ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
๘. ทุติยมหาปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาใหญ่ สูตรที่ ๒
[๒๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เวฬุวัน ใกล้กชังคลนิคม ครั้งนั้น อุบาสกชาวกชังคละเป็นอันมากเข้าไปหาภิกษุณีชาวกชังคละถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนถามภิกษุณีชาวเมืองกชังคละดังนี้ว่า @เชิงอรรถ : @ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๔๑/๒๓๒, ๓๕๙/๒๗๒ @ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๔๗/๒๓๘, ๓๖๐/๒๗๘, องฺ.ทสก. ๒๔/๑๗๖/๒๑๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๖๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. มหาวรรค ๘. ทุติยมหาปัญหาสูตร

“ข้าแต่แม่เจ้า พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในมหาปัญหาสูตรทั้งหลายว่า ‘ปัญหา ๑ อุทเทส ๑ ไวยากรณ์ ๑ ปัญหา ๒ อุทเทส ๒ ไวยากรณ์ ๒ ปัญหา ๓ อุทเทส ๓ ไวยากรณ์ ๓ ปัญหา ๔ อุทเทส ๔ ไวยากรณ์ ๔ ปัญหา ๕ อุทเทส ๕ ไวยากรณ์ ๕ ปัญหา ๖ อุทเทส ๖ ไวยากรณ์ ๖ ปัญหา ๗ อุทเทส ๗ ไวยากรณ์ ๗ ปัญหา ๘ อุทเทส ๘ ไวยากรณ์ ๘ ปัญหา ๙ อุทเทส ๙ ไวยากรณ์ ๙ ปัญหา ๑๐ อุทเทส ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐’ ข้าแต่แม่เจ้า เนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาค ตรัสไว้โดยย่อนี้ จะพึงเห็นได้โดยพิสดารอย่างไรหนอ” ภิกษุณีชาวกชังคละตอบว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย พระดำรัสนี้ เราได้สดับรับมา เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคก็หามิได้ เราได้สดับรับมาเฉพาะหน้าของ ภิกษุทั้งหลายผู้ได้อบรมใจก็หามิได้ แต่ว่าเนื้อความแห่งพระดำรัสนี้ปรากฏแก่เรา อย่างไร ท่านทั้งหลายก็จงฟังเนื้อความแห่งพระดำรัสนั้นอย่างนั้น จงใส่ใจให้ดี เรา จักกล่าว” พวกอุบาสกชาวเมืองกชังคละรับคำของภิกษุณีชาวเมืองกชังคละแล้ว ภิกษุณีชาวเมืองกชังคละได้กล่าวดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา ๑ อุทเทส ๑ ไวยากรณ์ ๑’ เพราะทรงอาศัยอะไรพระองค์จึงตรัสไว้เช่นนั้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายุ โดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุ ประโยชน์โดยชอบในธรรม ๑ ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรม ๑ ประการคืออะไร คือ สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร ภิกษุเมื่อเบื่อหน่าย โดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุ ประโยชน์โดยชอบในธรรม ๑ ประการนี้แล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ใน ปัจจุบัน เพราะทรงอาศัยพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ปัญหา ๑ อุทเทส ๑ ไวยากรณ์ ๑’ พระองค์จึงตรัสไว้เช่นนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา ๒ อุทเทส ๒ ไวยากรณ์ ๒’ เพราะทรงอาศัยอะไรพระองค์จึงตรัสไว้เช่นนั้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเบื่อหน่าย โดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุ ประโยชน์โดยชอบในธรรม ๒ ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรม ๒ ประการคืออะไร คือ นามและรูป ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๖๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. มหาวรรค ๘. ทุติยมหาปัญหาสูตร

โดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบใน ธรรม ๒ ประการนี้แล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน เพราะทรงอาศัย พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ปัญหา ๒ อุทเทส ๒ ไวยากรณ์ ๒’ พระองค์ จึงตรัสไว้เช่นนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา ๓ อุทเทส ๓ ไวยากรณ์ ๓’ เพราะทรงอาศัยอะไรพระองค์จึงตรัสไว้เช่นนั้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเบื่อหน่าย โดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุ ประโยชน์โดยชอบในธรรม ๓ ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรม ๓ ประการคืออะไร คือ เวทนา ๓ ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลายกำหนัด โดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม ๓ ประการนี้แล้ว จึง เป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน เพราะทรงอาศัยพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัส ไว้ว่า ‘ปัญหา ๓ อุทเทส ๓ ไวยากรณ์ ๓’ พระองค์จึงตรัสไว้เช่นนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา ๔ อุทเทส ๔ ไวยากรณ์ ๔’ เพราะทรงอาศัยอะไรพระองค์จึงตรัสไว้เช่นนั้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตอัน อบรมดีแล้วโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม ๔ ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรม ๔ ประการคืออะไร คือ สติปัฏฐาน ๔ ๑- ภิกษุผู้มีจิตอันอบรมดีแล้วโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุ ประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๔ ประการนี้แล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน เพราะทรงอาศัยพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ปัญหา ๔ อุทเทส ๔ ไวยากรณ์ ๔’ พระองค์จึงตรัสไว้เช่นนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา ๕ อุทเทส ๕ ไวยากรณ์ ๕’ เพราะทรงอาศัยอะไรพระองค์จึงตรัสไว้เช่นนั้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตอัน อบรมดีแล้วโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม ๕ ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรม ๕ ประการคืออะไร คือ อินทรีย์๒- ๕ ... ธรรม ๖ ประการคืออะไร คือ นิสสรณียธาตุ ๖ ๓- ... ธรรม ๗ ประการ @เชิงอรรถ : @ ดู ที.ม. ๑๐/๓๗๒-๓๗๔/๒๔๘ @ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๒๐/๒๑๒, องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๑๑-๑๓/๙, อภิ.วิ. ๓๕/๘๒๑/๔๑๖ @ ดู อภิ.วิ. ๓๕/๑๗๒-๑๗๔/๙๖-๙๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๖๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. มหาวรรค ๘. ทุติยมหาปัญหาสูตร

คืออะไร คือ โพชฌงค์๑- ๗ ... ธรรม ๘ ประการคืออะไร คือ อริยมรรคมีองค์๒- ๘ ภิกษุผู้มีจิตอันอบรมดีแล้วโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดย ชอบในธรรม ๘ ประการนี้แล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน เพราะทรง อาศัยพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ปัญหา ๘ อุทเทส ๘ ไวยากรณ์ ๘’ พระองค์จึงตรัสไว้เช่นนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา ๙ อุทเทส ๙ ไวยากรณ์ ๙’ เพราะทรงอาศัยอะไรพระองค์จึงตรัสไว้เช่นนั้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเบื่อหน่าย โดยชอบ คลายกำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุ ประโยชน์โดยชอบ ในธรรม ๙ ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรม ๙ ประการคืออะไร คือ สัตตาวาส ๙ ภิกษุเมื่อเบื่อหน่ายโดยชอบ คลาย กำหนัดโดยชอบ หลุดพ้นโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์ โดยชอบในธรรม ๙ ประการนี้แล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน เพราะ ทรงอาศัยพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ปัญหา ๙ อุทเทส ๙ ไวยากรณ์ ๙’ พระองค์จึงตรัสไว้เช่นนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘ปัญหา ๑๐ อุทเทส ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐’ เพราะทรงอาศัยอะไรพระองค์จึงตรัสไว้เช่นนั้น ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตอัน อบรมดีแล้วโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดยชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม ๑๐ ประการแล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน ธรรม ๑๐ ประการคืออะไร คือ กุศลกรรมบถ๓- ๑๐ ภิกษุผู้มีจิตอันอบรมดีแล้วโดยชอบ มีปกติเห็นที่สุดโดย ชอบ บรรลุประโยชน์โดยชอบในธรรม ๑๐ ประการนี้แล้ว จึงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ ได้ในปัจจุบัน เพราะทรงอาศัยพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ปัญหา ๑๐ อุทเทส ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐’ พระองค์จึงตรัสไว้เช่นนั้น @เชิงอรรถ : @ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๓๐/๒๒๑, อภิ.วิ. ๓๕/๔๖๖-๔๗๑/๒๗๔-๒๗๖ @ ดู ที.ม. ๑๐/๔๐๒/๒๖๖-๒๖๗, ม.อุ. ๑๔/๓๗๕/๓๑๙, อภิ.วิ. ๓๕/๔๘๖-๙/๒๘๓-๒๘๕ @ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๔๗/๒๓๘, ๓๖๐/๒๗๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๖๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. มหาวรรค ๙. ปฐมโกสลสูตร

ผู้มีอายุทั้งหลาย พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในมหาปัญหาทั้งหลายว่า ‘ปัญหา ๑ อุทเทส ๑ ไวยากรณ์ ๑ ฯลฯ ปัญหา ๑๐ อุทเทส ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐’ นั้นเราย่อมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสโดยย่อนี้ได้โดย พิสดารอย่างนี้ ถ้าท่านทั้งหลายยังจำนงอยู่ พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วกราบ ทูลสอบถามเนื้อความนี้ดูเถิด พระผู้มีพระภาคจะทรงตอบแก่ท่านทั้งหลายอย่างใด ท่านทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนี้ไว้อย่างนั้นเถิด” พวกอุบาสกชาวกชังคละรับคำแล้ว ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของภิกษุณี ชาวเมืองกชังคละแล้วลุกจากอาสนะ ไหว้แล้ว ทำประทักษิณ๑- เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร กราบทูล ถ้อยคำสนทนากับภิกษุณีชาวเมืองกชังคละทั้งหมดนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ คหบดีทั้งหลาย ภิกษุณีชาวเมืองกชังคละ เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก ถ้าท่านทั้งหลายมาถามเนื้อความนั้นกับเรา แม้เราก็จะพึง ตอบเนื้อความนี้เหมือนภิกษุณีชาวเมืองกชังคละได้ตอบแล้ว และเนื้อความของคำ นั้นก็มีความหมายเช่นนี้แล ขอท่านทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนี้เถิด”
ทุติยมหาปัญหาสูตรที่ ๘ จบ
๙. ปฐมโกสลสูตร
ว่าด้วยพระเจ้าปเสนทิโกศล สูตรที่ ๑
[๒๙] ภิกษุทั้งหลาย ชนบทของชาวกาสีและโกศลประมาณเท่าใด แว่นแคว้น ของพระเจ้าปเสนทิโกศลประมาณเท่าใด พระเจ้าปเสนทิโกศลอันพสกนิกรเรียกว่า เป็นผู้เลิศในชนบทของชาวกาสีและโกศล และแว่นแคว้นเหล่านั้นประมาณเท่านั้น @เชิงอรรถ : @ ทำประทักษิณ หมายถึงเดินเวียนขวา โดยการประนมมือเวียนไปทางขวาตามเข็มนาฬิกา ๓ รอบ มีผู้ที่ตน @เคารพอยู่ทางขวา เสร็จแล้วหันหน้าไปทางผู้ที่ตนเคารพ เดินถอยหลังจนสุดสายตา คือจนมองไม่เห็นผู้ที่ @ตนเคารพนั้น คุกเข่าลงกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์แล้วลุกขึ้นเดินจากไป (วิ.อ. ๑/๑๕/๑๗๖-๑๗๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๖๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๖๔-๖๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=24&siri=28              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=1360&Z=1447                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=28              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=28&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=7592              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=28&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=7592                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i021-e.php#sutta8 https://suttacentral.net/an10.28/en/sujato https://suttacentral.net/an10.28/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :