ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
๓. อุพพาหิกาสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้รื้อฟื้นอธิกรณ์
[๓๓] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้ประกอบด้วย ธรรมเท่าไรหนอ สงฆ์พึงสมมติ๑- ให้เป็นผู้รื้อฟื้นอธิกรณ์ได้” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นผู้รื้อฟื้นอธิกรณ์๒- ได้ ธรรม ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระ และโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย ๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมที่มีความงาม ในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศ @เชิงอรรถ : @ สมมติ ในที่นี้หมายถึงการที่สงฆ์ประชุมกันตกลงมอบหมาย หรือแต่งตั้งภิกษุรูปใดรูปหนึ่งให้ทำกิจหรือเป็น @เจ้าหน้าที่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง @ อธิกรณ์ ในที่นี้หมายถึงเรื่องที่สงฆ์ต้องดำเนินการมี ๔ อย่าง คือ (๑) วิวาทาธิกรณ์ การเถียงกันเกี่ยวกับ @พระธรรมวินัย (๒) อนุวาทาธิกรณ์ การโจทหรือกล่าวหากันด้วยอาบัติ (๓) อาปัตตาธิกรณ์ การต้อง @อาบัติ การปรับอาบัติและการแก้ไขตัวเองให้พ้นจากอาบัติ (๔) กิจจาธิกรณ์ กิจธุระต่างๆ ที่สงฆ์จะต้องทำ @เช่นให้อุปสมบท ให้ผ้ากฐิน เป็นต้น (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๕/๑๒, องฺ.ทสก.อ. ๓/๓๓/๓๔๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๘๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. อุปาลิวรรค ๔. อุปสัมปทาสูตร

พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ๑- ๓. ทรงจำปาติโมกข์ทั้งสอง๒- ได้ดี จำแนกได้ดี ให้เป็นไปได้ดีโดยพิสดาร วินิจฉัยได้ดีโดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ ๔. เป็นผู้ตั้งมั่น ไม่ง่อนแง่นในวินัย ๕. เป็นผู้สามารถปรับคู่ความทั้ง ๒ ฝ่ายให้ยินยอมกันได้ ให้สำนึกตัว ให้เพ่งพินิจดู ให้เห็นผล ให้เลื่อมใส ๖. เป็นผู้ฉลาดในการระงับอธิกรณ์ที่เกิดขึ้น ๗. รู้อธิกรณ์ ๘. รู้เหตุเกิดอธิกรณ์ ๙. รู้ความดับอธิกรณ์ ๑๐. รู้วิธีปฏิบัติเพื่อระงับอธิกรณ์ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล สงฆ์พึงสมมติให้เป็น ผู้รื้อฟื้นอธิกรณ์ได้”
อุพพาหิกาสูตร ที่ ๓ จบ
๔. อุปสัมปทาสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้ให้อุปสมบท
[๓๔] พระอุบาลีทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม เท่าไรหนอ พึงให้กุลบุตรอุปสมบทได้” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ พึงให้กุลบุตรอุปสมบทได้ @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๗ (ปฐมนาถสูตร) หน้า ๓๒ ในเล่มนี้ @ ปาติโมกข์ทั้งสอง ในที่นี้หมายถึง มหาวิภังค์ (ภิกขุวิภังค์) ว่าด้วยสิกขาบทในปาติโมกข์ฝ่ายภิกษุ ๒๒๗ ข้อ @และภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบท ๓๑๑ ข้อฝ่ายภิกษุณี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๘๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๘๓-๘๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=24&siri=32              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=1720&Z=1737                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=32              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=32&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=7749              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=32&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=7749                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i031-e.php#sutta3 https://suttacentral.net/an10.33/en/sujato https://suttacentral.net/an10.33/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :