ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. นาถกรณวรรค ๗. ปฐมนาถสูตร

๗. ปฐมนาถสูตร
ว่าด้วยนาถกรณธรรม สูตรที่ ๑
[๑๗] ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าเป็นผู้ไม่มีที่พึ่ง อยู่เลย บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่งย่อมอยู่เป็นทุกข์ นาถกรณธรรม(ธรรมเครื่องกระทำที่พึ่ง) ๑๐ ประการนี้ นาถกรณธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์๑- เพียบพร้อมด้วยอาจาระ๒- (มารยาท)และโคจร(การเที่ยวไป) มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ๓- สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลาย ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด @เชิงอรรถ : @ สังวรในปาติโมกข์ มีอรรถาธิบายแต่ละคำดังนี้ สังวร หมายถึงการไม่ล่วงละเมิดทางกาย ทางวาจา @ปาติโมกข์ หมายถึงศีลสิกขาบทที่เป็นเหตุให้ผู้รักษาหลุดพ้นจากทุกข์ (ปาติ = รักษา + โมกขะ = ความ @หลุดพ้น) (วิสุทฺธิ. ๑/๑๔/๑๗) @ อาจาระ หมายถึงการไม่ล่วงละเมิดทางกาย การไม่ล่วงละเมิดทางวาจา การไม่ล่วงละเมิดทางกายและทาง @วาจา หรือการสำรวมศีลทั้งหมด คือการไม่เลี้ยงชีพด้วยอาชีพที่ผิด ที่พระพุทธเจ้ารังเกียจ เช่น ไม่เลี้ยง @ชีพด้วยการให้ไม้ไผ่ ให้ใบไม้ ดอกไม้ ผลไม้ เครื่องสาน ไม้สีฟัน ไม่เลี้ยงชีพด้วยการทำตนต่ำกว่าคฤหัสถ์ @ด้วยการพูดเล่นเป็นแกงถั่ว(จริงบ้างไม่จริงบ้าง) ไม่เลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงเด็ก และการรับส่งข่าว @(วิสุทฺธิ. ๑/๑๔/๑๘) @โคจร หมายถึงสถานที่เที่ยวไปของภิกษุซึ่งไม่มีหญิงแพศยา(โสเภณี) ไม่มีหญิงหม้าย ไม่มีสาวเทื้อ(สาวแก่) @ไม่มีบัณเฑาะก์ ไม่มีภิกษุณี ไม่มีร้านสุรา ไม่เป็นสถานที่ต้องคลุกคลีกับพระราชา มหาอำมาตย์ และ @พวกเดียรถีย์ ตรงกันข้าม ต้องเป็นสถานที่ของตระกูลที่มีศรัทธาเลื่อมใสเป็นดุจบ่อน้ำ รุ่งเรืองด้วยผ้า @กาสาวะ อบอวลด้วยกลิ่นฤๅษี ใคร่ความผาสุกแก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เป็นสถานที่ที่ภิกษุ @สำรวมอินทรีย์ ๖ งดเว้นการขวนขวายในการดูการละเล่นที่เป็นข้าศึกต่อกุศล เช่น การฟ้อน ขับร้อง @ประโคมดนตรี หรือหมายถึงสติปัฏฐาน ๔ (ขุ.ม. ๒๙/๑๙๖/๔๐๔, วิสุทฺธิ. ๑/๑๔/๑๗-๑๘) @ สุตะ ในที่นี้หมายถึงนวังคสัตถุศาสน์ (คำสอนของพระศาสดามีองค์ ๙) คือ (๑) สุตตะ(พระสูตรทั้งหลายรวม @ทั้งพระวินัยปิฎกและนิทเทส) (๒) เคยยะ(ข้อความร้อยแก้วผสมร้อยกรอง ได้แก่ พระสูตรที่มีคาถา @ทั้งหมด) (๓) เวยยากรณะ(ความร้อยแก้ว) (๔) คาถา(ข้อความร้อยกรอง) (๕) อุทาน(พระคาถาพุทธอุทาน) @(๖) อิติวุตตกะ พระสูตรที่ตรัสอ้างอิง (๗) ชาตกะ (ชาดก ๕๕๐ เรื่อง) (๘) อัพภูตธรรม(เรื่องอัศจรรย์) @(๙) เวทัลละ(พระสูตรแบบถาม-ตอบ) ดู องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๖/๗, องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๗๓/๘๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. นาถกรณวรรค ๗. ปฐมนาถสูตร

ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ ครบถ้วน แล้วทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ๑- แม้ การที่ภิกษุเป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ๓. เป็นผู้มีมิตรดี๒- มีสหายดี๓- มีเพื่อนดี๔- แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ๔. เป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องทำให้เป็นผู้ว่าง่าย อดทน รับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วย ธรรมเป็นเครื่องทำให้เป็นผู้ว่าง่าย อดทน รับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ๕. เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำทั้งงานสูงและ งานต่ำ๕- ของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง พิจารณาอันเป็นอุบายในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น สามารถทำได้ สามารถจัดได้ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะ ต้องช่วยกันทำทั้งงานสูงและงานต่ำของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ฯลฯ สามารถทำได้ สามารถจัดได้ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ๖. เป็นผู้ใคร่ธรรม๖- เป็นผู้ฟังและผู้แสดงธรรมอันเป็นที่พอใจ มีปราโมทย์ อย่างยิ่งในอภิธรรม๗- ในอภิวินัย๘- แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้ฟัง @เชิงอรรถ : @ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ หมายถึงรู้แจ้งธรรมโดยผลและเหตุด้วยปัญญา (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๒/๓๐๐) @ มิตรดี หมายถึงมิตรที่มีคุณธรรม คือศีลเป็นต้น (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๒) @ สหายดี หมายถึงเพื่อนร่วมงานที่ดี (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๒) @ เพื่อนดี หมายถึงเพื่อนที่รักใคร่สนิทสนม รู้ใจกัน ซื่อสัตย์ต่อกัน (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๒) @ งานสูง หมายถึงงานย้อมจีวร หรืองานโบกทาพระเจดีย์ ตลอดถึงงานที่จะต้องช่วยกันทำที่โรงอุโบสถ @เรือนพระเจดีย์ เรือนต้นโพธิ์เป็นต้น (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๒) @งานต่ำ หมายถึงงานเล็กน้อย มีล้างเท้า และนวดเท้าเป็นต้น (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๒) @ ผู้ใคร่ธรรม ในที่นี้หมายถึงรักพระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎก (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๒) @ อภิธรรม หมายถึงสัตตัปปกรณธรรม คืออภิธรรม ๗ คัมภีร์ หรืออีกนัยหนึ่ง คือ มรรค ๔ และผล ๔ @(องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๓) @ อภิวินัย หมายถึงขันธกปริวาร หรืออีกนัยหนึ่งหมายถึงธรรมที่เป็นเครื่องระงับกิเลส (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๒. นาถกรณวรรค ๗. ปฐมนาถสูตร

และผู้แสดงธรรมอันเป็นที่พอใจ มีปราโมทย์อย่างยิ่งในอภิธรรม ใน อภิวินัย นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ๗. เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย อยู่ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้ กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระใน กุศลธรรมทั้งหลายอยู่ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ๘. เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชช- บริขารตามแต่จะได้ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารตามแต่จะได้ นี้ก็เป็นนาถกรณ- ธรรม ๙. เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน๑- อย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำและ คำที่พูดแม้นานได้ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ๑๐. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้ง ความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์ โดยชอบ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็น เครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าเป็นผู้ไม่มีที่พึ่งอยู่เลย บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่งย่อมอยู่เป็นทุกข์ นาถกรณธรรม ๑๐ ประการนี้แล
ปฐมนาถสูตรที่ ๗ จบ
@เชิงอรรถ : @ ปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน แปลจากคำบาลีว่า ‘เนปกฺก’ อรรถกถาอธิบายว่า เป็นชื่อของปัญญาที่เป็น @อุปการะแก่สติ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔/๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๓๑-๓๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=24&siri=17              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=625&Z=676                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=17              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=17&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=7238              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=17&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=7238                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i011-e.php#sutta7 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an10/an10.017.than.html https://suttacentral.net/an10.17/en/sujato https://suttacentral.net/an10.17/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :