ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๒. ชาณุสโสณิวรรค ๑๑. ชาณุสโสณิสูตร

๑๑. ชาณุสโสณิสูตร
ว่าด้วยชาณุสโสณิพราหมณ์ทูลถามเรื่องทาน
[๑๗๗] ครั้งนั้น พราหมณ์ชื่อว่าชาณุสโสณิเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่ สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ท่านพระโคดม พวกข้าพเจ้าชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ย่อมให้ทาน เชื่อว่าทานนี้ ต้องสำเร็จแก่ญาติสาโลหิต๑- ผู้ล่วงลับไปแล้ว ขอญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วจง บริโภคทานนี้ ท่านพระโคดม ทานนั้นย่อมสำเร็จแก่ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วบ้าง หรือ ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วเหล่านั้นจะได้บริโภคทานนั้นบ้างหรือ” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ ทานนั้นย่อมสำเร็จในฐานะเท่านั้น ไม่สำเร็จในอัฏฐานะ”๒-
เรื่องฐานะและอัฏฐานะ
ชาณุสโสณิพราหมณ์ทูลถามว่า “ท่านพระโคดม ฐานะเป็นอย่างไร อัฏฐานะ เป็นอย่างไร” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เพ่ง เล็งอยากได้ของเขา มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิด ในนรก เลี้ยงอัตภาพในนรกนั้น ดำรงอยู่ในนรกนั้นด้วยอาหารของสัตว์นรก๓- พราหมณ์ ภูมิที่ทานไม่สำเร็จแก่สัตว์ผู้ดำรงอยู่ นี้แลเป็นอัฏฐานะ @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๗๑ (อากังขสูตร) หน้า ๑๕๗ ในเล่มนี้ @ ฐานะ ในที่นี้หมายถึงโอกาสที่เป็นไปได้หรือที่เหมาะสม อัฏฐานะหมายถึงโอกาสที่เป็นไปไม่ได้ @หรือที่ไม่เหมาะสม (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗๗/๓๗๗) @ อาหารของสัตว์นรก คือ กรรมที่สัตว์เสวยในนรกนั้น (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗๗/๓๗๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๒๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๒. ชาณุสโสณิวรรค ๑๑. ชาณุสโสณิสูตร

บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เลี้ยงอัตภาพในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานนั้น ดำรงอยู่ ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานนั้นด้วยอาหารของเหล่าสัตว์ผู้เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน๑- พราหมณ์ ภูมิที่ทานไม่สำเร็จแก่สัตว์ผู้ดำรงอยู่ นี้แลเป็นอัฏฐานะ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติ ผิดในกาม การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดคำหยาบ และการพูดเพ้อเจ้อ ไม่ เพ่งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ หลังจากตายแล้ว เขาย่อม เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกมนุษย์ เลี้ยงอัตภาพในมนุษยโลกนั้น ดำรงอยู่ใน มนุษยโลกนั้นด้วยอาหารของพวกมนุษย์๒- พราหมณ์ ภูมิที่ทานไม่สำเร็จแก่สัตว์ผู้ดำรงอยู่ นี้แลเป็นอัฏฐานะ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิ หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดา เลี้ยงอัตภาพในเทวโลกนั้น ดำรงอยู่ในเทวโลกนั้นด้วยอาหารของหมู่เทวดา๓- พราหมณ์ ภูมิที่ทานไม่สำเร็จแก่สัตว์ผู้ดำรงอยู่ นี้แลเป็นอัฏฐานะ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในภูมิแห่งเปรต เลี้ยงอัตภาพอยู่ในภูมิแห่งเปรตนั้น ดำรงอยู่ในภูมิ แห่งเปรตนั้นด้วยอาหารของเหล่าสัตว์ผู้เกิดในภูมิแห่งเปรต หรือเลี้ยงอัตภาพอยู่ใน ภูมิแห่งเปรตนั้น ดำรงอยู่ในภูมิแห่งเปรตนั้นด้วยปัตติทานมัยกุศล๔- จากมนุษยโลกนี้ ที่มิตร อำมาตย์ หรือญาติสาโลหิตของตนอุทิศให้ พราหมณ์ ภูมิที่ทานสำเร็จแก่สัตว์ผู้ดำรงอยู่ นี้แลเป็นฐานะ” “ท่านพระโคดม ก็ถ้าญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วนั้นจะไม่เข้าถึงฐานะนั้น ใครเล่าจะบริโภคทานนั้น” @เชิงอรรถ : @ อาหารของสัตว์ดิรัจฉาน คือ หญ้า ใบไม้เป็นต้น @ อาหารของมนุษย์ คือ ข้าวสุก เป็นต้น @ อาหารของหมู่เทวดา คือ สุทธาโภชนะ (ของกินอันเป็นทิพย์, อาหารทิพย์) เป็นต้น @ อาหารของเปรต(จำพวกหนึ่ง) คือ น้ำลาย น้ำมูก เป็นต้น หรือเปรตอีกจำพวกหนึ่งเรียกว่าปรทัตตูปชีวีเปรต @ที่ต้องอาศัยผู้อื่นให้ เรียกว่า ปัตติทานมัยกุศล หมายถึงบุญกุศลที่สำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ เป็นวิธีทำบุญ @ด้วยการเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น (ข้อ ๖ ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐) (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗๗/๓๗๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๒๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๒. ชาณุสโสณิวรรค ๑๑. ชาณุสโสณิสูตร

“พราหมณ์ ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วเหล่าอื่นของตน ผู้เข้าถึงฐานะนั้นมีอยู่ ญาติสาโลหิตเหล่านั้นย่อมบริโภคทานนั้น” “ท่านพระโคดม ก็ถ้าญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วนั้น และญาติสาโลหิตผู้ล่วง ลับไปแล้วแม้เหล่าอื่นของตนไม่เข้าถึงฐานะนั้น ใครเล่าจะบริโภคทานนั้น” “พราหมณ์ เป็นไปไม่ได้เลยที่จะว่างจากญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วโดยกาล ช้านาน ถึงอย่างไร ทายกก็เป็นผู้ไม่ไร้ผล” “ท่านพระโคดม ย่อมตรัสข้อกำหนดแม้ในอัฏฐานะหรือ” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ เรากล่าวข้อกำหนดแม้ในอัฏฐานะ คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เพ่งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนั้นให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และ เครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในกำเนิดแห่ง ช้างทั้งหลาย ได้อาหาร น้ำ ดอกไม้ และเครื่องประดับต่างๆ ในกำเนิดแห่งช้างนั้น เพราะกรรมที่บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เพ่งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในกำเนิดแห่งช้างทั้งหลาย และ เพราะกรรมที่บุคคลนั้นให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาจึงได้อาหาร น้ำ ดอกไม้ และ เครื่องประดับต่างๆ ในกำเนิดแห่งช้างนั้น พราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เพ่งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนั้นให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดใน กำเนิดแห่งม้า ... หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในกำเนิดแห่งโค ... หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในกำเนิดแห่งสุนัข ... ได้อาหาร น้ำ ดอกไม้ และเครื่องประดับต่างๆ ในกำเนิดแห่งสุนัขนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๒๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๒. ชาณุสโสณิวรรค ๑๑. ชาณุสโสณิสูตร

เพราะกรรมที่บุคคลในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เพ่งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตายแล้ว เขาย่อมไปเกิดในกำเนิดแห่งสุนัข และเพราะกรรม ที่บุคคลนั้นเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาจึงได้อาหาร น้ำ ดอกไม้ และเครื่อง ประดับต่างๆ ในกำเนิดแห่งสุนัขนั้น บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูด ส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยาก ได้ของเขา มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ บุคคลนั้นให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับหมู่มนุษย์ และได้กามคุณ ๕ ที่เป็นของมนุษย์ เพราะกรรมที่บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจาก การลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาด จากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่ เพ่งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ หลังจากตายแล้ว เขาย่อม เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับหมู่มนุษย์ และเพราะกรรมที่บุคคลนั้นให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาจึงเป็นผู้ได้กามคุณ ๕ ที่เป็นของมนุษย์ อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิ บุคคลนั้นให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และ เครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเข้าถึงความเป็นผู้ อยู่ร่วมกับเทวดา และได้กามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์ในเทวโลกนั้น เพราะกรรมที่บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ เป็น สัมมาทิฏฐิ หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดา และเพราะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๒๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๒. ชาณุสโสณิวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

กรรมที่บุคคลนั้นให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาจึงได้กามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์ใน เทวโลกนั้น พราหมณ์ ถึงอย่างไร ทายกก็เป็นผู้ไม่ไร้ผล” “ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ข้อที่ทายกเป็นผู้ไม่ไร้ผลนี้ ควรที่จะให้ทาน ควรที่จะศรัทธาโดยแท้” “พราหมณ์ ข้อนี้เป็นอย่างนี้ ข้อนี้เป็นอย่างนี้ ถึงอย่างไร ทายกก็เป็นผู้ไม่ไร้ผล” “ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดม จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
ชาณุสโสณิสูตรที่ ๑๑ จบ
ชาณุสโสณิวรรคที่ ๒ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. พราหมณปัจโจโรหณิสูตร ๒. อริยปัจโจโรหณิสูตร ๓. สคารวสูตร ๔. โอริมสูตร ๕. ปฐมอธัมมสูตร ๖. ทุติยอธัมมสูตร ๗. ตติยอธัมมสูตร ๘. กัมมนิทานสูตร ๙. ปริกกมนสูตร ๑๐. จุนทสูตร ๑๑. ชาณุสโสณิสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๒๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๓๒๕-๓๒๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=24&siri=164              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=6420&Z=6522                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=166              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=166&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=8482              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=166&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=8482                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i156-e.php#sutta11 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an10/an10.177.than.html https://suttacentral.net/an10.177/en/sujato https://suttacentral.net/an10.177/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :