ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๓. ติกนิบาต]

๕. ปัญจมวรรค ๖. กามูปปัตติสูตร

๖. กามูปปัตติสูตร
ว่าด้วยผู้ยังเสพกามไม่สามารถล่วงสังสารทุกข์ได้
[๙๕] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์ กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ “ภิกษุทั้งหลาย การเสพกาม ๓ ประการนี้ การเสพกาม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. การเสพกามของสัตว์ผู้มีความใคร่ปรากฏอยู่เป็นนิตย์๑- ๒. การเสพกามของเทวดาผู้ยินดีในกามสมบัติที่ตนเนรมิต๒- ๓. การเสพกามของเทวดาผู้ยินดีในกามสมบัติที่เทวดาอื่นเนรมิตให้๓- ภิกษุทั้งหลาย การเสพกาม ๓ ประการนี้แล” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า สัตว์ผู้มีความใคร่ปรากฏอยู่เป็นนิตย์ เทวดาผู้ยินดีในกามสมบัติที่ตนเนรมิต เทวดาผู้ยินดีในกามสมบัติที่เทวดาอื่นเนรมิตให้ และสัตว์เหล่าอื่นที่เสพกามอยู่เป็นนิตย์ ย่อมไม่ล่วงพ้นสังสารวัฏที่มีสภาวะอย่างนี้และสภาวะอย่างอื่น บัณฑิตรู้โทษในการเสพกามทั้งหลายนี้แล้ว ควรละเว้นกามทั้งที่เป็นของทิพย์และของมนุษย์ทั้งหมด @เชิงอรรถ : @ หมายถึงมนุษย์ และเทวดาตั้งแต่ชั้นจาตุมหาราชิกา จนถึงชั้นดุสิต (ขุ.อิติ.อ. ๙๕/๓๔๐) @ หมายถึงเทวดาชั้นนิมมานรดี (ขุ.อิติ.อ. ๙๕/๓๔๐) @ หมายถึงเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี (ขุ.อิติ.อ. ๙๕/๓๔๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๔๖๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๓. ติกนิบาต]

๕. ปัญจมวรรค ๗. กามโยคสูตร

บัณฑิตทั้งหลาย ตัดกระแสตัณหาที่กำหนัดยินดี ในปิยรูปสาตรูป๑- ที่คนทั่วไปล่วงพ้นได้ยากขาดสิ้นแล้ว ชื่อว่าดับกิเลสได้สิ้นเชิง ล่วงพ้นทุกข์ได้ทั้งสิ้น บัณฑิตทั้งหลายผู้เห็นแจ้งอริยสัจ จบเวท รู้สิ่งทั้งปวงโดยชอบ ย่อมไม่กลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก เพราะรู้ยิ่งถึงภาวะสิ้นสุดการเกิด แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
กามูปปัตติสูตรที่ ๖ จบ
๗. กามโยคสูตร
ว่าด้วยผู้ประกอบด้วยกามไปสู่วัฏฏสงสาร
[๙๖] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์ กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบตนด้วยกามโยคะ๒- ประกอบตนด้วยภวโยคะ๓- ชื่อว่าเป็นอาคามี๔- คือยังต้องกลับมาเกิดในกามภูมิอีก บุคคลผู้พรากตนออกจากกามโยคะ แต่ยังประกอบตนด้วยภวโยคะ ชื่อว่าเป็น อนาคามี๕- คือเป็นผู้ไม่ต้องกลับมาเกิดในกามภูมิอีก @เชิงอรรถ : @ ปิยรูปสาตรูป หมายถึงรูปเป็นต้นที่น่ารักและน่าพอใจด้วยอำนาจสุขเวทนา (ขุ.อิติ.อ. ๙๕/๓๔๑) @ กามโยคะ หมายถึงราคะที่ประกอบด้วยกามคุณ ๕ (กามราคะ) (ขุ.อิติ.อ. ๙๖/๓๔๒) @ ภวโยคะ หมายถึงความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูปภพและอรูปภพ อีกอย่างหนึ่ง หมายถึงราคะ @ที่ประกอบด้วยสัสสตทิฏฐิ (ขุ.อิติ.อ. ๙๖/๓๔๒) @ อาคามี หมายถึงผู้อยู่ในพรหมโลก สามารถมาเกิดยังมนุษยโลกได้ (ขุ.อิติ.อ. ๙๖/๓๔๒) @ อนาคามี หมายถึงผู้ไม่กลับมาเกิดในกามโลกอีก (ขุ.อิติ.อ. ๙๖/๓๔๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๔๗๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๔๖๙-๔๗๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=210              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=6392&Z=6407                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=275              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=275&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=27&A=7532              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=275&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=27&A=7532                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/iti/iti.3.050-099.than.html#iti-095 https://suttacentral.net/iti95/en/ireland https://suttacentral.net/iti95/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :