ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๓. นันทวรรค]

๑๐. โลกสูตร

๑๐. โลกสูตร
ว่าด้วยสัตว์โลก
[๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเมื่อแรกตรัสรู้ ประทับอยู่ ณ ควงต้นโพธิพฤกษ์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เขตตำบลอุรุเวลา สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งโดย บัลลังก์เดียว เสวยวิมุตติสุขอยู่เป็นเวลา ๗ วัน ครั้นล่วงไป ๗ วัน พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากสมาธินั้นแล้ว ทรงตรวจดู สัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ ได้ทอดพระเนตรเห็นหมู่สัตว์กำลังเดือดร้อนด้วยความทุกข์ มากมาย และถูกความเร่าร้อนหลากหลายที่เกิดจากราคะบ้าง เกิดจากโทสะบ้าง เกิดจากโมหะบ้างรุมแผดเผาอยู่ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า
พุทธอุทาน
สัตว์โลกนี้เกิดความเร่าร้อน ถูกทุกขเวทนากระทบแล้ว กล่าวทุกขเวทนาว่าเป็นของตน เพราะสัตว์โลกนี้สำคัญสิ่งใดว่าเที่ยง สิ่งนั้นกลับเป็นอย่างอื่น สัตว์โลกมีภาวะไม่มั่นคง ติดอยู่ในภพ หมกมุ่นอยู่ในภพ เพลิดเพลินอยู่ในภพ ภพที่สัตว์โลกเพลิดเพลินจัดเป็นภัย ภัยที่สัตว์โลกกลัว จัดเป็นทุกข์ บุคคลต้องบำเพ็ญพรหมจรรย์๑- นี้เท่านั้น เพื่อละภพให้ได้ สมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งกล่าวถึงความหลุดพ้นจากภพด้วย ภพ๒- เราถือว่าสมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดหาได้หลุดพ้นจากภพทั้งปวงไม่ @เชิงอรรถ : @ พรหมจรรย์ ในที่นี้หมายถึงมัคคพรหมจรรย์ (ขุ.อุ.อ. ๓๐/๒๒๒, ๔๒/๒๙๘) @ หมายถึงสมณะหรือพราหมณ์บางพวกถือว่า ความหลุดพ้นจากภพคือความบริสุทธิ์จากสังสารวัฏ จะมีได้ก็ @ด้วยกามภพหรือรูปภพ (ขุ.อุ.อ. ๓๐/๒๒๓-๒๒๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๒๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๓. นันทวรรค]

รวมพระสูตรที่มีในวรรค

อนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง กล่าวถึงการออกจากภพด้วยวิภพ๑- เราถือว่าสมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดหาได้ออกจากภพไม่ เพราะอาศัยอุปธิ๒- ทั้งปวง ทุกข์นี้จึงเกิดมีขึ้น เพราะอุปาทานทั้งหมดสิ้นไป ทุกข์จึงไม่เกิด ท่านจงดูสัตว์โลกนี้ สัตว์เป็นจำนวนมากถูกอวิชชาครอบงำ หรือ มัวหลงติดใจในสัตว์ด้วยกัน จึงหลุดพ้นไปจากภพไม่ได้ ความจริง ภพอย่างใดอย่างหนึ่ง ทุกชั้นล้วนแต่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา บุคคลเมื่อรู้เห็นเบญจขันธ์คือภพนี้ ตามความเป็นจริงอย่างถ่องแท้ ด้วยปัญญาอันชอบ ย่อมละภวตัณหาได้ ทั้งไม่ยินดีวิภวตัณหา เพราะตัณหาทั้งหลายสิ้นไปโดยประการทั้งปวง ความดับกิเลสไม่เหลือด้วยวิราคะ คือนิพพานจึงมี เพราะไม่มีความยึดมั่น ภิกษุผู้นิพพานแล้ว จึงไม่มีภพใหม่ ภิกษุนั้นได้ชื่อว่าครอบงำมารได้ ชนะสงครามได้ ก้าวล่วงภพทั้งปวงได้ เป็นผู้คงที่ ฉะนี้
โลกสูตรที่ ๑๐ จบ
นันทวรรคที่ ๓ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. กัมมวิปากชสูตร ๒. นันทสูตร ๓. ยโสชสูตร ๔. สารีปุตตสูตร ๕. มหาโมคคัลลานสูตร ๖. ปิลินทวัจฉสูตร ๗. สักกุทานสูตร ๘. ปิณฑปาติกสูตร ๙. สิปปสูตร ๑๐. โลกสูตร @เชิงอรรถ : @ หมายถึงสมณะหรือพราหมณ์บางพวกถือว่าความหลุดพ้นจากภพจะมีได้ก็ด้วยอุจเฉททิฏฐิ (ขุ.อุ.อ. ๓๐/๒๒๔) @ อุปธิ หมายถึงขันธ์ กิเลส และอภิสังขาร (ขุ.อุ.อ. ๓๐/๒๒๕-๒๒๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๒๓๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๒๒๙-๒๓๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=65              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=2423&Z=2468                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=84              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=84&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=26&A=4892              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=84&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=26&A=4892                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/ud/ud.3.10.than.html https://suttacentral.net/ud3.10/en/anandajoti https://suttacentral.net/ud3.10/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :