ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๘. อัฏฐกนิบาต]

๑. มหากัจจายนเถรคาถา

๘. อัฏฐกนิบาต
๑. มหากัจจายนเถรคาถา
ภาษิตของพระมหากัจจายนเถระ
(พระมหากัจจายนเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า) [๔๙๔] ภิกษุไม่พึงทำงานก่อสร้างให้มาก๑- พึงเว้นห่างหมู่ชน ไม่พึงขวนขวายเพื่อประจบสกุล ภิกษุผู้ขวนขวายนั้นชื่อว่าติดในรส ย่อมละทิ้งประโยชน์ที่จะนำความสุขมาให้ [๔๙๕] ด้วยว่านักปราชญ์มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ได้กล่าวการไหว้และการบูชาในตระกูลทั้งหลายว่า เป็นเปือกตม เป็นลูกศรอันแหลมคมซึ่งถอนขึ้นได้ยาก เป็นสักการะที่คนชั่วละได้ยาก [๔๙๖] ภิกษุไม่พึงแนะนำให้คนอื่นกระทำกรรมชั่ว และไม่พึงส้องเสพกรรมชั่วนั้นเสียเอง เพราะสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ [๔๙๗] คนเราจะเป็นโจรเพราะคำพูดของผู้อื่นก็หาไม่ จะเป็นมุนีเพราะคำพูดของผู้อื่นก็หาไม่ และบุคคลรู้จักตนเองว่าเป็นอย่างไร แม้เทพทั้งหลายก็รู้จักเขาว่าเป็นอย่างนั้น @เชิงอรรถ : @ ไม่พึงเริ่มงานก่อสร้างใหม่ ที่ใหญ่ เช่นการสร้างวัดใหม่เป็นต้น ซึ่งขัดต่อการบำเพ็ญสมณธรรม แต่งาน @ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ทรุดโทรม ซึ่งใช้ความพยายามเล็กน้อย ควรทำแท้ เพื่อปฏิบัติบูชาพระดำรัสของ @พระศาสดา (ขุ.เถร.อ. ๒/๔๙๔/๑๖๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๔๒๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา [๘. อัฏฐกนิบาต]

๒. สิริมิตตเถรคาถา

[๔๙๘] พวกอื่นย่อมไม่รู้ว่า พวกเราย่อยยับอยู่ในโลกนี้ บรรดาชนเหล่านั้น ชนเหล่าใดรู้แจ้งอยู่ ความทะเลาะวิวาทกันย่อมระงับได้จากสำนักของคนเหล่านั้น [๔๙๙] ผู้มีปัญญาถึงจะสิ้นทรัพย์ ก็เป็นอยู่ได้ ส่วนคนมีทรัพย์ แต่ไม่มีปัญญา ก็เป็นอยู่ไม่ได้ [๕๐๐] บุคคลย่อมได้ยินเสียงทุกอย่างด้วยหู ย่อมเห็นรูปทุกอย่างด้วยตา ส่วนนักปราชญ์ไม่พึงละทิ้งทุกอย่างที่ได้เห็น ที่ได้ยิน [๕๐๑] ผู้เป็นปราชญ์นั้นถึงมีตาดี ก็พึงทำเป็นเหมือนคนตาบอด ถึงมีหูดี ก็พึงทำเป็นเหมือนคนหูหนวก ถึงมีปัญญา ก็พึงทำเป็นเหมือนคนใบ้ ถึงมีกำลัง ก็พึงทำเป็นเหมือนคนอ่อนแอ ครั้นเมื่อประโยชน์เกิดขึ้นแล้ว ถึงจะนอนในเวลาใกล้จะตาย ก็ยังทำประโยชน์ให้สำเร็จได้


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๖ หน้าที่ ๔๒๔-๔๒๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=26&siri=366              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=26&A=6806&Z=6828                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=366              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=26&item=366&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=33&A=3662              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=26&item=366&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=33&A=3662                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu26              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/thag/thag.08.01.bodh.html https://suttacentral.net/thag8.1/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :