ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปํญจมปัณณาสก์]

๑. กรชกายวรรค ๙. กรชกายสูตร

๙. กรชกายสูตร
ว่าด้วยบาปกรรมที่กรชกายเคยทำ
[๒๑๙] ภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้วิบากกรรม จะไม่กล่าวถึงความสิ้นสุดแห่ง กรรมที่สัตว์เจตนาทำขึ้น สั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นเองที่สัตว์พึงเสวยในปัจจุบันก็มี ใน อัตภาพถัดไปก็มี หรือในอัตภาพต่อๆ ไปก็มี เรายังไม่รู้วิบากกรรม จะไม่กล่าวถึง การทำที่สุดแห่งทุกข์ของกรรมที่สัตว์เจตนาทำขึ้น สั่งสมขึ้น อริยสาวกนั้นนั่นแล ปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาท ไม่ลุ่มหลง มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคง มี เมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน๑- ทิศเบื้องล่าง๒- ทิศเฉียง๓- แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ อริยสาวกนั้นย่อม รู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เมื่อก่อน จิตของเรานี้เป็นปริตตจิต๔- ยังไม่ได้อบรม แต่บัดนี้ เป็น อัปปมาณจิต๕- ได้อบรมดีแล้ว กามาวจรกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ย่อมไม่เหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ในจิตของเรา’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ หาก เด็กนี้พึงเจริญเมตตาเจโตวิมุตติตั้งแต่เวลายังเป็นเด็กอยู่ เขาจะพึงทำบาปกรรมได้หรือ” ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “ทุกข์พึงถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำบาปกรรมเลยหรือ” “เป็นไปไม่ได้เลยที่ทุกข์จักถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำบาปกรรม พระพุทธเจ้าข้า” @เชิงอรรถ : @ เบื้องบน หมายถึงเทวโลก (วิสุทฺธิ.มหาฏีกา. ๑/๒๕๔/๔๓๕) @ เบื้องล่าง หมายถึงนรกและนาคภพ (วิสุทฺธิ.มหาฏีกา. ๑/๒๕๔/๔๓๕) @ ทิศเฉียง หมายถึงทิศย่อยของทิศใหญ่หรือทิศรอบๆ (วิสุทฺธิ.มหาฏีกา. ๑/๒๕๔/๔๓๕) @ ปริตตจิต ในที่นี้หมายถึงจิตที่มีพลังน้อย เป็นจิตที่ยังไม่ได้รับการฝึกฝนจนชำนาญ @ อัปปมาณจิต ในที่นี้หมายถึงจิตที่มีพลังมากโดยมีเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา แผ่ไปในสัตว์ทั้งหลาย @ไม่จำกัด และเป็นจิตที่ถูกฝึกจนชำนาญ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑๙/๓๘๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๖๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๑. กรชกายวรรค ๙. กรชกายสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตตินี้ สตรีหรือบุรุษควรเจริญแท้ สตรีหรือบุรุษ จะพาเอากายนี้ไปไม่ได้ สัตว์ผู้จะต้องตายนี้เป็นผู้มีจิตเป็นเหตุ สัตว์นั้นย่อมรู้ชัดอย่าง นี้ว่า ‘บาปกรรมอะไรๆ ของเรานี้ที่กรชกายนี้เคยทำมาแล้ว บาปกรรมนั้นทั้งหมด เราพึงเสวยในอัตภาพนี้ จักไม่ติดตามไป’ ภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติที่ภิกษุผู้มี ปัญญาในธรรมวินัยนี้ยังไม่แทงตลอดวิมุตติอันยิ่ง อบรมแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเป็นอนาคามี อริยสาวกมีกรุณาจิต ... มุทิตาจิต ... อุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘เมื่อก่อน จิต ของเรานี้เป็นปริตตจิต ยังไม่ได้อบรม แต่บัดนี้ จิตของเรานี้เป็นอัปปมาณจิตได้อบรม ดีแล้ว กามาวจรกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นย่อมไม่เหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ในจิตของเรา’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร คือ หากเด็กนี้จะพึงเจริญอุเบกขา เจโตวิมุตติตั้งแต่เวลายังเป็นเด็ก เขาพึงทำบาปกรรมได้หรือ” “ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “ทุกข์พึงถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำบาปกรรมเลยหรือ” “เป็นไปไม่ได้เลยที่ทุกข์จักถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำบาปกรรม พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย อุเบกขาเจโตวิมุตตินี้ สตรีหรือบุรุษควรเจริญแท้ สตรีหรือ บุรุษจะพาเอากายนี้ไปไม่ได้ สัตว์ผู้จะต้องตายนี้เป็นผู้มีจิตเป็นเหตุ สัตว์นั้นย่อมรู้ชัด อย่างนี้ว่า ‘บาปกรรมอะไรๆ ของเรานี้ ที่กรชกายนี้เคยทำมาแล้ว บาปกรรมนั้น ทั้งหมดเราพึงเสวยในอัตภาพนี้ จักไม่ติดตามไป’ ภิกษุทั้งหลาย อุเบกขาเจโตวิมุตติ ที่ภิกษุผู้มีปัญญาในธรรมวินัยนี้ยังไม่แทงตลอดวิมุตติอันยิ่ง อบรมแล้วอย่างนี้ ย่อม เป็นไปเพื่อความเป็นอนาคามี”
กรชกายสูตรที่ ๙ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๓๖๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๓๖๔-๓๖๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=24&siri=194              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=7146&Z=7195                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=196              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=196&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=8527              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=196&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=8527                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i189-e.php#sutta9 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an10/an10.208.than.html https://suttacentral.net/an10.219/en/sujato https://suttacentral.net/an10.219/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :