จึงมีการพลาดจากสวรรค์และมรรคผล ไม่มี การบรรลุสวรรค์และมรรคผล คือ ผู้มีมิจฉาทิฏฐิ(เห็นผิด) ย่อมมีมิจฉาสังกัปปะ(ดำริผิด) ผู้มีมิจฉาสังกัปปะ ย่อมมีมิจฉาวาจา(เจรจาผิด) ผู้มีมิจฉาวาจา ย่อมมีมิจฉากัมมันตะ(กระทำผิด) ผู้มีมิจฉากัมมันตะ ย่อมมีมิจฉาอาชีวะ(เลี้ยงชีพผิด) ผู้มีมิจฉาอาชีวะ ย่อมมีมิจฉาวายามะ(พยายามผิด) ผู้มีมิจฉาวายามะ ย่อมมีมิจฉาสติ(ระลึกผิด) @เชิงอรรถ : @ ดูความเต็มในข้อ ๙๗ (อาหุเนยยสูตร) หน้า ๒๒๙ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๔๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๑. สมณสัญญาวรรค ๓. มิจฉัตตสูตร

ผู้มีมิจฉาสติ ย่อมมีมิจฉาสมาธิ(ตั้งจิตมั่นผิด) ผู้มีมิจฉาสมาธิ ย่อมมีมิจฉาญาณะ(รู้ผิด) ผู้มีมิจฉาญาณะ ย่อมมีมิจฉาวิมุตติ(หลุดพ้นผิด) ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยมิจฉัตตธรรมอย่างนี้แล จึงมีการพลาดจากสวรรค์ และมรรคผล ไม่มีการบรรลุสวรรค์และมรรคผล ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยสัมมัตตธรรม(ธรรมที่ถูก) จึงมีการบรรลุสวรรค์ และมรรคผล ไม่มีการพลาดจากสวรรค์และมรรคผล เพราะอาศัยสัมมัตตธรรมอย่างไร จึงมีการบรรลุสวรรค์และมรรคผล ไม่มีการ พลาดจากสวรรค์และมรรคผล คือ ผู้มีสัมมาทิฏฐิ(เห็นชอบ) ย่อมมีสัมมาสังกัปปะ(ดำริชอบ) ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมมีสัมมาวาจา(เจรจาชอบ) ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมมีสัมมากัมมันตะ(กระทำชอบ) ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมมีสัมมาอาชีวะ(เลี้ยงชีพชอบ) ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมมีสัมมาวายามะ(พยายามชอบ) ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมมีสัมมาสติ(ระลึกชอบ) ผู้มีสัมมาสติ ย่อมมีสัมมาสมาธิ(ตั้งจิตมั่นชอบ) ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมมีสัมมาญาณะ(รู้ชอบ) ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมมีสัมมาวิมุตติ(หลุดพ้นชอบ) ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยสัมมัตตธรรมอย่างนี้แล จึงมีการบรรลุสวรรค์และ มรรคผล ไม่มีการพลาดจากสวรรค์และมรรคผล
มิจฉัตตสูตรที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๒๔๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๒๔๔-๒๔๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=24&siri=101              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=4844&Z=4855                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=103              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=103&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=8376              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=103&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=8376                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i101-e.php#sutta3 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an10/an10.103.than.html https://suttacentral.net/an10.103/en/sujato https://suttacentral.net/an10.103/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :