ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๑. อุรควรรค]

๕. จุนทสูตร

๕. จุนทสูตร
ว่าด้วยปัญหาของนายจุนทกัมมารบุตร
[๘๓] (นายจุนทกัมมารบุตรทูลถามปัญหาดังนี้) ข้าพระองค์ขอทูลถามพระพุทธเจ้าผู้เป็นมุนี มีพระปัญญามาก ทรงเป็นเจ้าของพระธรรม ปราศจากตัณหา ทรงเป็นผู้ประเสริฐสุดในบรรดาสรรพสัตว์มีสัตว์ ๒ เท้าเป็นต้น ทรงเป็นผู้เลิศกว่านายสารถีผู้ฝึกทั้งหลายว่า ในโลกนี้มีสมณะอยู่กี่จำพวก ขอพระองค์โปรดตรัสบอกให้ข้าพระองค์ทราบด้วยเถิด [๘๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้) จุนทะ สมณะมีอยู่ ๔ จำพวก ไม่มีสมณะจำพวกที่ ๕ เราถูกท่านถามต่อหน้าอย่างนี้ ก็จะชี้แจงให้ท่านทราบ สมณะ ๔ จำพวกนั้น คือ ๑. สมณะผู้ชนะกิเลสทั้งปวงด้วยมรรค ๒. สมณะผู้แสดงมรรคแก่ชนเหล่าอื่น ๓. สมณะผู้ดำรงอยู่ในมรรค ๔. สมณะผู้ประทุษร้ายมรรค [๘๕] (นายจุนทกัมมารบุตรทูลถามปัญหาดังนี้) พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงบัญญัติเรียก สมณะผู้ชนะกิเลสทั้งปวงด้วยมรรคว่าอย่างไร ทรงบัญญัติเรียกสมณะผู้มีปกติเพ่งมรรค ไม่มีผู้เปรียบเทียบนั้นว่าอย่างไร ทรงบัญญัติเรียกสมณะผู้ดำรงอยู่ในมรรคนั้นว่าอย่างไร ทรงบัญญัติเรียกสมณะผู้ประทุษร้ายมรรคนั้นว่าอย่างไร ข้าพระองค์ทูลถามแล้วขอพระองค์ตรัสบอกแก่ข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงชี้แจงแก่ข้าพระองค์เถิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๕๒๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๑. อุรควรรค]

๕. จุนทสูตร

[๘๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบดังนี้) พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงบัญญัติเรียก สมณะผู้ข้ามพ้นความสงสัยได้เด็ดขาด ปราศจากกิเลสดุจลูกศร ยินดียิ่งในนิพพาน ไม่ติดอยู่ในตัณหา ผู้แนะนำสั่งสอนชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลกว่า เป็นสมณะผู้ชนะกิเลสทั้งปวงด้วยมรรค [๘๗] ภิกษุใดในธรรมวินัยนี้ รู้ว่า นิพพานเป็นบรมธรรม แล้วบอก เปิดเผยนิพพานธรรมในธรรมวินัยนี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงบัญญัติเรียกภิกษุ ผู้ตัดความสงสัยได้แล้ว เป็นมุนี ไม่มีตัณหาทำให้หวั่นไหวนั้นว่า เป็นสมณะจำพวกที่ ๒ ผู้แสดงมรรค [๘๘] ภิกษุใดเป็นผู้สำรวมแล้ว มีสติ เสพบทอันไม่มีโทษ๑- ดำรงอยู่ในมรรคคือบทแห่งธรรมที่แสดงไว้ดีแล้ว พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงบัญญัติเรียกภิกษุนั้นว่า เป็นสมณะจำพวกที่ ๓ ผู้ดำรงอยู่ในมรรค [๘๙] ภิกษุใดทำตนเลียนแบบพระอริยะ ผู้มีวัตรดีงาม ชอบเอาหน้า ประทุษร้ายตระกูล คะนองกาย วาจา ใจ มีมายา ไม่สำรวม พูดเพ้อเจ้อ ภิกษุผู้เที่ยวเลียนแบบ จัดเป็นสมณะจำพวกที่ ๔ ผู้ประทุษร้ายมรรค [๙๐] อนึ่ง คฤหัสถ์ผู้ได้สดับแล้ว เป็นอริยสาวก มีปัญญา รู้ซึ้งถึงลักษณะสมณะทั้ง ๔ จำพวกนั้น แล้วรู้ว่า สมณะทั้งหมดไม่เป็นเช่นนี้ เพราะเห็นเช่นนี้ ศรัทธาของเขาจึงไม่เสื่อมไป @เชิงอรรถ : @ เสพบทอันไม่มีโทษ หมายถึงปฏิบัติตามโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ (ขุ.สุ.อ. ๑/๘๘/๑๖๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๕๒๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๑. อุรควรรค]

๖. ปราภวสูตร

เพราะเห็นว่า บุคคลจะทำสมณะผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ให้เสมอกับสมณะผู้ทุศีล และสมณะผู้บริสุทธิ์ให้เสมอกับสมณะผู้ไม่บริสุทธิ์ ได้อย่างไรเล่า
จุนทสูตรที่ ๕ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๕๒๑-๕๒๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=232              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=7177&Z=7217                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=302              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=302&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=28&A=3877              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=302&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=28&A=3877                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i294-e.php#sutta5 https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/snp/snp.1.05.than.html https://suttacentral.net/snp1.5/en/mills https://suttacentral.net/snp1.5/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :